Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79431
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี-
dc.contributor.advisorพรรณพิไล ศรีอาภรณ์-
dc.contributor.authorวิมลสิริ อินทร์จันทร์en_US
dc.date.accessioned2024-05-02T00:56:44Z-
dc.date.available2024-05-02T00:56:44Z-
dc.date.issued2024-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79431-
dc.description.abstractPostpartum mothers with gestational diabetes mellitus continue to experience insulin resistance and inappropriate health-promoting behaviors, affecting maternal health and breastfeeding. The purpose of this descriptive correlational research study was to describe the relationship between perceived benefits of breastfeeding, perceived insufficient milk supply, perceived self-efficacy of breastfeeding, and health-promoting behaviors for breastfeeding among mothers with gestational diabetes mellitus. The 134 participants consisted of postpartum mothers with gestational diabetes mellitus at 4-6 weeks who went for check-up at the family planning unit of Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital and Health Promotion Center First Region Chiang Mai between June 2023 to November 2023. The research instruments included the Health Promoting Behaviors for Breastfeeding Among Mothers with Gestational Diabetes Questionnaire, adapted from Sangsawang et al. (2016); the Perceived Benefits of Breastfeeding Among Mothers with Gestational Diabetes Questionnaire, adapted from Khonsung et al. (2020); the Hill & Humenick Lactation Scale, translated into Thai by Srimoragot et al. (2017); and the Breastfeeding Self-Efficacy Scale-Short Form, translated into Thai by Jintrawet et al. (2014). Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, and Spearman rank correlation coefficient statistics. The results of the study revealed that: 1. Postpartum mothers with gestational diabetes mellitus had a high level of health promotion behavior for breastfeeding with a total mean score of 168.67 (SD = 17.73). 2. Perceived benefits of breastfeeding, perceived insufficient milk supply and perceived self-efficacy of breastfeeding had a significant positive correlation with health promotion behavior for breastfeeding (r = .432, r = .390 and r = .401, p < .001 respectively). The findings from this study can be used as baseline data for planning nursing care to promote health behaviors for breastfeeding among mothers with gestational diabetes mellitus.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์en_US
dc.title.alternativeFactors related to health promoting behaviors for breastfeeding among mothers with gestational diabetes mellitusen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่-
thailis.controlvocab.thashการให้นม-
thailis.controlvocab.thashเบาหวานขณะตั้งครรภ์-
thailis.controlvocab.thashการตั้งครรภ์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractมารดาหลังคลอดที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ต้องเผชิญกับภาวะต้านการทำงานของอินซูลินที่ยังคงอยู่และมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของมารดาและกระทบต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา การวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา การรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนม การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดากับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอด 4-6 สัปดาห์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่มารับบริการ ณ หน่วยวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพที่ 1 เชียงใหม่ ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 จำนวน 134 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่ดัดแปลงจาก เจิดนภา แสงสว่าง และคณะ (2559) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาที่ดัดแปลงจาก ปานจันทร์ คนสูง และคณะ (2020) แบบประเมินการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนมที่แปลเป็นภาษาไทยโดย มนัสวีร์ ศรีมรกต และคณะ (2560) และแบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาที่แปลเป็นภาษาไทยโดย อุษณีย์ จินตะเวช และคณะ (2553) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1. มารดาหลังคลอดที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาโดยรวมอยู่ในระดับสูง และมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 168.67 (SD = 17.73) 2. การรับรู้ประโยชน์ของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา การรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนม การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดามีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .432, r = .390 และ r = .401, p < .001 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวางแผนการพยาบาลในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้en_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641231057-Wimolsiri Injan.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.