Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79357
Title: Shoulder-abduction force steadiness in individuals with neck pain with Scapular Dyskinesis
Other Titles: ความคงที่ของแรงกางแขนในผู้ที่มีอาการปวดคอร่วมกับความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบัก
Authors: Rungtawan Chaikla
Authors: Sureeporn Uthaikhup
Rungtawan Chaikla
Issue Date: 11-Feb-2022
Publisher: Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University
Abstract: อาการปวดคอมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบัก (scapular dyskinesis) และความบกพร่องของการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสะบักและไหล่ ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับความคงที่ของแรงขณะที่มีการเคลื่อนไหวของแขนในผู้ที่มีอาการปวดคอ ร่วมกับความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบัก ความสัมพันธ์ระหว่างความคงที่ของแรง และลักษณะของอาการปวดคอยังไม่เป็นที่ทราบเช่นกัน ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อ ศึกษาความคงที่ของแรงกางแขน 30 องศาที่ระดับความหนักร้อยละ 20 และ 50 ของแรงกางแขนสูงสุด ในผู้ที่มีอาการปวดคอร่วมกับความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบักและ ผู้ที่ไม่มีอาการ ปวดคอ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคงที่ของแรงและลักษณะ ของอาการปวดคอ ผู้เข้าร่วมการศึกษาประกอบด้วยเพศหญิงและ ชายจำนวน 2 คน (ผู้ที่มีอาการปวดคอร่วมกับความ ผิดปกติของการเคลื่อนไหวของกระดูกสะ บักจำนวน 26 คน และผู้ที่ไม่มีอาการปวดคอ จำนวน 26 คน) ความคงที่ของแรงในท่ากางแขน 30 องศาวัดที่ระดับความหนักร้อยละ 20 และ 50 ของแรงกาง แขนสูงสุด ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรปรวน ของแรงถูกนำมาใช้ในการคำนวณ ลักษณะของอาการ ปวดคอได้แก่ ความรุนแรงของอาการปวดคอ ระยะเวลา ความบกพร่องความสามารถของคอ และ ความบกพร่องของรยางค์แขน ผลการศึกษาพบว่าความคงที่ของแรงกางแขนที่ระดับความหนักร้อยละ 20 และ 50 ของแรงกางแขนสูงสุดลคลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ที่มีอาการปวดคอเมื่อ เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่มีอาการปวดคอ (p < 0.05, η2 p = 0.10 และ p <0.001, η2p, = 0.26,ตามลำดับ) ไม่พบความแดกต่างระ หว่างกลุ่มของแรงกางแขนสูงสุดและไม่พบความสัมพันธ์ ระหว่างความคงที่ ของแรงกางแขนและ ลักษณะของอาการปวดคอ (p > 0.05) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีอาการ ปวดคอร่วมกับความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบักมีการลดลงของความคงที่ของแรง กางแขน ซึ่งอาจจะสะท้อนได้ถึงความบกพร่องของการควบคุมการทำงานของไหล่และกระดูกสะบัก (sensory-motor control) ที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดคอ ความสัมพันธ์ระหว่างความคงที่ของแรงและ ลักษณะของการปวดคอจำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต
URI: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79357
Appears in Collections:AMS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631131002 รุ้งตะวัน ใจกล้า.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.