Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79219
Title: การประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพเพื่อออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิตเซรั่มสมุนไพรบำรุงผิวหน้าจากสารสกัดขิง: กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรไทยฟาร์ม
Other Titles: Application of quality function deployment technique to design and develop production processes of facial treatment serum herb from ginger extract: a case study of the Thai farm herbs community enterprise group
Authors: นิพัทธา สุนันต๊ะ
Authors: วิชัย ฉัตรทินวัฒน์
นิพัทธา สุนันต๊ะ
Keywords: การออกแบบผลิตภัณฑ์;การเพิ่มมูลค่า---เซรั่มจากสารสกัดขิง;การพัฒนาผลิตภัณฑ์
Issue Date: Nov-2566
Publisher: เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพในการออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิตเซรั่มบำรุงผิวหน้าจากสารสกัดขิง กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรไทยฟาร์ม เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าและยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรพื้นบ้านไปสู่ตลาดที่สูงกว่าการจำหน่ายให้คนในชุมชน โดยมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการผลิตเซรั่มจากสมุนไพรไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีจุดเด่นและจุดขายของสินค้าให้มีอัตลักษณ์และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่รวบรวมความต้องการของลูกค้ามาใช้ในการออกแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ามีประเด็นที่ลูกค้าสนใจทั้งหมด 24 ประเด็น แบ่งเป็นคุณลักษณะได้ 4 ด้าน คือ คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ คุณลักษณะของบรรจุภัณฑ์ การตลาด และความน่าเชื่อถือและความปลอดภัย จากนั้นนำผลความต้องการของลูกค้าที่ไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD) 3 เฟส คือ เฟส 1 บ้านคุณภาพ เป็นเฟสที่ออกแบบค้นหาความต้องการของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์เซรั่ม ผลพบว่ารายละเอียดของคุณค่าที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์มีคะแนนความสำคัญมากที่สุด นำไปสู่กระบวนการในเฟสที่ 2 การออกแบบส่วนประกอบ โดยศึกษาส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ แล้วนำไปทดลองและทดสอบความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายจำนวน 2 ครั้ง โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ครั้งแรกมีผู้ทดลองและทดสอบ จำนวน 35 คน ผลพบว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ครั้งแรกมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 3.57 และยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ทางผู้วิจัยจึงดำเนินการแก้ไขแล้วนำไปทดลองผลิตใหม่อีกครั้ง คือผลิตภัณฑ์ครั้งสุดท้ายมีผู้ทดลองและทดสอบจำนวน 30 คน ผลพบว่าคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 4.23 และผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผลการประเมินทางสถิติพบการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 0.66 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% สรุปได้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผลจากการทำบ้านเฟสที่ 2 นำไปสู่การพัฒนากระบวนการผลิตในบ้านคุณภาพเฟส 3 การวางแผนกระบวนการ นำผลไปสู่การสร้างแผนปฏิบัติงาน เพื่อใช้เป็นคู่มือในการควบคุมการปฏิบัติงานผลิตเซรั่มจากสารสกัดขิงมีมาตรฐาน
URI: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79219
Appears in Collections:ENG: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620631029-นิพัทธา สุนันต๊ะ.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.