Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79217
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรรณพิไล ศรีอาภรณ์ | - |
dc.contributor.advisor | ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี | - |
dc.contributor.author | อมราวดี อิ่นแก้ว | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-11-24T01:20:02Z | - |
dc.date.available | 2023-11-24T01:20:02Z | - |
dc.date.issued | 2566-09-14 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79217 | - |
dc.description.abstract | Postnatal mothers experience physical and psychological changes in addition to taking on the role of motherhood. These factors can significantly affect sleep quality. This predictive correlational research aimed to study sleep quality and the predictive power of fatigue, anxiety, and social support on sleep quality in first-time postnatal mothers. The sample consisted of 106 first-time postnatal mothers aged 20 years and over who received postpartum check-up services at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital and Regional Health Promotion Center 1 in Chiang Mai between January and June 2023, and who were selected by inclusion criteria. The research tools included the Personal Information Questionnaire; the Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI), Thai version (Chotinaiwattarakul et al., 2014); the Fatigue Symptoms Checklist, Thai version (Theerakulchai, 2004); the State Anxiety Inventory [STAI] FormY1, Thai version (Thapinta, 1991); and the Mother Social Support Questionnaire form (Sittibunma et al., 2014). Data were analyzed using descriptive statistics, Spearman’s rank correlation coefficient, and binary logistic regression analysis. The findings revealed that 1. The sample had a median sleep quality score of 9.00 (IQR = 4.00) which was classified as poor sleep quality. 2. Fatigue could predict sleep quality in first-time postnatal mothers at 7.9% (p = .05); anxiety and social support were unable to predict sleep quality in first-time postnatal mothers. The findings of this study could provide a basis for developing a nursing plan or guidelines for promoting good sleep quality in first-time postnatal mothers. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | Sleep Quality | en_US |
dc.subject | First time mothers | en_US |
dc.subject | Fatigue | en_US |
dc.subject | Anxiety | en_US |
dc.subject | Social support | en_US |
dc.title | ปัจจัยทำนายคุณภาพการนอนหลับในมารดาที่มีบุตรคนแรก | en_US |
dc.title.alternative | Factors predicting sleep quality among first-time mothers | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | การนอนหลับ | - |
thailis.controlvocab.thash | การพักผ่อน | - |
thailis.controlvocab.thash | มารดา | - |
thailis.controlvocab.thash | ความล้า | - |
thailis.controlvocab.thash | ความวิตกกังวลในสตรี | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | มารดาหลังคลอดต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงภายหลังคลอดทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ รวมถึงการปรับบทบาทหน้าที่การเป็นมารดา ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการนอนหลับ การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับในมารดาที่มีบุตรคนแรก และอำนาจทำนายของความอ่อนล้า ความวิตกกังวล และการสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพการนอนหลับในมารดาหลังคลอดที่มีบุตรคนแรก กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาอายุ 20 ปีขึ้นไปที่มีบุตรคนแรก มารับบริการตรวจหลังคลอด ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ระหว่างเดือน มกราคม ถึง เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2566 จำนวน 106 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินคุณภาพการหลับของพิตส์เบิร์ก ฉบับภาษาไทยโดย วัฒนชัย โชตินัยวัตรกุล และคณะ (2557) แบบประเมินความอ่อนล้า ฉบับภาษาไทยโดย จรัสศรี ธีระกุลชัย (Theerakulchai, 2004) แบบสอบถามความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ ฉบับภาษาไทยโดย ดาราวรรณ ต๊ะปินตา (2534) และแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมของมารดาหลังคลอด ที่สร้างขึ้นโดย นลินี สิทธิบุญมา และคณะ (2563) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์ สเปียร์แมน และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิ ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีค่ามัธยฐานของคะแนนคุณภาพการนอนหลับเท่ากับ 9.00 (IQR = 4.00) จัดอยู่ในกลุ่มคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี 2. ความอ่อนล้าสามารถทำนายคุณภาพการนอนหลับในมารดาหลังคลอดที่มีบุตรคนแรกได้ ร้อยละ 7.9 (p = .05) ส่วนความวิตกกังวล และการสนับสนุนทางสังคมไม่สามารถทำนายคุณภาพการนอนหลับในมารดาที่มีบุตรคนแรกได้ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน สำหรับพัฒนาแผนการพยาบาล หรือพัฒนาแนวทาง ในการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับที่ดีให้มารดาหลังคลอดที่มีบุตรคนแรก | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
อมราวดี อิ่นแก้ว 631231039.pdf | 6.65 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.