Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79205
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ต่อนภา ผุสดี | - |
dc.contributor.advisor | ศันสนีย์ จำจด | - |
dc.contributor.author | ศิริลักษณ์ ตุ๊แสง | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-11-17T00:55:56Z | - |
dc.date.available | 2023-11-17T00:55:56Z | - |
dc.date.issued | 2023-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79205 | - |
dc.description.abstract | Glutinous rice landrace is widely cultivated and consumed in the highlands of the upper northern and northeastern regions of Thailand. Local sticky rice is used in various ways, including religious ceremonies, as the primary ingredient for fermenting liquor or local wort, and for processing into glutinous rice flour used in making desserts. Glutinous rice landraces generate more income for local farmers. Moreover, glutinous rice landraces exhibit highly diverse genetic characteristics, making them suitable as genetic sources for breeding high-quality glutinous rice. The quality of cooking is a crucial factor in the selection of rice varieties for consumption and use by farmers. The future of rice breeding is focused on developing rice varieties that not only increase yield but also offer superior grain quality compared to traditional varieties. This research aims to evaluate the morphological and agronomical characteristics in glutinous rice landraces. Including, cooking quality of glutinous rice. It also involves studying differences in the nucleotide sequences of genes associated with cooking quality. The study was conducted on two glutinous rice varieties from the highlands of Thailand: Pa Ai Khu Pe (PAKP4 and PAKP5) and Kao Haw (KH2 and KH5), which were compared with the glutinous rice varieties RD 4 (Hard rice) and RD 6 (Soft rice) The study was divided into three parts. The first part aimed to determine the morphological and agronomical diversity of four glutinous rice landrace populations grown in three pots with a 30 cm diameter. The plants were assessed for 22 characteristics, including agronomical traits. The diversities within the population were identified in two categories: plant type and panicle exertion. There was no variation observed within or between populations in the following characteristics: leaf blade color (green), leaf sheath color (green), node and internode color (green), apiculus color, stigma color, stigma exsertion, stamen length, husk color, and spikelet awning (absence of awning). However, variations were found between populations in pericarp color and agronomical characteristics. Statistically significant differences were observed among the glutinous rice populations in terms of the day of flowering, tillers per plant, panicles per plant, spikelets per plant, percentage of felted grains, and 1000 grains weight. Pa Ai Khu Pe exhibited the highest yield. Additionally, the evaluation of glutinous rice grain characteristics revealed that most of the grains were of the large type, with the exception of KH2, which was of the slender type. The second part aimed to determine the cooking quality characteristics of glutinous rice grains by comparing the alkali decomposition assessment to the gelatinization temperature of cooked starch, gel consistency, starch amylose content, and seed elongation ratio of the starch. Three replicates of four glutinous rice grains were randomly milled to obtain glutinous rice flour. Differentiation was observed both between and within highland glutinous rice varieties. Glutinous rice landraces can be classified into three groups: hard glutinous rice (KH5, PAKP5), medium-hard glutinous rice (KH2), and soft glutinous rice (PAKP4). The study also compared the characteristics of RD4 (hard glutinous rice) and RD6 (soft glutinous rice) glutinous rice varieties. The third part aimed to determine the differences in nucleotide sequences of genes related to the cooking quality of four glutinous rice populations obtained through random sampling from highland glutinous rice populations, along with two comparative glutinous rice varieties. DNA extraction was conducted for five samples per population, and PCR reactions were performed using specific primers for three cooking quality-related genes: SSIIa, ISA, and PUL genes. The partial nucleotide sequence differences of each gene were then analyzed. In this study, no differences in the partial nucleotide sequences of all studied genes were found among the glutinous rice landrace populations and the check varieties. In conclusion, the present study illustrates that the two glutinous rice landraces, consisting of four populations, maintained a low level of genetic diversity within each population. However, there were high levels of total genetic diversity between populations and genetic differentiation in crop morphology and cooking quality traits. The low level of genetic diversity within populations could be explain by the four glutinous rice landraces populations faced genetic drift due to founder effect during the kept from previous study for the second generation. Through the study of differences in nucleotide sequences, no nucleotide sequence differences were found among glutinous rice populations in the three genes associated to cooking quality. Nevertheless, further research is required to focus on more nucleotide sequences of the studied genes and additional genes, including the whole genome sequencing to serve as a database for selection and the breeding program forglutinous rice varieties in the future. This includes the study of other factors that can potentially affect the quality of rice grains as well. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | Glutinous rice landraces, Physicochemical properties, Starch synthesis, Grain quality, Wx gene | en_US |
dc.title | การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมและฟีโนไทป์ของลักษณะคุณภาพเมล็ดข้าวเหนียวพื้นเมืองที่สูงของไทย | en_US |
dc.title.alternative | Genetic and phenotypic characterization of grain quality traits of Thai Highland glutinous rice landraces | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ข้าวเหนียว -- พันธุ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | ข้าวเหนียว -- การปรับปรุงพันธุ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | พันธุกรรม | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ข้าวพันธุ์พื้นเมือง เป็นข้าวที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายในพื้นที่สูงทางภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ข้าวเหนียวพื้นเมืองถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา เป็นวัตถุดิบหลักในการหมักสุราหรือสาโทพื้นบ้าน และการแปรรูปเป็นแป้งข้าวเหนียวเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการทำขนม สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้นอกเหนือจากการขายเพื่อบริโภคเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองยังมีลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความหลากหลายสูง เหมาะสมกับการใช้เป็นแหล่งของพันธุกรรมในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวให้มีคุณภาพที่ดี ซึ่งลักษณะคุณภาพการหุงต้มเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการคัดเลือกเพื่อบริโภคและใช้ประโยชน์ของเกษตรกร เป้าหมายของการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในอนาคตคมุ่งเน้นที่การพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยการเพิ่มผลผลิตข้าวควบคู่กับคุณภาพเมล็ดข้าวที่ดีกว่าพันธุ์เดิม ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะทางพืชไร่ รวมถึงคุณภาพการหุงต้มของข้าวเหนียว และศึกษาความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนที่มีความเกี่ยวข้องกับคุณภาพการหุงต้ม โดยทดสอบในพันธุ์ข้าวเหนียวพื้นเมืองจากพื้นที่สูงของไทย 2 พันธุ์ ได้แก่ ปะอ้ายคูเผ่ (PAKP4 และ PAKP5) และข้าวฮ้าว (KH2 และ KH5) เปรียบเทียบกับข้าวเหนียวพันธุ์ กข 4 และ กข 6 โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ประเมินความหลากหลายของลักษณะทางสัณฐานและลักษณะทางพืชไร่ของข้าวเหนียวพื้นเมือง 4 ประชากรที่นำเมล็ดมาปลูกในกระถางที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร ประชากรละ 3 กระถาง ประเมินลักษณะทางสัณฐานและลักษณะทางพืชไร่รวม 22 ลักษณะ โดยพบความหลากหลายทั้งภายในประชากรและระหว่างประชากร ได้แก่ ทรงกอ การโผล่พ้นคอรวง และลักษณะที่ไม่พบความหลากหลายทั้งภายในประชากรและระหว่างประชากร ได้แก่ สีแผ่นใบ สีกาบใบ สีข้อ สีปล้อง สียอดดอก สียอดเกสรตัวเมีย ความยาวเกสรตัวเมีย การโผล่ยื่นเกสรตัวเมีย ความยาวเกสรตัวผู้ มุมของใบธง สีเปลือกเมล็ด และการมีหาง ทั้งนี้พบว่าข้าวเหนียวพื้นเมืองทุกประชากรมีสีแผ่นใบ สีกาบใบ สีข้อ และสีปล้องเป็นสีเขียว สียอดดอกเป็นสีขาว สีเปลือกเมล็ดเป็นสีฟาง และไม่มีหางเมล็ด และพบความหลากหลายระหว่างประชากรในลักษณะสีเยื้อหุ้มเมล็ด ส่วนลักษณะทางพืชไร่ พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสิถิติของแต่ละประชากรข้าวเหนียวพื้นเมืองในลักษณะ อายุวันออกดอก จำนวนหน่อต่อต้น จำนวนรวงต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อรวง เปอร์เซ็นต์เมล็ดดี และน้ำหนัก 1,000 เมล็ด และข้าวเหนียวพันธุ์ปะอ้ายคูเพ่ มีผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุด จากการประเมินลักษณะของเมล็ดข้าวเหนียว พบว่าเมล็ดข้าวเหนียวพื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นข้าวเมล็ดใหญ่ มีเพียงข้าว KH2 ที่เป็นข้าวเมล็ดเรียวยาว ส่วนที่ 2 ประเมินลักษณะคุณภาพการหุงต้มของเมล็ดข้าวเหนียว ได้แก่ การประเมินการสลายตัวในด่างและเปรียบเทียบเป็นอุณหภูมิของแป้งสุก ประเมินค่าความคงตัวของแป้งสุก ปริมาณอะไมโลส และอัตราการยืดตัวของเมล็ด จากการสุ่มเมล็ดข้าวเหนียวทั้ง 4 ประชากร จำนวน 3 ซ้ำ พบความแตกต่างทั้งภายในและระหว่างประชากรของข้าวเหนียวพื้นเมือง โดยสามารถจัดกลุ่มของข้าวเหนียวพื้นเมืองได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มข้าวเหนียวแข็ง (KH5,PAKP5) กลุ่มข้าวเหนียวแข็งปานกลาง (KH2) และกลุ่มข้าวเหนียวนุ่ม (PAKP4) โดยมีข้าวเหนียว กข 4 (ข้าวเหนียวแข็ง) และ กข 6 (ข้าวเหนียวนุ่ม) เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ส่วนที่ 3 ประเมินความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการหุงต้มของข้าวเหนียวทั้ง 4 ประชากร จากการสุ่มตัวอย่างจากประชากรข้าวเหนียวพื้นเมือง และข้าวเหนียวพันธุ์เปรียบเทียบ 2 พันธุ์ ประชากรละ 5 ตัวอย่าง เพื่อนำไปสกัดดีเอ็นเอ และทำปฏิกิริยาพีซีอาร์โดยใช้ไพเมอร์ที่จำเพาะเจาะจงกับยีนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการหุงต้มที่ใช้ศึกษา 3 ยีน ได้แก่ ยีน SSIIa ISA และยีน PUL แล้ววิเคราะห์หาความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์ จากการศึกษาในครั้งนี้ไม่พบความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์ในบริเวณตำแหน่งที่ศึกษาในทุกประชากรของข้าวเหนียวพื้นเมืองและข้าวเหนียวที่ใช้เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าข้าวเหนียวพื้นเมืองทั้ง 2 ชื่อพันธุ์จำนวน 4 ประชากรนี้ถึงแม้จะมีความหลากหลายภายในประชากรต่ำ แต่มีความแตกต่างระหว่างประชากรสูง ทั้งในลักษณะสัณฐานพืชไร่และลักษณะคุณภาพการหุงต้ม ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากการเกิด genetic drift เนื่องจาก founder effect จากการเก็บเมล็ดไว้บางส่วนต่อจากการศึกษาที่ผ่านมา เพื่อใช้สำหรับปลูกในรุ่นที่สอง จากการประเมินความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์ ไม่พบความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์ในยีนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการหุงต้ม ดังนั้นควรมีการศึกษาเพิ่มเติมลำดับนิวคลีโอไทด์ในบริวเณอื่น ๆ ของยีนที่ศึกษา รวมถึงยีนอื่น ๆ หรือการศึกษาในระดับจีโนมต่อไป เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการคัดเลือก และปรับปรุงพันธุ์ของข้าวเหนียวต่อไป รวมทั้งศึกษาถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่จะส่งผลทำให้คุณภาพของเมล็ดข้าวแตกต่างกันไปด้วย | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
610831061-ศิริลักษณ์ ตุ๊แสง.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.