Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79143
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิวพร อึ้งวัฒนา-
dc.contributor.advisorวิลาวัลย์ เตือนราษฎร์-
dc.contributor.authorเยาวลักษณ์ มะกองen_US
dc.date.accessioned2023-11-06T10:21:00Z-
dc.date.available2023-11-06T10:21:00Z-
dc.date.issued2023-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79143-
dc.description.abstractHealthy early childhood development has tended towards a decrease in Thailand. Therefore, assessing parental roles in early childhood development will aid in finding abnormalities in order to allow for early treatment with developmental therapy. This study used a quasi-experimental two-group, pretest-posttest design to investigate the effect of a participatory learning enhancement program on family practices in assessing development in early childhood. The participants were parents or guardians of young children in a childcare center affiliated with the local administration and who were assigned, by simple random sampling for 48 persons, to a group which either received or did not receive the program. Purposive sampling was used with 24 persons per group. The instruments utilized in the tests included the Participatory Learning Enhancing Program devised by the researcher based on Participatory Learning (Kolb, 1984) for a duration of 8 weeks. Furthermore, an activities' learning plan from the Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM) and video instructors were also used. The data collecting instrument was a family practice questionnaire on assessing development in early childhood, with a Kuder-Richardson (KR-20) coefficient of 0.90. Data were analyzed using descriptive statistics, the Chi-square test, the Fisher exact test and an independent t-test for analyzing demographic data between the two groups. The Wilcoxon matched pairs signed-ranks test and the Mann-Whitney U test were applied for comparing family’s practices in assessing early childhood development by average scores before and after, and between the two groups. The findings revealed that parents and guardians of young children who received the Participatory Learning Enhancing Program for 8 weeks had a higher mean score of family practices in assessing early childhood development (Med=5.5, IQR=1) with significance (p<.001) than before (Med=3, IQR=2) and more than the control group who received normal recommendations for early childhood assessment (Med=3, IQR=2) with significance (p<0.001). The results show that the Participatory Learning Enhancing Program helped participants to have early childhood development assessing skills leading to continuous family practice in assessing early childhood development in communities.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการปฏิบัติของครอบครัวในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยในชุมชนen_US
dc.title.alternativeEffect of the participatory learning enhancing program on family’s practices in assessing development of early childhood in communitiesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการพยาบาล-
thailis.controlvocab.thashการศึกษาปฐมวัย-
thailis.controlvocab.thashพัฒนาการของเด็ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractสถานการณ์ของเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการสมวัยมีแนวโน้มลดลง การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครอง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะช่วยให้สามารถค้นพบปัญหาและเด็กได้รับการดูแลได้ทัน การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง (two groups pretest-posttest design) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการปฏิบัติของครอบครัวในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่ศึกษาอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้การสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) จำนวน 48 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 24 ราย เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของครอบครัวในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จากทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของโคล์บ (Kolb, 1984) ดำเนินการเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ แผนกิจกรรมตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย สื่อวีดิทัศน์สาธิตการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย 3-5 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามการปฏิบัติของครอบครัวในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีคูเดอร์- ริชาร์ดสัน (KR-20) เท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติทดสอบ Chi-square test, Fisher exact test, และ Independent t-test วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติของครอบครัวในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้ Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks-Test และ สถิติ Mann-Whitney U test ตามลักษณะของข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ มีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติของครอบครัวในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Med=5.5, IQR=1) มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ (Med=3, IQR=2) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) และ มากกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (Med=3, IQR=2) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ผลการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมีผลทำให้กลุ่มตัวอย่างมีทักษะการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ถูกต้อง นำไปสู่การปฏิบัติการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยในชุมชนได้อย่างต่อเนื่องen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.