Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79131
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorหรรษา เศรษฐบุปผา-
dc.contributor.authorสิรินาถ บุญทวีen_US
dc.date.accessioned2023-11-05T08:13:17Z-
dc.date.available2023-11-05T08:13:17Z-
dc.date.issued2023-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79131-
dc.description.abstractAdolescents with Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) are increasingly having problems with game addiction, causing physical, mental, and social effects. This quasi-experimental research aimed to study the effects of the Motivational Interviewing program with parental participation on game behaviors of adolescents with ADHD. The samples consisted of 28 adolescents with ADHD. The instruments consisted of 1) the Personal Information Questionnaires 2) the Gaming Addiction Test (GAST), and 3) the Motivational Interviewing program with parental participation developed by the researchers based on the Motivational Interviewing (MI) concept of Miller and Rollinick (2002). This program consisted of five sessions, 30 – 45 minutes per session, once a week. Data were analyzed by descriptive statistics: dependent t-test and independent t-test. Results of the research revealed that: 1. The mean score of game addiction behaviors among the experimental group after the treatment was lower than before the treatment with statistical significance (p < .01). 2. The mean score of game addiction behavior among the experimental group after treatment was lower than that of the control group with statistical significance (p < .01). The results of this study demonstrated that the MI program with parental participation on game addiction behaviors of adolescents with ADHD can reduce these behaviors in this group. Therefore, this program can be therapy and an alternative treatment for game addiction behaviors of adolescents with ADHD.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ, พฤติกรรมติดเกม, วัยรุ่น, สมาธิสั้น ,โปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ motivation interviewing, game addiction behaviors, adolescents, attention‑deficit hyperactivity disorder, Motivational Interviewing Programen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมติดเกมของวัยรุ่นสมาธิสั้นen_US
dc.title.alternativeEffect of the motivational interviewing program with parental participation on game addiction behaviors of adolescents with attention deficit hyperactivity disordersen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการติดเกมวิดีโอ-
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมตามแรงกดดัน-
thailis.controlvocab.thashการสัมภาษณ์ทางจิตเวชศาสตร์วัยรุ่น-
thailis.controlvocab.thashผู้ปกครองเด็กสมาธิสั้น-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัยรุ่นสมาธิสั้นมีปัญหาติดเกมเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจและสังคมได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมติดเกมของวัยรุ่นสมาธิสั้น กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นสมาธิสั้น 28 คน ที่มีพฤติกรรมติดเกม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบทดสอบการติดเกม (GAST) และ 3) โปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการเสริมสร้างแรงจูงใจของมิลเลอร์และโรลนิค (Miller & Rollnick, 2002) ประกอบด้วยการบำบัด 5 ครั้งครั้งละ 30 -45 นาที 1 ครั้งต่อสัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่า ที ชนิด 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และสถิติค่า ที ชนิด 2 กลุ่ม ที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษา พบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการติดเกมของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) 2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการติดเกมของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การบำบัดด้วยโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม ช่วยลดพฤติกรรมติดเกมของวัยรุ่นสมาธิสั้นได้ ดังนั้นการบำบัดด้วยโปรแกรมการสัมภาษณ์เพิ่มเสริมสร้างแรงจูงใจจึงเป็นการบำบัดที่เป็นประโยชน์และเป็นทางเลือกในการบำบัดวัยรุ่นสมาธิสั้นที่มีพฤติกรรมติดเกมได้en_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631231013-สิรินาถ บุญทวี.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.