Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79072
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกิจ กันจินะ-
dc.contributor.authorรัตติกาล จักรใจวงค์en_US
dc.date.accessioned2023-10-17T01:19:59Z-
dc.date.available2023-10-17T01:19:59Z-
dc.date.issued2566-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79072-
dc.description.abstractThis research aimed to examine some personal and socio-economic characteristics of fruit growers in Laplae District, Uttaradit Province, and analyze factors influencing their adoption of antagonistic Trichoderma application. It also explored their problems and suggestions regarding antagonistic Trichoderma application. The study samples were 130 fruit growers who participated in training on microbial product usage. A structured interview was used to collect data. Descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, maximum, minimum, and standard deviation, and logistic regression analysis were employed for data analysis. It was found that most growers were male, with an average age of 53.20 years, and 45.40% of them had upper secondary education. On average, they had 4.06 household farm laborers and 3.80 years of experience in using microbial products. The fruit growers knew the antagonistic Trichoderma application at a moderate level (X ̅ = 15.45) and an attitude toward the application at an 'agree' level (X ̅ = 3.89). The fruit growers had an average fruit orchard of 15 rai, an average income of 399,384.625 baht, and a fruit crop production cost of 2,579.23 baht/year. On average, they received agriculture-related information from 5.89 sources, many of whom obtained this information from agricultural extension officers. In contrast, the fruit growers contacted these officers 0.95 time/month on average. A multiple regression analysis discovered that experience in using bio-products for disease control in fruit crops was positively related to fruit growers' adoption of the concerned application at a statistically significant level of 0.001. The fruit growers' age and attitude toward the application also influenced their adoption at a statistically significant level of 0.05. However, fruit growers had some concerns regarding the application, such as its effectiveness in controlling plant diseases compared to agrochemicals. Thus, relevant government agencies should regularly provide advice on the antagonistic Trichoderma application to enhance the fruit growers' confidence, which will help increase its adoption.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์มาของผู้ปลูกไม้ผลในอำเภอลับเเล จังหวัดอุตรดิตถ์en_US
dc.title.alternativeFactors affecting fruit growers' adoption of antagonistic Trichoderma application in Laplae District, Uttaradit provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashไตรโคเดอร์มา-
thailis.controlvocab.thashไม้ผล -- การปลูก-
thailis.controlvocab.thashไม้ผล -- ลับแล (อุตรดิตถ์)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมบางประการ และทัศนคติที่มีต่อเชื้อปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์มาของผู้ปลูกไม้ผล ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์มาของผู้ปลูกไม้ผล ตลอดจนศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการใช้เชื้อปฏิปักษ์ดังกล่าว โดยศึกษาจากกลุ่มผู้ปลูกไม้ผลที่เคยฝึกอบรมด้านชีวภัณฑ์ จำนวน 130 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์พหุถดถอย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปลูกไม้ผลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 53.20 ปี ร้อยละ 45.40 จบการศึกษาในระดับมัธยมปลาย มีแรงงานภาคเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 4.06 คน มีประสบการณ์ใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันโรคพืชในไม้ผลเฉลี่ย 3.80 ปี และมีความรู้ในการใช้เชื้อปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์มาในระดับปานกลาง (X ̅ =15.45) รวมทั้งมีทัศนคติต่อการใช้เชื้อปฏิปักษ์ ไตรโคเดอร์มาอยู่ในระดับเห็นด้วย (X ̅ =3.89) ผู้ปลูกไม้ผลมีพื้นที่ปลูกไม้ผลเฉลี่ย 15 ไร่ มีรายได้เฉลี่ย 399,384.62 บาท และมีต้นทุนการดูแลไม้ผลเฉลี่ยไร่ละ 2,579.23 บาทต่อปี มีการรับข่าวสารด้านการเกษตรจากแหล่งข้อมูลเฉลี่ย 5.89 แหล่ง โดยที่ส่วนใหญ่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และมีความถี่ในการติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เฉลี่ย 0.95 ครั้งต่อเดือน ในการวิเคราะห์พหุถดถอย พบว่า ประสบการณ์ใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันโรคพืชในไม้ผล มีมีความสัมพันธ์กับการยอมรับการใช้เชื้อปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์มาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนอายุของผู้ปลูกไม้ผล และทัศนคติที่มีต่อเชื้อปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์มาของผู้ปลูกไม้ผลมีผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อปฏิปักษ์ดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อย่างไรก็ตามผู้ปลูกไม้ผลยังมีความไม่แน่ใจในบางประเด็น อาทิ ประสิทธิภาพของเชื้อปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์มาในการป้องกันกำจัดโรคพืชเมื่อเทียบการใช้สารเคมี ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้เชื้อปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และทำให้มีการยอมรับการใช้เชื้อปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์มาในสวนไม้ผลมากขึ้นen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630832013_รัตติกาล จักรใจวงค์.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.