Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79031
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาซายูกิ นิชิดะ-
dc.contributor.authorพงศ์ทร บุญมีen_US
dc.date.accessioned2023-10-15T03:20:10Z-
dc.date.available2023-10-15T03:20:10Z-
dc.date.issued2018-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79031-
dc.description.abstractThis research aims for comparative study of the thought of Yamagata Aritomo and Hara Takashi on Taisho emperor and how it affected the formulation of political policies in Japan on Taisho emperor. This research uses the study of documents and writings that mentioned the thought and practice of Yamagata Aritomo and Hara Takashi on Taisho emperor. The study showed that the thought of Yamagata and Hara didn’t go along completely but eventually, both of them needed to adapt their thought to unwind the political problem. The thought of Yamagata on Taisho emperor since he was a crown prince was to dominate the emperor power as Yamagata did in Meiji period. However, Yamagata also concerned about a crown prince’s health since he was born because it could cause Japan to lack of a king’s successor. Taisho emperor’s sickness was aggravated after he reigned for six years and resulted in his inability to perform the duties of the emperor. Moreover, Taisho emperor’s personality was like human that he was usually friendly with people around him that was different from his father, Meiji emperor. Yamagata thought that Taisho emperor should adjust his personality to suit with emperor status that was a divine king to build a confidence with courtiers. Since Taisho emperor reigned in year 1912 with the lack of political experience, Yamagata and Hara concerned that Taisho emperor might be persuaded by political groups to make policies that benefited for them. Eventually, there was the thought to appoint a regent that Hara agreed to appoint immediately. However, Yamagata concerned about the image of the emperor regime that could be devastated by the announcement of the sickness of Taisho emperor and the problem on readiness of the crown prince. Therefore, Yamagata didn’t agree with Hara at the first time. Although Hara would be assassinated in year 1921, Yamagata accepted to adapt the thought of the announcement of a regent in the same year. It could be said that the thought of Hara and Yamagata might have some conflicting points, but they had the same goal. That was to sustain the emperor regime so that the traditional political style could be carry on.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบความคิดของ ยามางาตะ อาริโทโมะและฮาระ ทาคาชิ ที่มีต่อจักรพรรดิไทโชen_US
dc.title.alternativeComparative study of thoughts on the Taisho emperor: Yamagata Aritomo VS Hara Takashien_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashญี่ปุ่น -- ประวัติศาสตร์-
thailis.controlvocab.thashจักรพรรดิ -- ญี่ปุ่น-
thailis.controlvocab.thashกษัตริย์และผู้ครองนคร -- ญี่ปุ่น-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดของยามางาตะ อาริโทโมะ และฮาระ ทาคาชิ ที่มีต่อจักรพรรดิไทโชว่าแนวคิดของทั้งสองคนนั้นส่งผลกระทบต่อการกำหนด รูปแบบนโยบายทางการเมืองของญี่ปุ่นยุคไทโชอย่างไร โดยการวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาเอกสารบันทึก และงานเขียนที่ระบุถึงแนวคิดและการปฏิบัติของยามางาตะและฮาระเพื่อให้ทราบถึงแนวความคิดที่ ทั้งคู่มีต่อจักรพรรดิไทโช ผลการวิจัยพบว่าแนวความคิดของยามางาตะและฮาระนั้นไม่ได้มีส่วนที่เห็น คล้อยตามกันทั้งหมดทุกเรื่องแต่สุดท้ายแล้วทั้งสองก็จำเป็นที่จะต้องยอมปรับแนวคิดของตนให้เข้ากัน ที่ทำให้สภาวะปัญหาทางการเมืองในยุคไทโชคลี่คลายลงได้ ยามางาตะนั้นได้แสดงแนวคิดต่อจักรพรรดิไทโชตั้งแต่สมัยที่พระองค์ยังเป็นมกุราชกุมาร โดยตัวเขามีความต้องการที่จะครอบงำพระราชอำนาจของพระองค์เอาไว้เหมือนเช่นที่กลุ่มเกนโรเคย ทำมาตลอดในช่วงยุคเมจิ อย่างไรก็ตามเขามีความกังวลในปัญหาด้านสุขภาพของพระองค์ในช่วงที่ พระราชสมภพเช่นกันเนื่องจากพระอาการประชวรนั้นอาจจะทำให้ญี่ปุ่นไร้ผู้สืบพระราชบัลลังก์ได้ ซึ่งอาการประชวรของพระองค์นั้นก็ได้แสดงออกมาอีกครั้งหลังจากที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ใด้ 6 ปีและส่งผลให้พระองค์นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของการเป็นจักรพรรดิได้อย่างสมบูรณ์ อีกด้าน หนึ่งคือการที่จักรพรรดิไทโชทรงมีลักษณะของความเป็นมนุษย์ในตัวพระองค์ กล่าวคือพระองค์นั้น มักจะวางตัวเป็นกันเองกับเหล่าคนรอบตัวซึ่งสิ่งนี้แตกต่างจากจักรพรรดิเมจิผู้เป็นพระบิดาและทำให้ ยามางาตะมีความเห็นว่าพระองค์นั้นควรที่จะปรับปรุงการวางตัวให้เหมาะสมกับตำแหน่งจักรพรรดิที่ เป็นสมมุติเทพเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เหล่าข้าราชบริพาร ต่อมาเมื่อจักรพรรดิไทโชได้ขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 1912 แล้ว เนื่องจากการขาดประสบการณ์ ทางการเมืองของพระองค์ทำให้พระองค์นั้นมักจะถูกชักจูงและโน้มน้าวโดยกลุ่มการเมืองให้ออก นโยบายที่เอื้อประโยชน์แก่กลุ่มตนได้ง่าย ยามางาตะและฮาระจึงกังวลในเรื่องนี้ร่วมกัน เพื่อเป็นการ แก้ไขปัญหาฮาระจึงมีแนวคิดสนับสนุนเรื่องกระบวนการจัดตั้งผู้สำเร็จราชการขึ้นเพื่อเป็นการลด โอกาสที่พระองค์จะถูกลอบใช้อำนาจได้โดยใช้เหตุผลด้านปัญหาสุขภาพของพระองค์ ส่วนยามางาตะ นั้นไม่ได้แสดงความเห็นด้วยกับกระบวนการนี้ในครั้งแรกเนื่องจากเขานั้นมีความกังวลถึงภาพลักษณ์ ของสถาบันที่อาจจะเสื่อมเสียได้จากการประกาศข่าวพระอาการประชวรของพระองค์และเขายังคง กังวลในเรื่องความพร้อมของมกุฎราชกุมารเอง แต่สุดท้ายแล้วยามางาตะก็ยอมให้มีการประกาศแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการได้ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ.1921 แม้ว่าฮาระนั้นจะถูกลอบสังหารไปแล้วในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน แต่เขาก็ไม่ได้ยกเลิก หรือคัดค้านการประกาศแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแต่อย่างใด จึงสามารถกล่าวได้ว่าแนวคิดของฮาระและ ยามางาตะนั้นถึงแม้ว่าทั้งสองจะมีแนวคิดที่ขัดแย้งกันบ้าง แต่ทั้งสองนั้นก็มีเป้าหมายเดียวกันคือการ รักษาไว้ซึ่งสถาบันจักรพรรดิเพื่อที่จะให้รูปแบบของการเมืองญี่ปุ่นที่สืบทอดมาจากยุคเมจินั้น สามารถดำเนินต่อไปได้en_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
560132042-พงศ์ทร บุญมี.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.