Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78977
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประทุม สร้อยวงค์-
dc.contributor.advisorเบญจมาศ สุขสถิตย์-
dc.contributor.authorศรทัย แก้วใจบุญen_US
dc.date.accessioned2023-10-09T15:40:26Z-
dc.date.available2023-10-09T15:40:26Z-
dc.date.issued2566-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78977-
dc.description.abstractPersons with diabetic retinopathy who engage in consistent and appropriate self-management behavior (SMB) can decrease the severity of this condition. This study, with a descriptive correlational predictive design, aimed to determine factors predicting SMB among persons with diabetic retinopathy, including perceived barriers to performing SMB and social support. Purposive sampling was applied to recruit 88 persons with diabetic retinopathy who received service at the outpatient department of the retina clinic at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital from April 2022 to August 2022. Research instruments included: 1) a demographic data record form; 2) the Self-Management Behavior among Persons with Diabetic Retinopathy Questionnaire developed by the researcher based on Lorig and Holman (2003) and the literature review; 3) the Perceived Barriers to Performing Self-Management Behavior Questionnaire developed by the researcher based on Becker (1974) and the literature review; and 4) the Social Support Questionnaire (SSQ) developed by Shaefer et al. (1981). The psychometric properties of the research instruments were approved before data collection. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression statistics. The results revealed that: 1. More than three-quarters of participants had insufficient overall SMB (79.55%). Regarding subdimensions, most participants demonstrated insufficient medical management and role management (73.86% and 90.91%, respectively) while a lower percentage (28.41%) had insufficient SMB regarding emotional management. 2. Perceived barriers to performing SMB and social support predicted 17% of SMB (SEest= ±8.84). Social support was the primary variable that could predict SMB, and it had a greater influence than perceived barriers to performing SMB. The findings of this study demonstrate that people with diabetic retinopathy have insufficient SMB. Therefore, interventions for enhancing SMB among persons with diabetic retinopathy should be developed. Furthermore, although perceived barriers to performing SMB and social support can predict SMB, the percentage is low. Thus, further studies should explore other factors influencing SMB.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ที่มีภาวะจอตาผิดปกติจากเบาหวานen_US
dc.title.alternativeFactors predicting self-management behaviors among persons with diabetic retinopathyen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วยเบาหวาน -- พฤติกรรม-
thailis.controlvocab.thashการจัดการตนเอง (จิตวิทยา)-
thailis.controlvocab.thashจอตา -- ความผิดปกติ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้ที่มีภาวะจอตาผิดปกติจากเบาหวาน หากมีการปฏิบัติพฤติกรรมการจัดการตนเองได้ถูกต้องและสม่ำเสมอจะช่วยชะลอความรุนแรงของโรคได้ การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ที่มีภาวะจอตาผิดปกติจากเบาหวาน ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมการจัดการตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกอย่างเจาะจง เป็นผู้ที่มีภาวะจอตาผิดปกติจากเบาหวานจำนวน 88 ราย ที่มารับการรักษา ณ คลินิกจอรับภาพ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 ถึงเดือนสิงหาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ที่มีภาวะจอตาผิดปกติจากเบาหวานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดของลอริกและฮอลแมน (Lorig & Holman, 2003) และการทบทวนวรรณกรรม 3) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมการจัดการตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดของเบคเกอร์ (Becker, 1974) และการทบทวนวรรณกรรม และ 4) แบบประเมิน Social Support Questionnaire (SSQ) พัฒนาโดยเชฟเฟอร์ และคณะ (Shaefer et al., 1981) เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำไปใช้ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (stepwise multiple regression statistics) ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสามในสี่มีคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองโดยรวมอยู่ในระดับไม่ดีร้อยละ 79.55 สำหรับรายด้านพบว่าส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการแพทย์และการรักษา และด้านบทบาทอยู่ในระดับไม่ดีร้อยละ 73.86 และ 90.91 ตามลำดับ และมีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.41 มีพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านอารมณ์อยู่ในระดับไม่ดี 2. การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมการจัดการตนเองและการสนับสนุนทางสังคมสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ที่มีภาวะจอตาผิดปกติจากเบาหวานได้ ร้อยละ 17 โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์เท่ากับ ±8.84 ซึ่งการสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยตัวแรกที่สามารถทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองและมีค่าอิทธิพลมากกว่าการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมการจัดการตนเอง ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มีภาวะจอตาผิดปกติจากเบาหวานมีพฤติกรรมการจัดการตนเองไม่เหมาะสม ดังนั้นควรพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ที่มีภาวะจอตาผิดปกติจากเบาหวาน นอกจากนี้การลดอุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมการจัดการตนเอง และการได้รับการสนับสนุนทางสังคมอาจไม่เพียงพอ อาจมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ควรศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจสามารถทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231066-ศรทัย แก้วใจบุญ.pdf5.1 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.