Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78945
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธเนศวร์ เจริญเมือง | - |
dc.contributor.author | หทัยชนก บุญให้ลาภ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-10-05T18:29:06Z | - |
dc.date.available | 2023-10-05T18:29:06Z | - |
dc.date.issued | 2565-03 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78945 | - |
dc.description.abstract | The purposes of this study were 1) To study the methods of solid waste management in Chiang Mai Municipality Under the Community Solid Waste Management Action Plan "Clean Province" 2) To study the problems and obstacles in the solid waste management in Chiang Mai Municipality Under the Community Solid Waste Management Action Plan "Clean Province" 3) To find out and recommendations for the management of solid waste problems of Chiang Mai Municipality. The methodology of this research was qualitative research, documentary inquiry, in-depth interviews, and participant observation. The study found that Chiang Mai Municipality has applied a solid waste management policy Under the Community Solid Waste Management Action Plan "Clean Province" to use as a guideline for waste management in the area from 2017 to 2020. There have been problems and obstacles to solid waste management caused by the centralized powers of development policies that make the growth of Chiang Mai city. As a result, Chiang Mai Municipality has no role in planning and controlling the development of the city causes the problem of solid waste in Chiang Mai Municipality and requires a large budget to manage, including this policy formulation of solid waste management from a central decision, regardless of contextual differences, the environment, and the limitations of local administrative organizations. Another problem that important is people's perception of information about waste management in Chiang Mai Municipality is still low. Therefore, people do not pay attention to their participation in solving these problems. In addition, The Mayor of Chiang Mai Municipality does not attach great importance to the waste reduction at the source, including the use of compulsory measures to reduce the problem of solid waste as it may affect the popularity scores and votes of local administrators. The researcher suggested that there should be a clear improvement of the management structure. Central must not intervene or control Local government in public service management. The integration of the development center in Chiang Mai should be solved by promoting urban development allocated to local and other provinces in equal to prevent growth environmental problems. On the participation of the people, there should be multiple cooperation networks to solve the problem of solid waste and prevent local political conflicts. In addition, the Mayor of Nakhon Chiang Mai Municipality must focus on the management of solid waste at the source by cultivating citizenship consciousness. Especially, the perception of information about the solid waste management including the importance to local administration and development by making to be a subject in education or as a basic knowledge to students and citizens. To create understanding and consciousness of the importance to participate in the development of their locality. Moreover, In case of waste management problems. There should be an explanation of the cause of the problem to the public to participate in the problem analysis and create people's participation in waste management. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการปัญหาขยะมูลฝอยชุมชน ภายใต้แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ในพ้ืนที่เทศบาลนครเชียงใหม | en_US |
dc.title.alternative | A Study of municipal solid waste management under the municipal solid waste management “clean province” action plan : a case study of Chiang Mai Municipality | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | การกำจัดขยะ -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | ขยะ -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | บริการของเทศบาล – เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | การปกครองท้องถิ่น -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | บริการสาธารณะท้องถิ่น | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการปัญหาขยะมูลฝอยชุมชนภายใต้แผนปฏิบัติการจัดการ ขยะมูลฝอยชุมชน "จังหวัดสะอาด" ในพื้นที่ทศบาลนครเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ) ศึกษาวิธีการบริหาร จัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลนครเชียงใหม่ ภายใต้แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน "จังหวัดสะอาด" 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการปัญหาขยะมูลฝอยของเทศบาล นครเชียงใหม่ ภายใต้แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน "จังหวัดสะอาค" 3) เพื่อหาแนวทาง และข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการปัญหาขยะมูลฝอยของเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการศึกษาวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เทศบาลนครเชียงใหม่ได้นำน โบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายใต้แผนปฏิบัติการจัดการ ขยะมูลฝอยชุมชน "จังหวัดสะอาด" ไปใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2563 ผลการดำเนินงานของเทศบาลนครเชียงใหม่ตามแผนปฏิบัติการ ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยมีสาเหตุมาจากการเติบโตของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากการที่รัฐรวมศูนย์อำนาจ และนโยบายการพัฒนาไว้ ทำให้เทศบาลนครเชียงใหม่ไม่ได้มีบทบาทในการวางแผนควบคุมการพัฒนา ของเมือง จนทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ในการบริหารจัดการ รวมทั้งการกำหนดนโขบายการจัดการขยะมูลฝอยดังกล่าวเป็นการกำหนดจากส่วนกลาง ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างทางด้านบริบท สภาพแวดล้อม และข้อจำกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ละแห่ง อีกปัญหาหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับปัญหา ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลนครเชียงใหม่ยังมีน้อย ทำให้ประชาชนไม่ให้ความสำคัญ ต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้การให้ความสำคัญกับนโยบายการจัดการ ปัญหาขยะมูลฝอยที่ต้นทางของผู้บริหารท้องถิ่นของเทศบาลนครเชียงใหม่ยังอยู่ในระดับน้อย โดยเฉพาะการใช้มาตรการเชิงบังคับเพื่อลดปัญหาขยะมูลฝอย เนื่องจากอาจส่งผลต่อคะแนนความนิยม และฐานเสียงของผู้บริหารท้องถิ่น ด้านข้อเสนอแนะในการศึกษา ควรมีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการให้แยกส่วน อย่างชัดเจน ส่วนกลางต้องไม่แทรกแซงหรือควบคุมท้องถิ่นในการบริหารจัดการบริการสาธารณะ ในพื้นที่ และควรมีการแก้ไขปัญหาการรวมศูนย์การพัฒนาของเมืองเชียงใหม่โดยส่งเสริมให้มีการ พัฒนาเมืองแบบกระจายไปสู่ท้องถิ่นและจังหวัดอื่นๆ ให้มีการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อไม่ให้ เกิดการเติบโตของเมืองที่มากจนเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา ในส่วนของการมีส่วนร่วมของประชาชน ควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากหลายฝ่าย เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อลดความขัดแย้งทางการเมืองท้องถิ่น ไม่ให้เกิดขึ้น และผู้บริหารท้องถิ่นของเทศบาลนครเชียงใหม่ต้องให้ความสำคัญในเรื่องการจัดการ ขยะมูลฝอยระยะต้นทาง โดยการปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นพลเมืองที่มีหน้าที่ในการร่วมดำเนินการ ลดปริมาณขยะมูลฝอย และการเปีดโอกาสให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดยเฉพาะ ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการให้ความสำคัญ ต่อการบริหารและพัฒนาท้องถิ่น โดยทำให้เป็นวิชาหนึ่งในการศึกษา หรือเป็นความรู้พื้นฐานให้แก่ นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างจิตสำนึก ให้เห็นความสำคัญของการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง นอกจากนี้ กรณี ที่เกิดปัญหาในการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอย ควรจะต้องมีการชี้แจงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นให้ประชาชนทราบ เพื่อเป็นช่องทาง ในการร่วมวิเคราะห์ปัญหา และเพื่อให้เกิดความต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ ขยะมูลฝอย ต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | POL: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
621932046 หทัยชนก บุญให้ลาภ.pdf | 2.14 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.