Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78943
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ขวัญฟ้า ศรีประพันธ์ | - |
dc.contributor.author | เกรียงไกร บุญมั่ง | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-10-05T18:20:52Z | - |
dc.date.available | 2023-10-05T18:20:52Z | - |
dc.date.issued | 2564-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78943 | - |
dc.description.abstract | The aim of this study was to comprehend political image communication via social media platforms of Thai politicians. This study employed qualitative research method and used content analysis as a research tool. Four Thai politicians; Jurin Laksanawisit, Gen. Prayut Chan-o-cha, Pita Limjaroenrat and Khunying Sudarat Keyuraphah were chosen to be a sample of this study as they represented both the coalition government and opposition. Their official Facebook accounts were the platform which this study focused on. The contents analyzed ranged from 10 August - 10 December 2021. The results revealed that the images which politicians presented could be divided into 5 forms: 1) providing information as well as demonstrating knowledge and expertise related to economic, social, and political issues, for instance, agricultural goods problems, constitution reform, political movements and crisis. 2) showing responsibility and credentials: the politicians publicized that they worked tirelessly on government duties, and acted responsibly as a Minister, political party leader, or public servant works. 3) presenting their two-way supports; they publicized that they were accepted by social institutions as well as giving them support. 4) illustrating experiences including political engagagementa, management in organizations or educational background. 5) shaping personality, primarily verbal and nonverbal languages; for example, apparels, languages, personal space, gestures, self expression and respect for monarchy . In addition, the images usually presented online by Thai politicians were information and knowledge about economic, social, and affliction issues. Politicians always highlighted their responsibility at work. On the other hand, portraying responsibility, personality and democracy ideology were communicated differently among politicians. Each politician's outstanding political image reflected what politician demanded to present to the public. Moreover, it conveyed significant images, supports, and political interests that politicians would like to embed in the voter's mind. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การสื่อสารภาพลักษณ์ทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักการเมืองไทย | en_US |
dc.title.alternative | Image communication via social media platforms by Thai politicians | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | - |
thailis.controlvocab.thash | นักการเมือง -- ไทย | - |
thailis.controlvocab.thash | ภาพในความคิด | - |
thailis.controlvocab.thash | ภาพในความคิดในสื่อมวลชน | - |
thailis.controlvocab.thash | สื่อสังคมออนไลน์ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาเรื่อง "การสื่อสารภาพลักษณ์ทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักการเมือง ไทย" มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสื่อสารภาพลักษณ์ทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของ นักการเมืองไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เลือกกลุ่มตัวอย่างนักการเมือง แบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่เป็นตัวแทนของนักการเมืองทั้งจากพรรคร่วมรัฐบาล และพรรค ร่วมฝ่ายค้าน ได้แก่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และคุณหญิงสุคารัตน์ เกยุราพันธุ์ โคยอาศัยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ที่นักการเมืองทั้งสี่ท่านสื่อสารผ่านช่องทางเฟสบุ๊ค (Facebook) ระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2563 จากการศึกษาพบว่า ภาพลักษณ์ทางการเมืองที่นักการเมืองไทยสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สามารถแบ่งได้ 5 ภาพลักษณ์ คือ 1) การให้ข้อมูลข่าวสาร (Information) และแสดงความรู้ความเข้าใจ (Knowledge) หรือ "ผู้รู้" โดยการนำเสนอข้อมูล สถานการณ์ ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างผู้เชี่ยวชาญจากมุมมองของนักการเมือง เช่น ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน หรือปัญหาที่สังคมกำลังให้ความสนใจ รวมไปถึงข้อมูลที่ เกี่ยวข้องทางการเมือง อาทิ ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของกลุ่มต่าง ๆ 2) ความรับผิดชอบและตำแหน่งหน้าที่ (Responsibility and Credential) หรือ "ผู้นำ" ด้วยการสื่อสารถึงการทำงาน ปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตนเอง รวมไปถึง กิจวัตรที่ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ทั้งความเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้นำฝ่ายค้าน และนักการเมือง 3) การสนับสนุน (Supporting) หรือ "ผู้สนับสนุน" สื่อสารถึงการ ได้รับการยอมรับจากสถาบันต่าง ๆ ทางสังคม ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ให้การสนับสนุนแก่สถาบันทางสังคมอื่น ๆ ด้วย 4) "ผู้มี ประสบการณ์" (Experience) แสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ ที่เกิดจากประสบการณ์ อ้างอิงถึง ผลงาน ตำแหน่งหน้าที่ และการกิจที่เคยปฏิบัติมา และ 5) บุคลิกภาพ (Personality) หรือ "ผู้มี บุคลิกภาพที่ดี" ที่สื่อสารภาพลักษณ์ผ่านวจนภายา และอวจนภายา เช่น การแต่งกาย การใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน ระยะห่างระหว่างบุคคล การแสดงความจงรักภักดี และการใช้ภาษากาย โดยภาพลักษณ์ที่นักการเมืองไทยนิยมสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ ภาพลักษณ์การ ให้ข้อมูลข่าวสาร และแสดงความรู้ความเข้าใจ ภาพลักษณ์แสดงความรับผิดชอบและตำแหน่งหน้าที่ สื่อสารการทำงาน หน้าที่ และความรับผิดชอบของตน ขณะเดียวกันภาพลักษณ์ที่นักการเมืองสื่อสาร แตกต่างกัน ได้แก่ ภาพลักษณ์แสดงความรับผิดชอบ และตำแหน่ง ซึ่งแตกต่างกันไปตามบทบาทของ ตนเอง ภาพลักษณ์บุคลิกภาพที่ต้องการสื่อสารความเป็นตัวของตัวเองอย่างชัดเจน และแตกต่าง และ ภาพลักษณ์การแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นความขัดแย้งทางการเมือง ภาพลักษณ์ทางการเมืองที่โดด เด่นของแต่ละท่าน แสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ที่นักการเมืองต้องการนำเสนอสู่ประชาชนให้เป็นที่ รับรู้และจดจำ รวมถึงเพื่อให้ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ทางการสื่อสารที่นักการเมืองตั้งไว้ | en_US |
Appears in Collections: | MASSCOMM: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
621832001 เกรียงไกร บุญมั่ง.pdf | 10.08 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.