Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78934
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นัทธมน วุทธานนท | - |
dc.contributor.advisor | วราวรรณ อุดมความสุข | - |
dc.contributor.author | ศรีสุดา เอี่ยมรักษา | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-10-05T17:42:44Z | - |
dc.date.available | 2023-10-05T17:42:44Z | - |
dc.date.created | 2565 | - |
dc.date.issued | 2565-03 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78934 | - |
dc.description.abstract | People with prostate cancer who have had radical prostatectomy surgery need appropriate self- management behaviors to control the symptoms of the disease and prevent possible complications. Health literacy is an important factor affecting self-management. This correlative descriptive research aimed to explore health literacy, self-management behaviors and the association between health literacy and self-management behaviors in persons with prostate cancer after radical prostatectomy surgery. The 85 participants were the persons with prostate cancer after radical prostatectomy who visited at the urological surgery outpatient unit of Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital and Sawanpracharak Hospital from July to November 2021. Research instruments included a demographic data recording form, a health literacy questionnaire, and a self-management behaviors questionnaire in persons with prostate cancer after radical prostatectomy surgery. Descriptive statistics and Spearman's rank correlation coefficient were used to analyze the data. The results of the study revealed that: 1. The participants had a high level of overall health literacy, with an average score of 42.37 (S.D. = 6.43). When considering each aspect, it was found that functional literacy and interactive literacy were at a high level, with the average scores of 17.05 (S.D. = 2.86) and 15.05 (S.D. = 2.86) respectively, while critical literacy was at a moderate level, with an average score of 10.27 (S.D. = 2.67). 2. The participants had a high level of overall self-management behaviors, with an average score of 82.83 (S.D. = 6.98). When considering each aspect, it was found that medical management, role management and emotional management were at a high level, with the average scores of 62.52 (S.D. = 5.33), 12.08 (S.D. = 1.55) and 8.24 (S.D. = 1.48) respectively. 3. Health literacy had a positive correlation with self-management behaviors in persons with prostate cancer after radical prostatectomy surgery at a moderate level with statistical significance (r=.566,p<.01). The results of this study can be used as guidelines for health literacy enhancement planning for persons with prostate cancer after radical prostatectomy surgery to promote efficient self-management behaviors. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหลังการผ่าตัด | en_US |
dc.title.alternative | Health literacy and self-management behaviors in persons with prostate cancer after surgery | en_US |
dc.type | Thesis | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | ต่อมลูกหมาก -- มะเร็ง | - |
thailis.controlvocab.thash | ต่อมลูกหมาก -- ศัลยกรรม | - |
thailis.controlvocab.thash | การดูแลหลังศัลยกรรม | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้ป่วย -- การดูแล | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากออกจำเป็นต้องมีพฤติกรรมการจัดการ ตนเองที่เหมาะสม เพื่อควบคุมอาการของโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งความรอบรู้ ด้านสุขภาพถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการจัดการตนเอง การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการจัดการตนเอง และความสัมพันธ์ ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากออก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหลังได้รับการผ่าตัดเอา ต่อมลูกหมากออก และมาตรวจตามนัด ณ ห้องตรวจศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2564 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2564 จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการ ตนเองในผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหลังการผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 42.37 (S.D.= 6.43) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับพื้นฐาน และความรอบรู้ ด้านสุขภาพระดับการมีปฏิสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.05 (S.D.= 2.86) และ 15.05 (S.D.= 2.86) ตามลำดับ ส่วนความรอบรู้ค้านสุขภาพระดับการมีวิจารณญาณอยู่ในระดับ ปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.27 (S.D.= 2.67) 2. กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 82.83 (S.D.= 6.98) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า พฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการรักษา ด้าน บทบาท และค้านอารมณ์อยู่ในระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 62.52 (S.D.= 5.33), 12.08 (S.D.=1.55) และ 8.24 (S.D.= 1.48) ตามลำดับ 3. ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ที่เป็น มะเร็งต่อมลูกหมากหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากออกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.566, p<.01) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ที่ เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากออก เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเอง อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
621231076 ศรีสุดา เอี่ยมรักษา.pdf | 2.03 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.