Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78918
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทพร แสนศิริพันธ์-
dc.contributor.advisorจิราวรรณ ดีเหลือ-
dc.contributor.authorนิษฐา คำแสนen_US
dc.date.accessioned2023-10-05T10:29:30Z-
dc.date.available2023-10-05T10:29:30Z-
dc.date.issued2023-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78918-
dc.description.abstractFirst-time fathers are key people caring for their wives and neonates. They are dedicated and do their best to look after their wives’ health and assist their wives in caring for the neonates, especially after work and during the nighttime. However, first-time fathers’ lack of experience and the overwhelming adaptation may contribute to sleep deprivation and alter sleep quality. The purpose of this descriptive correlational study was to describe sleep quality among first-time fathers and to describe the relationship between age, health status, stress, the perception of infant’s communicated behavior, and sleep quality among first-time fathers. The 112 participants were selected according to the inclusion criteria which consisted of first-time fathers aged 18 years old or above who took their wives to the 4-6 week postpartum check-up at the family planning unit of Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital and the family planning unit at Health Promotion Center Region 1 Chiang Mai between September 2022 and April 2023. The research instruments included the Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI), translated into Thai by Tullaya Sitasuwan et al. (2014); the Suanprung Stress Test-20 by Suwat Mahatnirunkul et al. (1997); and the Perception of Infant’s Communicated Behavior by Nuttaya Onpiw et al. (2017). Descriptive statistics, Spearman’s rank correlation coefficient, and point biserial correlation coefficient were used to analyze the data. The results of the study revealed that:1. The participants had a global PSQI score with a mean score of 6.68 (S.D. = 2.69). The group identified poor sleep quality. 2. Most of the participants had a global PSQI score which indicated that 59.83 had poor sleep quality (PSQI > 5) while 40.17 had good sleep quality (PSQI ≤ 5). 3. Stress had a significant positive correlation with poor sleep quality (rs = .334, p < .001), and perception of infant’s communicated behavior had a significant negative correlation with poor sleep quality (rpb = -.231, p < .05). 4. Age and health status were not significantly correlated with sleep quality. The findings from this study can be used as baseline data for planning nursing care to promote sleep quality in first-time fathers.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectอายุ; ภาวะสุขภาพ; ความเครียด; การรับรู้พฤติกรรมการสื่อสารของทารก; คุณภาพการนอนหลับในผู้เป็นบิดาครั้งแรกen_US
dc.subjectage; health status; stress; perception of infant’s communicated behavior; sleep quality among first-time fathersen_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับในผู้เป็นบิดาครั้งแรกen_US
dc.title.alternativeFactors related to sleep quality among first-time fathersen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashความเครียด (จิตวิทยา)-
thailis.controlvocab.thashบิดา -- การนอนหลับ-
thailis.controlvocab.thashการผดุงครรภ์-
thailis.controlvocab.thashความเป็นบิดา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้เป็นบิดาครั้งแรกเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการดูแลภรรยาและบุตร โดยเฉพาะช่วงหลังเลิกงานและช่วงกลางคืน ผู้เป็นบิดาครั้งแรกจะทุ่มเทและพยายามทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถคอยดูแลสุขภาพของภรรยาและช่วยเหลือภรรยาในการดูแลบุตร ทั้งนี้ผู้เป็นบิดาครั้งแรกยังขาดประสบการณ์และต้องปรับตัวอย่างมาก อาจส่งผลต่อการนอนหลับที่ไม่เพียงพอและทำให้คุณภาพการนอนหลับเปลี่ยนแปลงไป การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับในผู้เป็นบิดาครั้งแรก และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ภาวะสุขภาพ ความเครียด การรับรู้พฤติกรรมการสื่อสารของทารกกับคุณภาพการนอนหลับในผู้เป็นบิดาครั้งแรก เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด ได้แก่ ผู้เป็นบิดาครั้งแรก อายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่พาภรรยามาตรวจหลังคลอด 4-6 สัปดาห์ ณ หน่วยวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และหน่วยวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ จำนวน 112 ราย ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของพิตส์เบิร์ก (Pittsburgh Sleep Quality Index [PSQI]) ฉบับแปลเป็นภาษาไทยโดย ตุลยา สีตสุวรรณ และคณะ (2014) แบบทดสอบความเครียดสวนปรุง 20 ข้อ ของสุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ (2540) และแบบสอบถามการรับรู้พฤติกรรมการสื่อสารของทารกในผู้เป็นบิดา ของณัฏยา อ่อนผิว และคณะ (2560) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล ผลของการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนรวมคุณภาพการนอนหลับเท่ากับ 6.68 (S.D. = 2.69) จัดอยู่ในกลุ่มคุณภาพการนอนหลับไม่ดี 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี (PSQI > 5) ร้อยละ 59.83 และมีคุณภาพการนอนหลับดี (PSQI ≤ 5) ร้อยละ 40.17 3. ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพการนอนหลับไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = .334, p < .001) และการรับรู้พฤติกรรมการสื่อสารของทารกมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพการนอนหลับไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = -.231, p < .05) 4. อายุ และภาวะสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับ ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวางแผนการพยาบาล เพื่อส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับในผู้เป็นบิดาครั้งแรกen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641231052 นิษฐา คำแสน.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.