Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78866
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิวพร อึ้งวัฒนา-
dc.contributor.advisorวิลาวัณย์ เตือนราษฎร์-
dc.contributor.authorชนัญชิดา ขัดกันทะen_US
dc.date.accessioned2023-09-14T01:14:01Z-
dc.date.available2023-09-14T01:14:01Z-
dc.date.issued2566-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78866-
dc.description.abstractThis quasi-experimental study used a two-group pretest-posttest design to compare mean pretest and posttest scores for vegetarian cuisine consumption practices of an experimental group receiving a bilingual multimedia innovation, and to compare the differences between the mean scores for vegetarian cuisine consumption between an experimental group and a control group over a 4-week period. The sample included 40 Karen people at risk of hypertension living in Bann Phra Bat Huai Tom, Lee district, Lamphun province, with 20 persons in the control group and 20 persons in the experimental group. The study was conducted during May to June 2023. The research instrument was a bilingual multimedia innovation about the practice of vegetarian cuisine consumption for Karen people at risk of hypertension developed by the researcher from a concept about the development of product innovation, and consisted of a bilingual education handbook (Thai-Karen language), a voice clip in Karen language, bilingual still image media (Thai-Karen language), and a questionnaire on the practice of vegetarian cuisine consumption. The content validity index was 0.9, and the Cronbach’s alpha coefficient of the questionnaire was 0.81. Descriptive statistics were used for data analysis and included paired t-test and independent t-test. The study results indicated that, for the experimental group, the mean posttest score (x ̅= 71.25, S.D. = 8.95) was higher than the mean pretest score (x ̅= 57.23, S.D. = 6.87), and higher than that of the control group (x ̅= 60.0, S.D. = 9.12) with statistical significance p < .001 and p < = .030 respectively Based on the study, it can be seen that the learning innovation on vegetarian cuisine consumption through bilingual multimedia could help Karen people at risk of hypertension, leading to practices in accordance with community principles and their way of life.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectนวัตกรรมชุดสื่อประสมen_US
dc.subjectการบริโภคอาหารมังสวิรัติen_US
dc.subjectกะเหรี่ยงกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.titleผลของนวัตกรรมชุดสื่อประสมการเรียนรู้สองภาษาในการปฏิบัติ บริโภคอาหารมังสวิรัติของชาวกะเหรี่ยงกลุ่มเสี่ยงโรคความดัน โลหิตสูงบ้านพระบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeEffect of bilingual learning multimedia innovation package on vegetarian dietary practices among Karen at risk of hypertension in Bann Phra Bat Huai Tom, Lamphun provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashอาหารมังสวิรัติ-
thailis.controlvocab.thashกะเหรี่ยง -- โภชนาการ -- ลำพูน-
thailis.controlvocab.thashความดันโลหิตสูง -- ผู้ป่วย -- ลำพูน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) ชนิดสองกลุ่มวัดก่อนหลังการทดลอง (two group pretest-posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการบริโภคอาหารมังสวิรัติของกลุ่มทดลองที่ได้รับนวัตกรรมชุดสื่อประสมสองภาษา ก่อนและหลังการทดลองและเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการบริโภคอาหารมังสวิรัติของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงชุมชนกะเหรี่ยงระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างคือชาวกะเหรี่ยงกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 20 ราย และกลุ่มทดลอง จำนวน 20 ราย ระหว่างเดือนพฤษภาคม จนถึง เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2566 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย นวัตกรรมชุดสื่อประสมการเรียนรู้สองภาษาในการปฏิบัติการบริโภคอาหารสำหรับชาวกะเหรี่ยงกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย คู่มือการเรียนรู้สองภาษา (ไทย-กะเหรี่ยง) คลิปเสียงภาษากะเหรี่ยง และ สื่อภาพนิ่งสองภาษา (ไทย-กะเหรี่ยง) และ แบบสอบถามการปฏิบัติการบริโภคอาหารมังสวิรัติ ได้ดัชนีความตรงของเนื้อหา (content validity index) เท่ากับ 0.9 และค่าความเชื่อมั่นการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา paired และ independence t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลอง (x ̅=71.25, S.D.=8.95) สูงกว่าก่อนการทดลอง (x ̅=57.23, S.D.=6.87) และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (x ̅=60.00, S.D.=9.12) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .001 และ p = .030 ตามลำดับ จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่านวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านชุดสื่อประสมการเรียนรู้สองภาษาเรื่องการบริโภคอาหารมังสวิรัติสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง สามารถช่วยให้ชาวกะเหรี่ยงกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีการปฏิบัติการบริโภคอาหารมังสวิรัติเกิดการเรียนรู้นำไปสู่การปฏิบัติต่อการบริโภคอาหารมังสวิรัติตามหลักการและวิถีชุมชนได้en_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641231009-ชนัญชิดา ขัดกันทะ watermark.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.