Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78856
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภัทราภรณ์ ภทรสกุล-
dc.contributor.advisorหรรษา เศรษฐบุปผา-
dc.contributor.authorรวินันท์ ใจเงินen_US
dc.date.accessioned2023-09-13T00:57:59Z-
dc.date.available2023-09-13T00:57:59Z-
dc.date.issued2566-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78856-
dc.description.abstractAuditory hallucination is the most common symptom among schizophrenic patients. If they cannot manage the hallucination, they may suffer and have behavior that harms themselves and others. This operational study aimed to investigate the effectiveness of implementing clinical practice guidelines (CPGs) for schizophrenic patients with auditory hallucination at Suanprung Psychiatric Hospital, Chiang Mai province. The sample included 1) 22 schizophrenic patients who received treatment during April to May 2022, 2) 12 health care personnel who used the Clinical Practice Guidelines for Nursing Care of Schizophrenic Patients with Auditory Hallucination, Inpatient Department, and 3) 22 caregivers of patients with schizophrenia. The study tools included 1) the Clinical Practice Guidelines for Nursing Care of Schizophrenic Patients with Auditory Hallucination; 2) the clinical outcomes assessment including the incidence rate of severe aggressive behavior of schizophrenic patients against themselves and others, assessment of the level of suffering from auditory hallucination of schizophrenic patients, the number of schizophrenic patients with auditory hallucination re-admitted to the hospital; and 3) the process outcome assessment including the assessment of the satisfaction of health care personnel who used the Clinical Practice Guidelines for Nursing Care of Schizophrenic Patients with Auditory Hallucination, and the assessment of the satisfaction of schizophrenic patients with auditory hallucination who received Clinical Practice Guidelines for Nursing Care of Schizophrenic Patients with Auditory Hallucination, as well as the assessment of the satisfaction of caregivers of schizophrenic patients with auditory hallucination who received Clinical Practice Guidelines for Nursing Care of Schizophrenic Patients with Auditory Hallucination. Data were analyzed using descriptive statistics. The results showed that: After implementing CPGs 1. The incidence rate of severe aggressive behavior of schizophrenic patients against themselves and others was zero. 2. In 86.36% of schizophrenic patients, the level of suffering from auditory hallucination decreased while for the remaining 13.64%, there was no change. 3. The number of schizophrenic patients with auditory hallucination re-admitted to the hospital within 28 days was zero. 4. The satisfaction of health care personnel who used the Clinical Practice Guidelines for Nursing Care of Schizophrenic Patients with Auditory Hallucination, were at a high level (100%). 5. The satisfaction of schizophrenic patients with auditory hallucination who received the Clinical Practice Guidelines for Nursing Care of Schizophrenic Patients with Auditory Hallucination, were at a high level (100%). 6. The satisfaction of caregivers of schizophrenic patients with auditory hallucination who received the Clinical Practice Guidelines for Nursing Care of Schizophrenic Patients with Auditory Hallucination were at a high level (77.27%) and a moderate level (22.73%). The results showed that the Clinical Practice Guidelines for Nursing Care of Schizophrenic Patients with Auditory Hallucination were effective for reducing suffering from auditory hallucination and reducing the incidence rate of severe aggressive behavior of schizophrenic patients against themselves and others. Therefore, these CPGs should be used to care for persons with schizophrenia in routine work.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectผู้ป่วยจิตเภท หูแว่ว แนวปฏิบัติทางคลินิก หลักฐานเชิงประจักษ์ การจัดการอาการหูแว่วen_US
dc.subjectSchizophrenic patient, Auditory Hallucination, Clinical Practice Guideline, Evidence, Auditory hallucination Managementen_US
dc.titleประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่ว แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeEffectiveness of implementing clinical practice guidelines for nursing care of Schizophrenic Patients with Auditory Hallucination, Inpatient Department, Suan Prung Psychiatric Hospital, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashประสาทหลอนทางหู-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วยจิตเภท-
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาลสวนปรุง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractหูแว่วเป็นอาการประสาทหลอนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยจิตเภท ถ้าหากไม่สามารถจัดการกับอาการหูแว่วได้จะก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานและแสดงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่ว แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่วที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลในช่วงเดือนเมษายน–พฤษภาคม 2565 จำนวน 22 ราย 2) เจ้าหน้าที่ผู้ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่วแผนกผู้ป่วยใน จำนวน 12 ราย 3) ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่วที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน จำนวน 22 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่วโรงพยาบาลสวนปรุง เชียงใหม่ 2) แบบประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกได้แก่ อุบัติการณ์พฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าวทั้งต่อตนเองและผู้อื่นของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่ว แบบประเมินความรู้สึกทุกข์ทรมานจากอาการหูแว่ว แบบบันทึกข้อมูลการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ 3) แบบประเมินผลลัพธ์ด้านกระบวนการ ได้แก่ แบบวัดความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก แบบวัดความพึงพอใจสำหรับผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่ว แบบวัดความพึงพอใจสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่วหลังได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1. อุบัติการณ์พฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าวทั้งต่อตนเองและผู้อื่นของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่วหลังใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่ว คิดเป็นร้อยละ 0 2. ระดับความรู้สึกทุกข์ทรมานจากอาการหูแว่วในผู้ป่วยจิตเภทหลังการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกมีระดับความทุกข์ทรมานลดลง คิดเป็นร้อยละ 86.36 และระดับความทุกข์ทรมานเท่าเดิม คิดเป็นร้อยละ 13.64 3. จำนวนการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่ว ภายใน 28 วัน พบว่าไม่มีผู้ป่วยกลับมาเป็นซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน 4. ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการ หูแว่ว มีระดับความพึงพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 100 5. ความพึงพอใจของผู้ป่วยจิตเภทที่มีหูแว่วที่ได้รับการดูแล โดยการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่ว มีระดับความพึงพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 100 6. ความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการดูแลโดยการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่ว มีระดับความพึงพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 77.27 และระดับความพึงพอใจปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 22.73 จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่ว แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ มีประสิทธิผลที่สามารถลดความทุกข์ทรมานและลดอุบัติการณ์พฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าวทั้งต่อตนเองและผู้อื่นของผู้ป่วยจิตเภทได้ ดังนั้น ควรจะมีการนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่วในงานประจำต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601231077 รวินันท์ ใจเงิน watermark17072566.pdfIndependent study2.02 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.