Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78689
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนม กุณาวงค์-
dc.contributor.authorประกายเพชร ปัญโญen_US
dc.date.accessioned2023-08-23T01:01:09Z-
dc.date.available2023-08-23T01:01:09Z-
dc.date.issued2023-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78689-
dc.description.abstractThe study “The Assessment of Academic Positioning Processes of Chiang Mai University” aimed to 1) investigate the problems and obstacles of the academic positioning processes of Chiang Mai University, and 2) examine guidelines for supporting the academic positioning processes of Chiang Mai University. In terms of data collection methods for this qualitative study, the work processes were reviewed and in-depth interviews were conducted. The study included 16 participants from 4 groups consisting of 6 faculty members, 6 department-level officials, 2 strategic planning administrators, and 2 university-level officials. Also, content analysis was employed to analyze the related literature and the data from the academic positioning processes and the interviews. The data revealed that 1. problems and obstacles in the process of applying for academic positions were that the applicants for academic positions lacked understanding of the process of applying for positions, such as preparing documents for application, academic work for the submission, a lack of understanding of the rules and regulations used for applying for academic positions, etc. 2. the data also suggested guidelines for promoting and improving the application processes in accordance with the university's management guidelines consisting of 5 approaches as follows: (1) understanding among faculty members about applying for positions in terms of criteria for applying for positions and career advancement should be created by organizing workshops to generate understanding at the university and department level including creating a network for collaboration between departments to find useful ways, (2) motivation and support for academic positioning in producing academic work, and promote the process of academic positioning should be provided so that the academic work would benefit the academic community and the number of works published in leading journals having high citation as an indicator of the academic potential of the university, (3) the direction of academic work of faculty members should be clear or have a variety of fields of study by taking into account the broad benefits and review work processes so that faculty members could rapidly grow academically including personnel development process to create high performance workforce, (4) the University must establish a central process in order to share the same standards by revising the academic positioning standards, and (5) the University must review the work process and determine the scope of the process for the academic positioning to be fast and efficient Including being an organization that consists of modern knowledge and modifying the working style to be more flexible. In addition, the support process for efficient work processes can be divided into 7 approaches, including (1) Applicants for academic positions should be informed of the procedures, paperwork, and academic work to be submitted for academic positioning. (2) Standardized criteria used for the selection of qualified reviewers should be considered. (3) Department staff should be trained, by the central unit with help and support, to have the knowledge and abilities to help make the process of applying for academic positions more efficient. (4) Academic positioning system should be updated according to actual progress and the academic positioning application system should be improved to show clear operation process details. (5) A system that can allow the reviewers to assess the academic work in an online format should be created. (6) Each department should create more incentives and provide more support for academic positioning for faculty members. (7) There should be standards for academic positioning, and the standards should be reviewed and revised to be clearer.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectตำแหน่งทางวิชาการen_US
dc.titleการประเมินกระบวนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeThe Assessment of academic positioning processes of Chiang Mai Universityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashข้าราชการ -- การเลื่อนขั้น-
thailis.controlvocab.thashการเลื่อนตำแหน่ง -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -- การเลื่อนขั้น-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาการประเมินกระบวนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมกระบวนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากการทบทวนกระบวนการทำงาน และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 4 กลุ่ม จำนวน 16 คน ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการ เจ้าหน้าที่ระดับส่วนงาน ผู้บริหารด้านยุทธศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ระดับมหาวิทยาลัย ผู้วิจัยเลือกใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และการเก็บข้อมูลจากการทบทวนกระบวนการทำงาน ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ คือ ผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการขาดความเข้าใจในกระบวนการขอกำหนดตำแหน่ง เช่น การจัดเตรียมเอกสารสำหรับการเสนอขอ ผลงานทางวิชาการที่ใช้เสนอขอ ความไม่เข้าใจกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่ใช้สำหรับการขอกำหนดตำแหน่ง เป็นต้น 2. แนวทางการส่งเสริมเพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารงานของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย 5 แนวทาง ดังนี้ (1) สร้างความเข้าใจให้กับคณาจารย์เกี่ยวกับการขอกำหนดตำแหน่งทั้งในด้านเกณฑ์การขอตำแหน่ง และความก้าวหน้าในสายอาชีพ โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจในระดับมหาวิทยาลัยและส่วนงาน รวมถึงการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนงานเพื่อหาแนวทางที่เป็นประโยชน์ (2) สร้างแรงจูงใจและการสนับสนุนที่ดีในการขอตำแหน่งทางวิชาการในด้านการทำผลงานทางวิชาการ และการส่งเสริมด้านกระบวนการขอกำหนดตำแหน่ง โดยผลงานทางวิชาการจะเกิดประโยชน์ต่อ วงวิชาการ และจำนวนผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำ การได้รับการอ้างอิงจะเป็นตัวชี้วัดที่แสดงศักยภาพทางด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย (3) กำหนดทิศทางการจัดทำผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ให้มีความชัดเจนหรือมีความหลายหลายทางสาขาวิชา โดยคำนึงถึงการก่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง และทบทวนกระบวนการทำงานเพื่อให้คณาจารย์สามารถเติบโตทางสายวิชาการได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงกระบวนการพัฒนาบุคคลากรให้เกิด High performance workforce (4) มหาวิทยาลัยจะต้องกำหนดกระบวนการกลางเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยทบทวนมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งให้ชัดเจน (5) มหาวิทยาลัยจะต้องทบทวนกระบวนการทำงาน และกำหนดขอบเขตขั้นตอนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเป็นองค์กรที่ประกอบด้วยองค์ความรู้ที่ทันสมัย และปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้มีความคล่องตัวมากขึ้น นอกจากนี้ กระบวนการสนับสนุนให้เกิดกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพได้เป็น 7 แนวทาง ได้แก่ (1) ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการควรได้รับทราบขั้นตอน และวิธีการขอกำหนดตำแหน่งที่ชัดเจน รวมถึงเอกสาร และผลงานทางวิชาการที่นำมาใช้ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (2) พิจารณาการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิอย่างมีมาตรฐานมากขึ้น (3) เจ้าหน้าที่ส่วนงานควรได้รับการฝึกอบรม โดยมีส่วนกลางให้การช่วยเหลือและสนับสนุน เพื่อให้มีความรู้ความสามารถที่จะช่วยทำให้กระบวนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (4) ระบบการขอกำหนดตำแหน่ง ควรได้รับการปรับความก้าวหน้าให้เป็นปัจจุบันตามความก้าวหน้าจริงและปรับปรุงระบบการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการให้มีการแสดงรายละเอียดผลการดำเนินงานที่ชัดเจน (5) พัฒนาให้เกิดระบบที่สามารถให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานทางวิชาการในรูปแบบออนไลน์ (6) แต่ละส่วนงานสร้างแรงจูงใจและให้การสนับสนุนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการให้คณาจารย์มากขึ้น และ (7) ควรมีแนวทางการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการให้เป็นมาตรฐาน และทบทวนกำหนดมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการให้ชัดเจนen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641932031-ประกายเพชร ปัญโญ.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.