Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78674
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรวีวรรณ แพทย์สมาน-
dc.contributor.authorศรัญญา อุปรีทีen_US
dc.date.accessioned2023-08-21T01:20:37Z-
dc.date.available2023-08-21T01:20:37Z-
dc.date.issued2023-05-15-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78674-
dc.description.abstractThe research “The Solution of Trespassing on Ratchaphatsadu Land at Tambon Khilek, Mae Taeng District, Chiang Mai Province” aimed to 1. study ways to solve the problems of trespassing on ratchaphatsadu land (or state properties) at Tambon Khilek, Mae Taeng District, Chiang Mai Province, and 2. examine the effectiveness in resolving the trespassing problems on ratchaphatsadu land at Tambon Khilek, Mae Taeng District, Chiang Mai Province. The interviews were used to collect the data. There were 13 key participants, including the Chiang Mai Treasury Office officials, the director of Database Management Division, the director of State Property Management, the superintendent of Border Patrol Police 33, community leaders, citizens who agreed and did not agree to participate in the "Pracharat Treasury" project. From the study of the solution of trespassing on ratchaphatsadu land, it was found that in the condition of land demanded to be used as a place to live, make a living, and carry out more activities due to the growth of society and the economy of the country caused the problem of trespassing on ratchaphatsadu land. This affected the administration, supervision, and management of state assets. Therefore, the Treasury Department, which is a state agency under the Ministry of Finance, tried to solve the problems of trespassing on ratchaphatsadu land by initiating the Pracharat Treasury project. Moreover, the study found that there were two ways to solve the trespassing on ratchaphatsadu land problem. Firstly, the Pracharat Treasury project was launched to guarantee the right to use the ratchaphatsadu land by renting it out for housing and making a living. This created stability in housing and land, increased the quality of life of the people, responded to the property management policy of the country, and reduced social inequality. Secondly, the Treasury Office in Chiang Mai area had conducted a survey to map the owners of the ratchaphatsadu land who did not dispute the ownership and occupied the land before October 4, 2003. The Office also managed the division of authorities and duties to the operating officers to investigate the leasehold right of the owner of the ratchaphatsadu land which the village leaders had certified the ratchapatsadu land possession right before October 4, 2003. In addition, the Office held a clarification meeting with the ratchaphatsadu land invaders to create an understanding about laws and penalties related to the ratchaphatsadu land laws and gave advice about benefits from the state. In terms of the effectiveness of resolving trespassing on ratchaphatsadu land problems, it was found that in the 2022 fiscal year, there were 61 ratchpatsadu land invaders agreed to participate in the project from the target of 50 invaders. Under the budget allocated by the Treasury Department, this could be regarded as a complete systematic operation that could respond to the needs of the ratchaphatsadu land invaders who received the right to live and make a living on the land. The government sector could also better solve the problems of trespassing on ratchaphatsadu land.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการบุกรุก - - แม่แตง (เชียงใหม่)en_US
dc.subjectราชพัสดุ - - แม่แตง (เชียงใหม่)en_US
dc.titleแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeThe solution of trespassing on Ratchaphatsadu Land at Tambon Khilek, Mae Taeng District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยเรื่อง แนวทางในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ พื้นที่ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1.เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2.เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ ผู้อำนวยการส่วนจัดการฐานข้อมูล ผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ราชพัสดุ ผู้กำกับตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 ผู้นำชุมชน ราษฎรที่ยินยอมและที่ไม่ยินยอมเข้าร่วมโครงการ “ธนารักษ์ประชารัฐ” จำนวน 13 ราย จากการศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ พบว่า ในสภาวะความต้องการที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และเพื่อดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากความเจริญเติบโตของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ก่อให้เกิดปัญหาการบุกรุกเข้าครอบครองที่ดินของรัฐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการปกครอง ดูแล และการบริหารทรัพย์สินของรัฐ กรมธนารักษ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐ สังกัดกระทรวงการคลัง จึงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ ภายใต้โครงการ “ธนารักษ์ประชารัฐ” ผลการศึกษาพบว่า มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบุกรุก ที่ราชพัสดุ 2 ประการ ประการแรก จัดทำโครงการ “ธนารักษ์ประชารัฐ” เพื่อรับรองสิทธิในการเข้าใช้ที่ราชพัสดุโดยการจัดให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยและทำกิน อันเป็นการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยและ ที่ทำกิน เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน และสนองนโยบายการบริหารทรัพย์สินของประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ประการที่สอง สำนักงานธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ได้ดำเนินการสำรวจรังวัดจัดทำแผนที่ผู้ครอบครองที่ราชพัสดุที่ไม่โต้แย้งกรรมสิทธิ์ ซึ่งครอบครองอยู่ก่อนวันที่ 4 ตุลาคม 2546 และบริหารจัดการแบ่งอำนาจ หน้าที่ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการสอบสวนสิทธิการเช่าผู้ครอบครองที่ราชพัสดุโดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับรองสิทธิการครอบครองที่ราชพัสดุมาก่อนวันที่ 4 ตุลาคม 2546 พร้อมทั้งได้จัดประชุมชี้แจงกับผู้บุกรุกที่ราชพัสดุเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในข้อกฎหมายและบทลงโทษเกี่ยวกับกฎหมายที่ราชพัสดุ และได้ให้ข้อแนะนำและสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากรัฐ และสำหรับประสิทธิผลของการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ พบว่า ในปีงบประมาณ 2565 เป้าหมายผู้บุกรุกที่ยินยอมเข้าร่วมโครงการธนารักษ์ประชารัฐ จำนวน 50 ราย ซึ่งผลการดำเนินงาน จำนวน 61 ราย เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ภายใต้งบประมาณที่กรมธนารักษ์จัดสรรให้ ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการเชิงระบบที่มีความสมบูรณ์ ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บุกรุกที่ราชพัสดุที่ได้รับสิทธิในการมีที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน และในส่วนของภาครัฐสามารถแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุได้เพิ่มมากขึ้นen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641932041ศรัญญา อุปรีที.pdf888.98 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.