Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78658
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกิจ กันจินะ-
dc.contributor.advisorรุจ ศิริสัญลักษณ์-
dc.contributor.advisorพิมพ์ใจ สีหะนาม-
dc.contributor.authorวรางคณา ติ๊บโปธาen_US
dc.date.accessioned2023-08-19T08:25:27Z-
dc.date.available2023-08-19T08:25:27Z-
dc.date.issued2023-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78658-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to 1) study farmers' onion production management in Fang district, Chiang Mai province, and 2) analyze factors relating to this management, problems, needs and suggestions regarding production management. A structured interview was used to collect data from a sample group of 188 farmers who were members of the Fang District Onion Growers Cooperative (FOC) between February and May 2022. Descriptive statistics including frequency, percentage, mean, maximum- minimum, and standard deviation. Multiple regression analysis was also performed to identify factors influencing the farmers’ onion production management in Fang District, Chiang Mai Province. The results reveal that most farmers were male, with an average age of 53.09 years, and finished primary school. On average, they had 19.96 years of onion cultivation experience, and an income of 99,930.85 baht/ years from onion. The farmers had an average of 5.36 rai of planting areas, and most of them used their funds and loan for opinion production. Approximately half of the farmers had only one distribution channel. They also had about two sources of agricultural information on average. In 2021, the farmers attended virtually no training and made almost no contact with relevant officers for assistance with onion production. Regarding onion production management, it was found that the farmers were at a moderate management level (X ̅ = 1.97). From an analysis of factors affecting onion production management, knowledge of onion production management and onion planting areas were found to be positively significant (P < 0.01 and P < 0.05, respectively). A main problem faced by the farmers in producing onion was marketing, especially low price. This was because the price was highly fluctuated, thus, the farmers could not timely adjust themselves and marketing plans. In addition, there were only few middlemen to buy onions. As such, they could lower the price. An onion production problem caused by climate variability led to diseases and consequently onions with low quality and quantity. As production costs for onions increased, the farmers had to make more loans to invest in onion production. When onion price decreased, the farmers experienced the loss and needed to make even more loans. To support onion farmers, relevant public agencies should continually provide knowledge about onion production, both production planning and marketing, to the farmers. They should also dispatch officers to visit the farmers regularly, so that the farmers could ask for information on onion production. FOC should gather onions, and act as an intermediary between the farmers and middlemen. This action would increase the farmers’ negotiation power. In addition, FOC and relevant public agencies should provide production inputs, and training on their efficient use to farmers. For policy recommendations, the government should intensify the prevention and suppression of illegal onion imports. Relevant public agencies such as Department of Agriculture should also conduct research on onion breeding for climate change resistance, so that the farmers could produce onion with quality, and also reduce onion damages.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ของเกษตรกร ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeOnion production management of farmers in Fang district, Chiang Mai provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashหอมหัวใหญ่ -- การผลิต -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashหอมหัวใหญ่ -- การตลาด -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ฝาง จำกัด อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ของเกษตรกร รวมถึงปัญหา ความต้องการและข้อเสนอแนะในการจัดการการผลิต ใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (structured interview) ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง สมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ฝาง จำกัด 188 คน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าสูงสุด (maximum) ค่าต่ำสุด (minimum) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และวิเคราะห์ถดถอยพหุ (multiple regression analysis) เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ของเกษตรกร จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 53.09 ปี และมีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา โดยเกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกหอมหัวใหญ่เฉลี่ย 19.96 ปี และมีรายได้จากการปลูกหอมหัวใหญ่เฉลี่ย 99,930.85 บาท/ปี มีพื้นที่ปลูกหอมหัวใหญ่เฉลี่ย 5.36 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เงินทุนของตนเองและการกู้ยืมเงินเพื่อการผลิตหอมหัวใหญ่ เกษตรกรประมาณครึ่งหนึ่งมีแหล่งจำหน่ายหอมหัวใหญ่เพียงแหล่งเดียวและได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรจาก 2 ช่องทาง โดยเฉลี่ย ในปี พ.ศ. 2564 พบว่า เกษตรกรแทบไม่ได้รับการอบรม และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือในด้านการผลิตหอมหัวใหญ่ ในส่วนของการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ พบว่า เกษตรกรมีระดับการจัดการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅= 1.97) จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ พบว่า ความรู้ในด้านการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่และ พื้นที่ที่ใช้ในการปลูกหอมหัวใหญ่มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ปัญหาสำคัญของเกษตรกรในการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ คือ ปัญหาด้านการตลาด โดยเฉพาะปัญหาราคาหอมหัวใหญ่ตกต่ำ เนื่องจากตลาดมีการเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างรวดเร็ว ทำให้เกษตรกรปรับตัวและปรับเปลี่ยนแผนการตลาดได้ทัน นอกจากนี้พ่อค้าคนกลางที่เข้ามารับซื้อผลผลิตมีจำนวนน้อย ทำให้สามารถกดราคาผลผลิตของเกษตรกรได้ ปัญหาด้านการผลิตหอมหัวใหญ่ที่สืบเนื่องมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้หอมหัวใหญ่เกิดโรค ส่งผลให้ผลผลิตหอมหัวใหญ่ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ และปัญหาด้านเงินทุน เนื่องจากต้นทุนในการผลิตหอมหัวใหญ่ที่สูงขึ้น ทำให้เกษตรกรต้องมีการกู้ยืมเงินเพื่อมาลงทุนในการผลิตหอมหัวใหญ่ และเมื่อผลิตหอมหัวใหญ่มีราคาตกต่ำทำให้เกิดการขาดทุน และจำเป็นต้องกู้ยืมเงินเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการผลิตหอมหัวใหญ่ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการวางแผนการผลิตและการตลาด และควรส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปพบปะเยี่ยมเยียนเกษตรกรเป็นประจำ เพื่อให้เกษตรกรสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตหอมหัวใหญ่ได้ ในส่วนของสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ฝาง จำกัด ควรเข้าไปให้ความช่วยเหลือในด้านการรวบรวมหอมหัวใหญ่ และเป็นคนกลางในการจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลาง เพื่อให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรองราคามากขึ้น นอกจากนี้สหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ฝาง จำกัด และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ควรให้การสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกร และให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รัฐบาลควรมีการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าหอมหัวใหญ่ที่เข้มงวดมากขึ้น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมวิชาการเกษตร ควรมีการศึกษาวิจัยปรับปรุงพันธุ์หอมหัวใหญ่ให้แข็งแรงและทนทานต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตหอมหัวใหญ่ที่มีคุณภาพและลดความเสียหายของผลผลิตen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620831052 วรางคณา ติ๊บโปธา.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.