Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78579
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิวพร อึ้งวัฒนา | - |
dc.contributor.advisor | วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์ | - |
dc.contributor.author | เกษศิรินทร์ พุทธวงศ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-25T01:18:57Z | - |
dc.date.available | 2023-07-25T01:18:57Z | - |
dc.date.issued | 2022-02 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78579 | - |
dc.description.abstract | This quasi-experimental research aims to compare the average knowledge scores and sodium consumption behavior among persons with uncontrolled hypertension between groups before and after participation in a program, and groups that received normal hospital service. The sample group of 54 hypertension uncontrolled people is comprised of a controlling group of 27 people and an experimental group of 27 people. The tools consisted of an eight-week capacity building program for village health volunteers. The program was developed from concept of competency theory by David C. McClelland which includes 5 component: 1) Knowledge 2) Skills 3) social Role 4) self-Image and 5) Motives for effects to knowledge and sodium consumption behaviors. Data were collected via three instruments: a demographic data questionnaire, a sodium knowledge (IOC = 0.80) with a reliance value of 0.87 and sodium consumption behavior questionnaire (CVI = 0.80) with a reliance value of 0.78. The data was then analyzed using Wilcoxon for the dependent sample and the Mann Whitney U test for the independent sample. The result has shown that after program, the experimental group displayed significantly higher than average scores for sodium knowledge than before participating in the program (P = .001), and more than that of the controlling group (P = .001). Sodium consumption behaviors than before participating in the program (P = .001), and more than that of the controlling group (P = .001) The outcome suggests that capacity building program for village health volunteers programs are recommended for educate in the sodium knowledge and consumption behavior of uncontrolled hypertension people. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ | en_US |
dc.title.alternative | Effects of the capacity building program for village health volunteers on knowledge and sodium consumption behaviors among persons with uncontrolled hypertension | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | อาสาสมัครสาธารณสุข | - |
thailis.controlvocab.thash | โซเดียม | - |
thailis.controlvocab.thash | ความดันโลหิตสูง- -ผู้ป่วย | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasir-experimental Design) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ก่อนและหลังเข้ารับโปรแกรม และระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกับกลุ่มที่ได้รับบริการปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ จำนวน 54 ราย โดยแบ่งป็นกลุ่มทดลอง 27 ราย และกลุ่มควบคุม 27 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน โดยใช้กรอบแนวคิดการเพิ่มสมรรถนะของ David C. MeClelland มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้ 2) ทักษะ 3) บทบาททางสังคม 4) การสร้างภาพพจน์หรือมโนทัศน์เกี่ยวกับตัวเอง และ 5) การสร้างแรงจูงใจ โดยใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ในการส่งผลให้เกิดความรู้ และพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามความรู้การบริโภคโซเดียม หาความตรงตามเนื้อหาโดยหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.80 และค่าความเชื่อมั่นวิเคราะห์สัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค (Conbarch's alpha coefficient) เท่ากับ 0.87 แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมหาค่าดัชนีความตรงของเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 0.80 และหาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธี Test-retest คำนวณสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สันได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.78 ผลวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้การบริโภคโซเดียมของกลุ่มทดลองภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สูงกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.001) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมของกลุ่มทดลอง ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสูงกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.001) ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการถ่ายทอดความรู้แก่กลุ่มผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ให้มีพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมที่เหมาะสม | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
621231104 เกษศิรินทร์ พุทธวงศ์.pdf | 1.88 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.