Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78567
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมบัติ สกุลพรรณ์ | - |
dc.contributor.advisor | ภัทราภรณ์ ภทรสกุล | - |
dc.contributor.author | อติพร สิทธิมงคล | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-24T00:38:56Z | - |
dc.date.available | 2023-07-24T00:38:56Z | - |
dc.date.issued | 2023-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78567 | - |
dc.description.abstract | Village Health Volunteers (VHVs) are valuable human resources for the development of public health work in the community. Good mental health is important for VHVs and is related to two key factors: having a low level of psychological distress and having good mental health literacy. This will encourage their ability to take care of their mental health, look for mental health problems in both themselves and others, and pass the information on to public health personnel for preventing mental health problems of people in the community. This correlational descriptive study aimed to study mental health literacy and psychological distress and to examine the relationship between mental health literacy and psychological distress among VHVs. The sample consisted of male and female VHVs, aged 18 years and over, residing in the Northeast of Thailand and four health zones consisting of health zones 7-10 with 384 participants selected based on the predetermined inclusion criteria. The data collection tools included 1) a General Information Questionnaire for VHVs, 2) a Mental Health Literacy Questionnaire for VHVs, and 3) the Psychological Distress Scales for VHVs. Descriptive statistics and Spearman’s coefficient were used for data analysis. The findings revealed that: 1. The village health volunteers had overall mental health literacy scores at high, moderate, and low levels, representing 45.83%, 41.67%, and 7.55%, respectively. When considering each aspect, it was found that there were two aspects for which most of the samples had a high average score of mental health literacy: aspect 3 (knowledge and beliefs about self-care methods), representing 45.83%, and aspect 5 (knowledge and competency of mental health and psychiatric information search methods), representing 41.15%. The sample group had mean scores of mental health literacy at a moderate level for aspect 2 (knowledge and beliefs about risk factors and causes of psychiatric illness), representing 51.04%. 2. The village health volunteers had psychological distress scores at the low, medium, high, and highest levels representing 41.15%, 40.88%, 13.54%, and 4.43%, respectively. 3. Mental health literacy had a low negative correlation with psychological distress among village health volunteers, at the statistical significance of .05 (r = -.145). The results of this research can be used as fundamental information for healthcare professionals to develop village health volunteers' potential in their responsible areas, in terms of developing mental health literacy and training for psychological distress management among village health volunteers. This will encourage them to be able to take care of themselves and people with mental health and psychiatric problems in the community. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ความรอบรู้ทางสุขภาพจิตและภาวะกดดันด้านจิตใจในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน | en_US |
dc.title.alternative | Mental health literacy and psychological distress among village health volunteers | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | อาสาสมัครสาธารณสุข | - |
thailis.controlvocab.thash | อาสาสมัครสาธารณสุข -- สุขภาพจิต | - |
thailis.controlvocab.thash | ความเครียด (จิตวิทยา) | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อการพัฒนางานสาธารณสุขในชุมชน การมีสุขภาพจิตที่ดีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ อสม. โดยการมีสุขภาพจิตที่ดีเกี่ยวข้องกับสองปัจจัยสำคัญคือการมีภาวะกดดันด้านจิตใจในระดับที่ต่ำและการมีความรอบรู้ทางสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งจะช่วยให้ อสม. สามารถดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ค้นหาปัญหาสุขภาพจิตของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งสามารถส่งต่อข้อมูลแก่บุคลากรทางด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของ คนในชุมชนได้ การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ทางสุขภาพจิต ภาวะกดดันด้านจิตใจ และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพจิตและภาวะกดดันด้านจิตใจของ อสม. กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 4 เขตสุขภาพ ประกอบด้วย เขตสุขภาพที่ 7 ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 8 ได้แก่ จังหวัดหนองบัวลำภู เขตสุขภาพที่ 9 ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา และเขตสุขภาพที่ 10 ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 384 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของ อสม. 2) แบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพจิตสำหรับ อสม. และ 3) แบบประเมินภาวะกดดันด้านจิตใจสำหรับ อสม. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า 1. อสม. มีคะแนนความรอบรู้ทางสุขภาพจิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปานกลาง และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 45.83, 41.67 และ 7.55 ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีสองด้านที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพจิตอยู่ในระดับมาก คือ ด้านที่ 3) ความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับวิธีการดูแลช่วยเหลือตนเอง คิดเป็นร้อยละ 45.83 และ ด้านที่ 5) ความรู้และความสามารถเกี่ยวกับวิธีการค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพจิตและจิตเวช คิดเป็นร้อยละ 41.15 และกลุ่มตัวอย่าง มีค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพจิตอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านที่ 2) ความรู้ และความเชื่อเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง และสาเหตุของความเจ็บป่วยทางจิตเวช คิดเป็นร้อยละ 51.04 2. อสม. มีคะแนนภาวะกดดันด้านจิตใจอยู่ในระดับต่ำ ปานกลาง มาก และมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.15, 40.88, 13.54 และ 4.43 ตามลำดับ 3. ความรอบรู้ทางสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับภาวะกดดันด้านจิตใจใน อสม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.145) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในพื้นที่รับผิดชอบ โดยการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพจิต และจัดอบรมแนวทางการจัดการภาวะกดดันด้านจิตใจให้แก่ อสม. เพื่อให้สามารถดูแลตนเองและช่วยดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชนต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
621231017 อติพร สิทธิมงคล.pdf | ความรอบรู้ทางสุขภาพจิตและภาวะกดดันด้านจิตใจในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน | 4.61 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.