Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78413
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณฐิตากานต์ พยัคฆา | - |
dc.contributor.advisor | ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล | - |
dc.contributor.advisor | ฟ้าไพลิน ไชยวรรณ | - |
dc.contributor.author | เหมือนฝัน อุประ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-10T10:10:43Z | - |
dc.date.available | 2023-07-10T10:10:43Z | - |
dc.date.issued | 2022-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78413 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research were 1) to study the fundamental economic and social factors of highland farmers in Mae Chaem District Chiang Mai Province, 2) to analyze the relationship of factors affecting farmers’ awareness regarding land use problems for cultivation in highland areas in Mae Chaem district, Chiang Mai province, and 3) to estimate the needs and recommendations for farmers on land use problems for cultivation in highland areas in Mae Chaem district, Chiang Mai province. The population of this research was 2,795 farmers who registered with the Mae Chaem District Agriculture Office in 2020 in Ban Thap Subdistrict and Tha Pha Subdistrict, Mae Chaem District, Chiang Mai Province. The sample size was calculated by applying Taro Yamane's formula with a tolerance level of 0.07 for the sample size of 191 people and using a simple random sampling by drawing farmers' names. The data was collected by using interview schedules having reliability value in knowledge issues (KR – 20) equals 0.712 and awareness issues (Cronbach) equals 0.765. The data were collected between January and July 2021. The statistical measures used to analyze the data were percentage, frequency, mean, maximum, minimum, and standard deviation. Multiple regression analysis was used for hypothesis testing by using “enter” to find the relationship between independent variables and dependent variables. The results revealed that the majority of farmers were male; the average age of them was 44.26 years old; they graduated from Grade 8; the average number of household members was 4.26; the experience in farming was 21.05 years. In 2020, household income showed an average of 72,900.05 baht and an average outstanding debt of 70,088.48 baht. However, farmers received information about land use problems for cultivation in highland areas as high as 2.40 times; they had contacted agricultural officers 1.32 times and received training 0.67 times. In addition, farmers knew about land use problems for cultivation in highland areas on a high level (x ̅ = 15.35). The hypothesis testing found that factors related to the farmers’ awareness of land use problems for cultivation in highland areas were that gender relationship was negative. The farmers’ awareness of land use problems for cultivation in highland areas was statistically significant at 0.05. The perception of information about land use problems, the positive relationship, and the farmers’ awareness of land use problems for cultivation in highland areas was statistically significant (0.01). The needs of farmers in land use problems for cultivation in highland areas showed that they require the government help with soil improvement in agricultural areas, the planting of fruit trees, and the water retention areas to use during the dry season. The suggestions for farmers in land use problems for cultivation in highland areas include farmers changing from monoculture to the “soil and water” conservation agriculture. The government should train and provide knowledge about land use problems for cultivation in highland areas, and farmers should reduce the use of chemicals in agriculture. Moreover, relevant agencies should provide knowledge regarding how to improve soil quality to be suitable for cultivation. In addition to that, there should be a demonstration and practice collecting soil samples for analysis. Besides, relevant agencies should promote measures to conserve soil and water in highland areas and create a project on model plots for farmers interested in changing from monoculture to conservation of the soil and water in agriculture to be a model for community farmers to use soil and water resources efficiently and sustainably. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ความตระหนักของเกษตรกรต่อปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Farmers’ awareness of land use problems for cultivation in highland areas, Mae Chaem District, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ความตระหนัก | - |
thailis.controlvocab.thash | พื้นที่สูง -- แม่แจ่ม (เชียงใหม่) | - |
thailis.controlvocab.thash | เกษตรกร -- แม่แจ่ม (เชียงใหม่) | - |
thailis.controlvocab.thash | การส่งเสริมการเกษตร -- แม่แจ่ม (เชียงใหม่) | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรบนพื้นที่สูงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักของเกษตรกรที่มีต่อปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อประเมินความต้องการและข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่มีต่อปัญหาการใช้ที่ดิน เพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอแม่แจ่ม ปี พ.ศ. 2563 ในตำบลบ้านทับ และตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2,795 คน ทำการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยปรับใช้สูตรของ Taro Yamane ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ที่ระดับ 0.07 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 191 ราย และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลากหมายเลขรายชื่อของเกษตรกร ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview Schedule) ที่มีค่าความเชื่อมั่นในประเด็นความรู้ (KR – 20) เท่ากับ 0.712 และประเด็นความตระหนัก (Cronbach) เท่ากับ 0.765 ระหว่างเดือนมกราคม – เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) โดยวิธี Enter เพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 44.26 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.26 คน และมีประสบการณ์ในการทำการเกษตร เฉลี่ย 21.05 ปี ในปี พ.ศ. 2563 เกษตรกรมีรายได้ทั้งหมดในครัวเรือนเฉลี่ย 72,900.05 บาท มีภาระหนี้สินคงค้างเฉลี่ย 70,088.48 บาท ทั้งนี้เกษตรกรมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อ การเพาะปลูกบนพื้นที่สูงเฉลี่ย 2.40 ครั้ง มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เกษตรเฉลี่ย 1.32 ครั้ง และเกษตรกรได้รับการฝึกอบรมเฉลี่ย 0.67 ครั้ง จากการศึกษาความรู้เกี่ยวกับการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง พบว่า เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูงอยู่ในระดับสูง (x ̅ = 15.35) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีผลกับความตระหนักของเกษตรกรต่อปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง ได้แก่ เพศมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความตระหนักของเกษตรกรต่อปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูงความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตระหนักของเกษตรกรต่อปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ ความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง พบว่า เกษตรกรมีความต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่การทำการเกษตร มากที่สุด รองลงมา คือ มีความต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนการปลูกไม้ผล และมีความต้องการเกี่ยวกับพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูกช่วงฤดูแล้ง ข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง พบว่า เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้ปรับเปลี่ยนจากการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นการทำการเกษตรแบบอนุรักษ์ดินและน้ำ มากที่สุด รองลงมา คือ ให้ภาครัฐช่วยเพิ่มการอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง และส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ลดการใช้สารเคมี ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก อีกทั้งมีการสาธิตและฝึกปฏิบัติการเก็บตัวอย่างดิน เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์ รวมถึงควรส่งเสริมเรื่องการใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูง ตลอดจนการจัดทำโครงการเกี่ยวกับแปลงต้นแบบแก่เกษตรกรในชุมชนที่มีความสนใจปรับเปลี่ยนจากการทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยวเป็นการใช้มาตรการอนุรักษ์ดินน้ำในพื้นที่ทำการเกษตร เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับเกษตรกรในการใช้ทรัพยากรดินและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620831054-เหมือนฝัน อุประ.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.