Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78358
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธีรวรรณ ธีระพงษ์ | - |
dc.contributor.author | สรชา ตนานุวัฒน | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-07T01:04:28Z | - |
dc.date.available | 2023-07-07T01:04:28Z | - |
dc.date.issued | 2022-01 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78358 | - |
dc.description.abstract | This research aimed to study the experiences of connectedness to nature and personal growth development process of Dhammayatra group. It was regarded as the qualitative study based upon the hermeneutic phenomenology. Data collections were undertaken through the in-depth interviews with five people of Dhammayatra group. The data obtained from such interviews were then interpreted andanalyzed for their core contents. The research found that experiences of connectedness to nature included mental happiness created from being close to nature and calmness in the heart. The informants realized their relationship with nature and reflected their viewpoints that everything was of value and on duty while they were harmonized in the cycle. Besides, nature that was touched by the informants, both externally and internally, all reflected the truth of life. The personal growth development process was the occurrence of learning process from Dhammayatra walk, pilgrimage, self-practice in daily routines, learning from the role models regarding both people and nature, and encountering experiences or knowledge beyond thinking regarded as present moment awareness. It was also the learning process which motivated a simple life with not much dependence on materials. In addition, it presented the changes of informants regarding their lifelong leaming and goals of further personal growth development. The results from this study resulted in the understanding on connectedness between humans and nature. Once humans were close to nature, they would feel positive and realized the truth of life, including emotional self-practice through difficulties and sufferings, which eventually brought the personal growth for their further relationship development with nature and accessibility to self-truth based on their existing potentials. For people working with mental health treatment, they should be aware of and use the natural contexts as an alternative for the mental rehabilitation process. Besides, self-awareness was essential and necessary for those who desired for their mental growth development. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ประสบการณ์ความเชื่อมโยงกับธรรมชาติและกระบวนการพัฒนาความงอกงามแห่งตนของกลุ่มธรรมยาตรา | en_US |
dc.title.alternative | Experiences of connectedness to nature and personal growth development process of Dhammayatra Group | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | อรรถปริวรรตศาสตร์ | - |
thailis.controlvocab.thash | ธรรมชาติ | - |
thailis.controlvocab.thash | การดำเนินชีวิต | - |
thailis.controlvocab.thash | กลุ่มธรรมยาตรา | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ความเชื่อมโยงกับธรรมชาติและกระบวนการพัฒนาความงอกงามแห่งตนของกลุ่มธรรมยาตรา เป็นการวิจัยชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาอรรถปริวรรต เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มธรรมยาตราจำนวน 5 คน ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาตีความและวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ได้แก่ ความสุขใจที่เกิดจากการได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และความสงบที่ก่อเกิดขึ้นภายในจิตใจ ผู้ให้ข้อมูลเห็นถึงความสัมพันธ์ของตนกับธรรมชาติ ได้สะท้อนมุมมองให้เห็นว่าสรรพสิ่งล้วนมีคุณค่าและทำหน้าที่ของตน สอดผสานเกี่ยวโยงกันเป็นวัฏจักร นอกจากนี้ธรรมชาติที่ผู้ให้ข้อมูลได้สัมผัสทั้งธรรมชาติภายนอกและธรรมชาติภายในตนเองล้วนเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงของชีวิต กระบวนการพัฒนาความงอกงามแห่งตนเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นทั้งจากการเดินธรรมยาตรา การเดินจาริก การฝึกฝนตนเองผ่านกิจวัตรประจำวัน การเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบทั้งที่เป็นบุคคลและธรรมชาติตลอดจนได้พบเจอกับประสบการณ์ความรู้ที่เหนือความคิด เป็นการสัมผัสความรู้ตัวทั่วพร้อมกับปัจจุบัน กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดวิถีชีวิตที่เรียบง่ายไม่พึ่งพาวัตถุมากนัก นอกจากนี้ยังนำเสนอการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของผู้ให้ข้อมูล การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด และท้ายที่สุดเป็นความตั้งใจพัฒนาความงอกงามแห่งตนต่อจากนี้ที่อยากไปให้ถึงของผู้ให้ข้อมูล ผลที่ได้จากการศึกษานี้นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และธรรมชาติเมื่อมนุษย์ใกล้ชิดกับธรรมชาติก่อให้เกิดความรู้สึกเชิงบวกและตระหนักถึงความจริงของชีวิต รวมทั้งในเส้นทางการฝึกฝนความรู้สึกตัวที่ผ่านพบความยากลำบากและความทุกข์ ก่อให้เกิดความงอกงามขึ้นของผู้คน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์กับธรรมชาติ เข้าถึงความจริงแท้ในตนเอง และศักยภาพที่ตนมีในส่วนของผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับการเยียวยาจิตใจผู้คนควรตระหนักและใช้บริบทของธรรมชาติเป็นทางเลือกหนึ่งในกระบวนการเยียวยา นอกจากนี้ความรู้สึกตัวเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพัฒนาความงอกงามของจิตใจตนเอง | en_US |
Appears in Collections: | HUMAN: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
610132041 สรชา ตนานุวัฒน์.pdf | 3.4 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.