Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78355
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรษพร อารยะพันธ-
dc.contributor.authorแพรวนภา ศรีวรรณตันen_US
dc.date.accessioned2023-07-07T01:00:17Z-
dc.date.available2023-07-07T01:00:17Z-
dc.date.issued2022-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78355-
dc.description.abstractResearch subject Development Thai Subject Headings for Lanna Resources by Using Folksonomy Concept. Aimed to 1) Study the storage and retrieval of Lanna information resources at the institutes of information services in the Upper North of Thailand 2) Collect and analyze the terms used in the Lanna information resource search on the Online Public Access Catalog of the institutes of information services in the Upper North of Thailand and 3) Develop Thai subject headings in Lanna by Using Folksonomy Concept. Use a qualitative research methodology, and collect data by structural interview method as a research tool. Contributors include 1) 7 librarians and 2) 12 library users from 7 institutes of information services in the Upper North of Thailand. The research found that, Condition of storage and retrieval of Lanna information resources at the institutes of information services in the Upper North of Thailand. Most of the institutes of information services acquire Lanna information resources by purchasing and requesting or donations. Some institutes of information services also have their own publications and replicate of the original resources from other libraries. Furthermore, they use Dewey Decimal Classification for classifies printed Lanna information resources, meanwhile, they use numerical filling system for each type of non-printed Lanna information resources. In addition, all institutes of information services have their own storages which includes printed materials and non-printed materials, as well as electronic databases. Moreover, institutes of information services in the Upper North of Thailand’s users retrieve Lanna information by using Online Public Access Catalogtwice a week and also purpose for studying and teaching in Lanna historical aspects. Most of users create their own words which are keyword, free term, natural language and specified words in both Northern Thai language and standard Thai language for information retrieval. Collecting and analyzing the terms used in the Lanna information resource search on the Online Public Access Catalog of the institutes of information services in the Upper North of Thailand. The result of collecting the Lanna terms, there are 4,538 words and can be grouped according to the scope of the Lanna knowledge structure of 15 groups. Development Thai subject headings in Lanna by Using Folksonomy Concept. There are 622 Thai subject headings in Lanna that have been evaluated for appropriateness which consist of 604 main headings and 18 subdivisions. Creating the relationship between headings, the highest number of terms that cannot be used as subject headings was 586 words. While the broad term was 489 words, the narrow term was 324 words, and the related term was 34 words respectively.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาหัวเรื่องภาษาไทยสำหรับทรัพยากรสารสนเทศล้านนาโดยใช้แนวคิดปัจเจกวิธานen_US
dc.title.alternativeDevelopment Thai Subject Headings for Lanna resources by using folksonomy concepten_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashหัวเรื่อง -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashหัวเรื่อง -- วัฒนธรรมไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashทรัพยากรสารสนเทศ -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยเรื่องการพัฒนาหัวเรื่องภาษาไทยสำหรับทรัพยากรสารสนเทศล้านนา โดยใช้แนวคิดปัจเจกวิธาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดเก็บและการค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศล้านนาของสถาบันบริการสารสนเทศในเขตภาคเหนือตอนบน 2) รวบรวมและวิเคราะห์คำค้นที่ใช้ในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศล้านนาบนฐานข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ของสถาบันบริการสารสนเทศในเขตภาคเหนือตอนบน และ 3) พัฒนาหัวเรื่องภาษาไทยด้านล้านนา โดยใช้แนวคิดปัจเจกวิธาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยชิงคุณภาพ โดยมีแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 1) บรรณารักษ์ จำนวน 7 คน และ 2) ผู้ใช้บริการ จำนวน 12 คน จากสถาบันบริการสารสนเทศในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 7 แห่ง ผลการวิจัยพบว่าสภาพการจัดเก็บและการค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศล้านนาของสถาบันบริการสารสนเทศในเขตภาคเหนือตอนบน ต้านการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศล้านนา ส่วนใหญ่จัดหาทรัพยากรสารสนเทศล้านนา ด้วยวิธีการจัดซื้อ การขอหรือรับบริจาค และมีสถาบันบริการสารสนเทศบางแห่งผลิตหนังสือขึ้นเองและทำสำเนาจากห้องสมุดอื่น ด้านการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศล้านนา มีการจัดหมวดหมู่ให้กับทรัพยากรสารสนเทศล้านนาประเภทวัสดุตีพิมพ์โดยใช้ระบบทศนิยมดิวอี้ ส่วนทรัพยากรสารสนเทศล้านนาประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ใช้หลักการจัดเรียงตามรูปแบบการบันทึกและจัดเรียงตามเลขทะเบียน ด้านการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศล้านนา สถาบันบริการสารสนเทศทุกแห่งมีการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศล้านนาประเภทวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัล และด้านการค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศล้านนาในสถาบันบริการสารสนเทศในเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า ผู้ใช้จำนวน 8 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในกลุ่มเนื้อหาความรู้ด้านประวัติศาสตร์ มีความถี่ในการค้นคืน 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ โดยสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีวิธีการกำหนดคำค้นด้วย การคิดคำค้นขึ้นเอง มีลักษณะเป็นคำสำคัญ (Keyword) คำศัพท์อิสระ (Free Term) เป็นภาษาธรรมชาติ (Natural Langunge) และเป็นคำเฉพาะเจาะจง โดยใช้ภาษาถิ่นและภาษาไทยในการค้นคืน การรวบรวมและวิเคราะห์คำค้นที่ใช้ในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศล้านนาบนฐานข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ของสถาบันบริการสารสนเทศในเขตภาคเหนือตอนบน ผลการรวบรวมคำค้นที่เกี่ยวข้องกับล้านนา มีจำนวนทั้งหมด 4,538 คำ และสามารถจัดกลุ่มคำค้นตามขอบเขตโครงสร้างความรู้ล้านนา จำนวน 15 กลุ่ม การพัฒนาหัวเรื่องภาษาไทยด้านล้านนา โดยใช้แนวคิดปัจเจกวิธาน มีหัวเรื่องภาษาไทยด้านล้านนาที่ผ่านการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 622 หัวเรื่อง แบ่งเป็น หัวเรื่องใหญ่ จำนวน 604 หัวเรื่อง และหัวเรื่องย่อย จำนวน 18 หัวเรื่อง สำหรับการสร้างความสัมพันธ์ไปยังหัวเรื่องอื่น มีการสร้างความสัมพันธ์กับหัวเรื่องอื่น โดยทำรายการโยงคำค้นที่ไม่สามารถใช้เป็นหัวเรื่อง จำนวน 586 คำ มากที่สุด รองลงมาคือ รายการโยงในเชิงความหมายที่กว้างกว่า จำนวน 489 คำ รายการโยงในเชิงความหมายที่แคบกว่า จำนวน 324 คำ คำ และรายการโยงหัวเรื่องที่สัมพันธ์กันและมีความหมายคล้ายกัน จำนวน 34 คำen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610132022 แพรวนภา ศรีวรรณตัน.pdf10.92 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.