Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78264
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสรัญยา วัลยะเสวี-
dc.contributor.advisorพรประพา คงตระกูล-
dc.contributor.authorสุพจน์ มาตย์นอกen_US
dc.date.accessioned2023-07-02T09:30:19Z-
dc.date.available2023-07-02T09:30:19Z-
dc.date.issued2022-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78264-
dc.description.abstractPotato sclerotium rot disease, caused by Sclerotium rolfsii, has a high impact on the postharvest quality of potato tubers during storage. Therefore, it has become a recurring problem to keep potatoes from the field, which has an infestation of this fungus. It’s soil–borne pathogens of plants that are very difficult to manage due to the rapid growth of mycelium and the production of many inoculums, which is a sclerotia. Thus, the objective of this study was to evaluate the efficacy of antagonistic bacteria, wood vinegar, and fungicides to control S. rolfsii causing sclerotium rot disease in potatoes under laboratory conditions. Heat-tolerant bacteria at 100°C were isolated by the serial dilution spread plate technique, which was isolated by 91 isolates. There are isolated soil samples in Chiang Mai Province, including 2 soil samples in agricultural areas, namely rice research field and vegetable field, and 3 soil samples in natural areas, namely Doi Suthep-Pui National Park Unit 4, Huay Jo reservoir, and Doi Pui viewpoint. All isolates of bacteria were tested for efficacy in inhibiting the mycelial growth of pathogenic fungi by the dual culture method. Bacteria were cultured on PDA before inoculation with mycelial of pathogenic fungi for 7 days. It was found that the bacterial isolates MH_15 and MJ_1 were significantly different. They inhibited mycelial growth by 98.67 and 84.45%, respectively. In addition, antagonistic bacteria from both isolates could produce secondary metabolites. The control of sclerotium rot disease was tested on potato tubers by immersion in bacteria suspension (MH_15 and MJ_1 isolates) at 108 CFU/ml concentration for 5, 15, and 30 min before inoculation of pathogenic fungi (pre-emergence) and 24 hrs. after inoculation of pathogenic fungi post-emergence). It was found that the efficacy of both antagonist bacteria was not significantly different both before and after inoculation. But the duration of immersion affects disease control. The immersion of 5 or 15 min was not statistically different. Potato tubers were immersed in the bacterial suspension of isolates MH_15 or MJ_1 for 5 minbefore inoculation. It’s most effective in controlling disease on tubers. The percentage reduction in the severity of the disease was 66.67 and 80.00%, respectively, compared with the other treatments. Identifying antagonist bacteria, namely MH_15 and MJ_1 by biochemical technique with the API 50CHB test kit, can be classified as Bacillus subtilis/amyloliquefaciens for both isolates. There is a similarity of 99.40%. The efficacy of wood vinegar in inhibiting mycelial growth and sclerotial germination of S. rolfsii was tested by the poisoned medium technique at 3 concentrations: 1.00, 2.00, and 3.00% (v/v). It was found that wood vinegar at 1.00% (v/v) concentration or more was able to inhibit mycelial growth and sclerotial germination by 100.00%, compared with the control treatment. When tested for controlling sclerotium rot disease on tubers using the immersion method in wood vinegar at four concentrations: 0.25, 0.50, 0.75, and 1.00% (v/v) for 5, 15, and 30 min before and after pathogenic fungi inoculation, it was discovered that the efficacy of wood vinegar in controlling the disease both before and after inoculation was significantly different. If tubers were immersed at a concentration of 1.00% (v/v) for 15 min before inoculation of pathogenic fungi, the severity of the disease could be reduced by 60.00%. However, immersion of tubers in wood vinegar at a concentration of 0.50% (v/v) for 15 or 30 min after inoculation is recommended. It was able to reduce the severity of the disease by 75.00% compared to the other treatments. The efficacy of six fungicides was tested at two concentrations, including half-recommended and recommended concentrations, using poisoned medium techniques. They’re divided into two categories: three contact fungicides, including captan (375 and 750 µg/mL), mancozeb (1,000 and 2,000 µg/mL), and etridiazole+quintozene (270 and 540 µg/mL). Azoxystrobin (25 and 50 g/mL), azoxystrobin+SHAM (25 and 50 g/mL + 100 g/mL (SHAM)), and difenoconazole (56.25 and 112.50 g/mL) were used to inhibit pathogenic fungal mycelial growth and sclerotial germination. It was found that six fungicides were significantly different. The contact fungicides such as mancozeb and etridiazole+quintozene at half-recommended and recommended concentration were able to inhibit the mycelial growth of pathogenic fungi by 100.00%, while captan at half-recommended and recommended concentration was able to inhibit the mycelial growth by 67.28 and 73.00%, respectively. In addition, it was found that the systemic fungicide, such as difenoconazole, at halfrecommended and recommended concentration, was able to inhibit the mycelial growth of pathogenic fungi by 100.00%, compared with the control treatment. The efficacy of fungicides in inhibiting sclerotial germination was tested. It was found that mancozeb and etridiazole+quintozene completely inhibited sclerotial germination at half-recommended and recommended concentrations. The efficacy of fungicides in inhibiting sclerotial germination was tested, and it was discovered that mancozeb and etridiazole+quintozene completely inhibited sclerotial germination at half-recommended and recommended concentrations, respectively, whereas captan inhibited sclerotial germination by 87.00 and 95.00%, respectively. Four fungicides, namely captan, mancozeb, etridiazole+quintozene, and difenoconazole, are effective in inhibiting mycelial growth by more than 70.00%. They were used to test the control of sclerotium rot disease on tubers by the immersion method in fungicides at recommended concentrations (750,2,000, 540, and 112.5 µg/mL, respectively) for 5, 15, and 30 min before and 24 hours after inoculation of pathogenic fungi. It was found that, the efficacy of all four fungicides in controlling the disease in pre-emergence and post-emergence stages was significantly different. In the case of pre-emergence disease, tubers were immersed in captan for 5, 15, and 30 min before inoculation. It had the most effective disease prevention. It was found that the percent reduction in severity of the disease was by 73.33, 100.00, and 66.67%, respectively, compared with the other treatments. However, in the case of post-emergence disease, tubers were immersed in each fungicide after 24 hrs. of inoculation. Immersion in three contact fungicides, captan, mancozeb, and etridiazole+quintozene, for 5, 15, and 30 min showed a percent reduction in disease severity but was not significantly different. Mancozeb was reduced in severity of disease by 100.00, 100.00, and 83.33%, respectively. In the case of etridiazole+quintozene, it was reduced by 100.00, 100.00, and 66.67 percent, respectively, and captan of all three periods showed a percent reduction in the severity of disease by 66.67%. Immersion of potato tubers in systemic fungicide (difenoconazole) for 5 and 15 min reduced disease severity by 100.00 and 75.00%, respectively.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการควบคุมโรคเน่าสเคลอโรเตียมสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวของมันฝรั่งen_US
dc.title.alternativeControlling of sclerotium rot causing post harvest disease in potatoen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashมันฝรั่ง-
thailis.controlvocab.thashมันฝรั่ง -- โรคและศัตรูพืช-
thailis.controlvocab.thashโรคเน่าสเคลอโรเตียม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคเน่าสเคลอโรเตียมของมันฝรั่ง ที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ส่งผลกระทบอย่างมากต่อ คุณภาพในระหว่างการเก็บรักษา จึงกลายเป็นปัญหาที่เกิดซ้ำช้อนในการเก็บรักษามันฝรั่งจากแปลง ปลูกที่มีการระบาดของเชื้อราชนิดนี้ ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุโรคทางดินของพืชที่มีการจัดการ ที่ยากมาก เนื่องจาก เส้นใยเชื้อราชนิดนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรานี้ คือ เม็ดสเคลอโรเตียม ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบคที่เรียปฏิปักษ์ น้ำส้มควันไม้ และสารป้องกันกำจัดเชื้อราในการควบคุมเชื้อรา S. rolfsii สาเหตุโรคเน่าสเคลอโรเตียม ของมันฝรั่งในระดับห้องปฏิบัติการ โดยแยกแบคที่เรียที่ทนความร้อนได้สูงที่อุณหภูมิ 100 องศา- เซลเซียส ด้วยวิธี serial dilution spread plate technique สามารถแยกแบคที่เรียที่ทนต่อความร้อนได้ จำนวน 91 ไอโซเลต จากตัวอย่างดินในจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ดินในพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่ แปลงวิจัยข้าวพืชไร่ และแปลงเพาะปลูกผัก และ ดินในพื้นที่ป่าโดยอยู่ในสภาพ ดั้งเดิมตามธรรมชาติ จำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ที่ 4 อ่างเก็บน้ำ ห้วยโจ้ และจุดชมวิวดอยปุย เมื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา สาเหตุโรค ด้วยวิธี dual culture โดยการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียก่อนวางเชื้อราเป็นเวลา 7 วัน พบว่า แบคทีเรียไอโซเลต MH 15 และ MI 1 มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ สามารถยับยั้งการ เจริญเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคเฉลี่ย เท่ากับ 98.67 และ 84.45 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า แบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้งสองไอโซเลต สามารถผลิตสารทุติยภูมิ (secondary metabolite) เมื่อทดสอบการ ควบคุมโรคเน่าสเคลอโรเตียมบนผลมันฝรั่งโดยวิธีการแช่สารแขวนลอยแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลต MH_ 15 และ MJ_1 ความเข้มข้น 108 CFU/ml เป็นเวลา 5, 15 และ 30 นาที ก่อนปลูกเชื้อราสาเหตุ (การ ป้องกัน) และ 24 ชั่วโมงหลังปลูกเชื้อราสาเหตุ (การกำจัด) พบว่า ประสิทธิภาพของแบคที่เรียปฏิปักษ์ ทั้งสองชนิดไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติทั้งก่อนและหลังปลูกเชื้อ แต่ระยะเวลาการแช่มีผลต่อ ประสิทธิภาพในการควบคุมโรค โดยที่ระยะเวลา 5 หรือ 15 นาที ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ซึ่ง การแช่ผลมันฝรั่งในสารแขวนลอยไอโซเลต MH 15 และ MJ_1 เป็นเวลา 5 นาที ก่อนปลูกเชื้อรา สาเหตุโรค มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคสูงสุด โดยมีเปอร์เซ็นต์ลดความรุนแรงการเกิดโรค เท่ากับ 66.67 และ 80.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับชุดทดสอบอื่นๆ สำหรับการจำแนกชนิด ของแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลต MH_ 15 และ MJ_1 โดยใช้เทคนิคทางชีวเคมีด้วยชุดทดสอบสำเร็จรูป API 50 CHB สามารถจัดจำแนกได้เป็นแบคที่เรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis/amyloliquefaciens มีความ คล้ายคลึงเท่ากับ 99.40 เปอร์เซ็นต์ การทดสอบประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ในการยับยั้งการเจริญเส้นใยและการงอกของเม็ด สเคลอโรเตียมของเชื้อรา S. rolfsii โดยทดสอบด้วยเทคนิคอาหารพิษ (poisoned medium technique) ที่ ความเข้มข้น 3 ระดับ ได้แก่ 1.00, 2.00 และ 3.00 เปอร์เซ็นต์ (V/ V) พบว่า น้ำส้มควันไม้ที่ความเข้มข้น ตั้งแต่ 1.00 เปอร์เซ็นต์ (V/ V) ขึ้นไป สามารถยับยั้งการเจริญเส้นใยและการงอกของเม็ดสเคลอโรเตียม ได้ เท่ากับ 100.00 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับชุดควบกุม เมื่อทดสอบการควบคุมโรคเน่าสเคลอโรเดียม บนผลมันฝรั่งโดยวิธีการแช่ในน้ำส้มควันไม้ที่ความเข้มข้น 4 ระดับ คือ 0.25, 0.50, 0.75 และ 1.00 เปอร์เซ็นต์ (v/v) เป็นเวลา 5, 15 และ 30 นาที ก่อนปลูกเชื้อราสาเหตุ และ 24 ชั่วโมงหลังปลูกเชื้อรา สาเหตุ พบว่า ประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ในการควบคุมโรคทั้งก่อนและหลังปลูกเชื้อมีความ แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ โดยการแช่ผลมันฝรั่งที่ความเข้มข้น 1.00 เปอร์เซ็นต์ (v/v) เป็น เวลา 15 นาที ก่อนปลูกเชื้อราสาเหตุ สามารถป้องกันการเกิดโรคได้สูงสุด เท่ากับ 60.00 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม การแช่ในน้ำส้มควันไม้ที่ความเข้มข้น 0.50 เปอร์เซ็นต์ (v/v) เป็นเวลา 15 หรือ 30 นาที หลังปลูกเชื้อราสาเหตุ สามารถลดการเกิดโรคได้สูงสุดเท่ากับ 75.00 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับชุด ทดสอบอื่นๆ การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดเชื้อราจำนวน 6 ชนิด ที่ความเข้มข้น 2 ระดับ คือ ครึ่งอัตราแนะนำ และ ตามอัตราแนะนำ โดยใช้เทคนิคอาหารพิษ ซึ่งแบ่งประเภทของสารออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สารสัมผัสจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ สาร captan (375 และ 750 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร), mancozeb (1,000 และ 2,000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) และ etridiazole+quintozene (270 และ 540 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และสารดูดซึม จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ azoxystrobin (25 และ 50 ไมโครกรัม ต่อมิลลิลิตร ), azoxystrobin+SHAM (25 และ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร + 100 ไมโคร กรัมต่อ มิลลิลิตร (SHAM) และ difenoconazole (56.25 และ 112.50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) ในการยับยั้ง การเจริญเส้นใยและการงอกเม็ดสเคลอโรเตียมของเชื้อราสาเหตุโรค พบว่า สารป้องกันกำจัดเชื้อราทั้ง 6 ชนิด มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ โดยสารป้องกันกำจัดเชื้อราประเภทสัมผัส ได้แก่ mancozeb และ etridiazole+quintozene ที่ความเข้มข้นทั้งครึ่งและตามอัตราแนะนำ สามารถยับยั้งการ เจริญเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคได้ เท่ากับ 100.00 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สารป้องกันกำจัดเชื้อรา captan ที่ความเข้มข้นทั้งครึ่ง และตามอัตราแนะนำ สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ เท่ากับ 67.28 และ 73.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าสารประเภทดูดซึม เช่น difenoconazole ที่ ความเข้มข้นทั้งครึ่ง และตามอัตราแนะนำ สามารถยับยั้งการเจริญเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคได้ เท่ากับ 100.00 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับชุดควบคุม สำหรับการยับยั้งการงอกเม็ดสเคลอโรเตียม พบว่า สาร mancozeb และ etridiazole+quintozene ที่ความเข้มข้นครึ่งอัตราแนะนำ และตามอัตราแนะนำ สามารถยับยั้งการงอกเม็ดสเคลอโรเตียมได้เท่ากับ 100.00 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สาร captan ที่ความ เข้มข้นครึ่งอัตราแนะนำ และตามอัตราแนะนำ สามารถยับยั้งการงอกเม็ดสเคลอโรเตียมได้เท่ากับ 87.00 และ 95.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้ง เส้นใยเชื้อราสาเหตุมากกว่า 70.00 เปอร์เซ็นต์ มีจำนวนทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ สาร captan, mancozeb, etridiazole+quintozene และ difenoconazole เพื่อทดสอบการควบคุมโรคเน่าสเคลอโรเตียมบนมันฝรั่ง ด้วยวิธีการแช่ผลในสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่ความเข้มข้นตามอัตราแนะนำ (750, 2,000, 540 และ 112.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ) เป็นเวลา 5, 15 และ 30 นาที ก่อนปลูกเชื้อราสาเหตุ และ 24 ชั่วโมงหลังปลูกเชื้อราสาเหตุ พบว่า การใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราทั้ง 4 ชนิดในการป้องกันและกำจัด การเกิดโรคมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการ ป้องกันการเกิดโรค การแช่ผล มันฝรั่งในสาร captan เป็นเวลา 5, 15 และ 30 นาทีก่อนปลูกเชื้อราสาเหตุ มีประสิทธิภาพการป้องกัน การเกิดโรคสูงสุด สามารถป้องกันการเกิดโรคได้เท่ากับ 73.33, 100.00 และ 66.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับชุดทดสอบอื่นๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับการกำจัดโรค โดยแช่ผลมันฝรั่งในสาร ป้องกันกำจัดเชื้อราทั้ง 4 ชนิด หลังปลูกเชื้อราสาเหตุเป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่า การแช่ผลมันฝรั่งใน สารประเภทสัมผัสทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ mancozeb, etridiazole+quintozene และ captan ที่ระยะเวลา 5, 15 และ 30 นาที แสดงให้เห็นว่า ค่าเปอร์เซ็นต์ลดความรุนแรงในการเกิดโรคไม่มีความแตกต่างกันทาง สถิติ โดยสาร mancozeb พบเปอร์เซ็นต์ลดความรุนแรงในการเกิดโรค เท่ากับ 100.00, 100.00 และ 83.33 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สารป้องกันกำจัดเชื้อรา etridiazole+quintozene พบเปอร์เซ็นต์ลดความ รุนแรงในการเกิดโรค เท่ากับ 100.00, 100.00 และ 66.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และ สาร captan พบ เปอร์เซ็นต์ลดความรุนแรงในการเกิดโรคทั้ง 3 ช่วงเวลา เท่ากับ 66.67 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การแช่ผล มันฝรั่งในสารประเภทดูดซึม difenoconazole เป็นเวลา 5 และ 15 นาที พบเปอร์เซ็นต์ลดความรุนแรง ในการเกิดโรค เท่ากับ 100.00 และ 75.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610831057 สุพจน์ มาตย์นอก.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.