Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78263
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิวัติ อนงค์รักษ์-
dc.contributor.advisorฟ้าไพลิน ไชยวรรณ-
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ ลือศักดิ์en_US
dc.date.accessioned2023-07-02T09:10:08Z-
dc.date.available2023-07-02T09:10:08Z-
dc.date.issued2022-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78263-
dc.description.abstractA study on soil morphology and properties in coffee-based agroforestry systems in Chiang Mai province were investigated by selecting 3 districts, 8 pedons. The aim of this study was to investigate soil morphology in the field include the plant species diversity. Then, the soil samples were analyzed for physical, chemical and mineralogicalproperties in laboratory according to standard methods. The results showed that pedon 1, pedon 2 and pedon 3 in Doi Saket district were soils in agroforestry systems (12, 12 and 17 year-old coffee, respectively) while pedon 4 was soils in natural forest (hill evergreen forest). In Mae Rim and Mae Taeng districtspedon 5 was soils in natural forest (hill evergreen forest) while pedon 6, pedon 7 and pedon 8 were soils in agroforestry systems (9, 9 and 12 year-old coffee, respectively), where the elevation was 720-1,005 meters above mean sea level. These areas are slightly undulating to very steep slope area. Most of the pedons were residuum from granite, except pedon 3 was colluvium form granite while pedon 5 was residuum from gneiss metamorphism form granite. Development of most of the pedons soil profile were A-AB-BA-Bw-BtBCr-Cr-R, classification of soil order was Ultisols, subgroup was Typic Palehumults and Typic Haplohumults, except pedon 3 which the soil profile was A-Bw-BC, classification of soil order was Inceptisols, subgroup was Typic Humudepts. Most of the pedons were very deep soil, except pedon 1 was deep soil. Soils in agroforestry systems, topsoil was dark reddish brown and dark brown. Soils in natural forest, topsoil was dark brown and brown, all pedon in subsoil were dark reddish brown to red. Soil structure of all pedon in topsoil was granular while, subsoil was angular and subangular blocky. In agroforestry systems, it found that soil texture in topsoil was sandy clay loam to sandy clay; subsoil was sandy clay loam to clay. In natural forest, it found that soil texture in topsoil was sandy clay loam and sandy clay; subsoil was clay loam and clay. Gravel content, particle density, total porosity, field capacity, permanent wilting point and available water capacity of topsoil was similar between topsoil and subsoil. Bulk densityof topsoil was lower than subsoil. Soil:water reaction (1:1) in topsoil and subsoil of all pedons were very strongly acid to moderately acid. Soil:potassium chloride reaction (1:1) in topsoil and subsoil of all pedons were extremely acid to very strongly acid. Organic matter content, total nitrogen, available phosphorus, extractable calcium, extractable magnesium, extractable bases, extractable acidity, cation exchange capacity and base saturation of topsoil were higher than subsoil. Available potassium of topsoil was very high while, it was very from low to very high in subsoil. Extractablepotassium of topsoil to subsoil wasvery diverge, which topsoil showed low to very high level and very low to high in subsoil. Extractable sodium both topsoil and subsoil were very low. For mineralogical characteristics, soil in all pedons composed with clay-size particles mainly gibbsite. Soil fertility assessment showed that topsoil was medium, while moderately low in subsoil. Soil suitability assessment was unsuited because there is a limitation on topography. The species richness of plot in natural forest showed higher number than plot in agroforestry systems. However, plant density between them was similar. Ficus altissima Blume, Toxicodendron succedaneum (L.) Kuntze, Schima wallichii (DC.) Korth. and Adenanthera pavonina L. were the dominatedspecies. Ecological importance value index of all plots in agroforestry systems was Coffea arabica L. In natural forest, ecological importance value index was Schima wallichii (DC.) Korth. Plant biomass and plant nutrient storages of plot in natural forest had higher than plot in agroforestry systems.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleสัณฐานวิทยาและสมบัติของดินในระบบวนเกษตรที่มีกาแฟเป็นพืชหลักในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeSoil morphology and properties in coffee-based agroforestry systems in Chiang Mai provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashสัณฐานวิทยา-
thailis.controlvocab.thashระบบวนเกษตร-
thailis.controlvocab.thashดิน -- การวิเคราะห์-
thailis.controlvocab.thashกาแฟ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาสัณฐานวิทยาและสมบัติของดินในระบบวนเกษตรที่มีกาแฟเป็นพืชหลักในจังหวัด เชียงใหม่ ในพื้นที่ศึกษา 3 อำเภอ จำนวน 8 พีดอน ทำการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ ทางสัณฐานวิทยาของดินในภาคสนาม รวมถึงการศึกษาทางด้านความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ และนำตัวอย่างดินมาวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และทางแร่วิทยาของดิน ในห้องปฏิบัติการ ตามวิธีมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ดินในพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด พีดอน 1, พีดอน 2 และพี่ตอน 3 เป็นดินใน ระบบวนเกษตร (อายุกาแฟ 12, 12 และ 17 ปี ตามลำดับ) ส่วนพีดอน 4 เป็นดินในป่าธรรมชาติ (ป่าดิบ เขา) ในพื้นที่อำเภอแม่ริมและอำเภอแม่แตง พีดอน 5 เป็นดินในป่าธรรมชาติ (ป่าดิบเขา) ส่วนพีตอน 6, พีดอน 7 และพีดอน 8 เป็นดินในระบบวนเกษตร (อายุกาแฟ 9, 9 และ 12 ปี ตามลำดับ มีความสูง จากระดับทะเลปานกลาง 720-1,005 เมตร และมีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงพื้นที่สูง ชันมาก พีดอนส่วนใหญ่มีวัตถุต้นกำเนิดเป็นวัสดุตกค้างจากหินแกรนิต ยกเว้นพีดอน 3 มีวัตถุ ต้นกำเนิดจากเศษหินเชิงเขาจากหินแกรนิต และพีดอน 5 มีวัตถุต้นกำเนิดเป็นวัสดุตกค้างจากหินไนส์ ที่แปรมาจากหินแกรนิต พีดอนส่วนใหญ่มีพัฒนาการหน้าตัดดินแบบ A-AB-BA-Bw-Bt-BCr-Cr-R จำแนกดินเป็นอันดับอัลทิซอลส์ กลุ่มย่อยจำแนกได้เป็น TypicPalehumults และ Typic Haplohumults ยกเว้นพีดอน 3 มีพัฒนาการหน้าตัดดินแบบ A-Bw-BC จำแนกดินเป็นอันดับอินเซปทิซอลส์ กลุ่มย่อย จำแนกเป็น Typic Humudepts พีดอนส่วนใหญ่ เป็นดินลึกมาก ยกเว้นพีดอน 1 เป็นดินลึก ดินในระบบ วนเกษตร พบว่าชั้นดินบนมีสีน้ำตาลปนแดงมืดและน้ำตาลมืด ส่วนดินในป่าธรรมชาติ พบว่า ชั้นดินบนมีสีน้ำตาลมืดและน้ำตาล ชั้นดินล่างของทุกพีดอนมีสีน้ำตาลปนแดงมืดถึงแดง โครงสร้าง ดิน ชั้นดินบนของทุกพีดอนเป็นแบบก้อนกลม ส่วนชั้นดินล่างเป็นแบบก้อนเหลี่ยมมุมคมและ ก้อนเหลี่ยมมุมมน ในระบบวนเกษตรพบว่า เนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายถึงดินเหนียวปนทราย เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายถึงดินเหนียว ในป่าธรรมชาติพบว่า เนื้อดินบนเป็นดินร่วน เหนียวปนทรายและดินเหนียวปนทราย เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวและดินเหนียว ปริมาณกรวด ความหนาแน่นอนุภาค ความพรุนทั้งหมด ความจุความชื้นสนาม จุดเหี่ยวถาวร และความจุความชื้น ที่เป็นประโยชน์ มีค่าใกล้เคียงกันทั้งชั้นดินบนและชั้นดินล่าง ความหนาแน่นรวม ของชั้นดินบนต่ำ กว่าชั้นดินล่าง ปฏิกิริยาดินต่อน้ำ 1:1 ของชั้นดินบนและชั้นดินล่างทุกพีดอนอยู่ในระดับกรดจัดมาก ถึงกรดปานกลาง ปฏิกิริยาดินต่อสารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์ 1:1 ของชั้นดินบนและชั้นดินล่าง ทุกพีดอนอยู่ในระดับกรดรุนแรงมากถึงกรดจัดมาก ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณในโตรเจนรวม ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ปริมาณแคลเซียมที่สกัดได้ ปริมาณแมกนีเซียมที่สกัดได้ ปริมาณ ด่างรวมที่สกัดได้ ปริมาณกรดที่สกัดได้ ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน และความอิ่มตัวเบส ของชั้นดินบนมีปริมาณมากกว่าชั้นดินล่าง ปริมาณ โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ ของชั้นดินบนอยู่ใน ระดับสูงมาก ส่วนชั้นดินล่างมีความผันแปรมากอยู่ในระดับต่ำถึงสูงมาก ปริมาณโพแทสเซียม ที่สกัดได้ ของชั้นดินบนและชั้นดินล่างมีความผันแปรมาก โดยชั้นดินบนอยู่ในระดับต่ำถึงสูงมาก ส่วนชั้นดินล่างอยู่ในระดับต่ำมากถึงสูง ปริมาณโซเดียมที่สกัดได้ ทั้งชั้นดินบนและชั้นดินล่างอยู่ใน ระดับต่ำมาก ดินทุกพีดอนมีแร่กิบบ์ไซต์เป็นแร่หลัก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ชั้นดินบนมีความอุดม สมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลาง ชั้นดินล่างอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ดินที่ทำการศึกษาไม่เหมาะสม สำหรับปลูกกาแฟ เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องสภาพพื้นที่ ชนิดพันธุ์ไม้ในแปลงป่าธรรมชาติมีจำนวนมากกว่าแปลงระบบวนเกษตร ความหนาแน่น ของพันธุ์ไม้มีความใกล้เคียงกัน โดยพันธุ์ไม้เด่นคือ ไทรกร่าง สะเดาช้าง ทะโล้ และมะกล่ำต้น ดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยา ในแปลงระบบวนเกษตร ทุกแปลงพบกาแฟมีดัชนีความสำคัญสูงสุด ส่วนในแปลงป่าธรรมชาติพบว่า ทะโล้มีดัชนีความสำคัญสูงสุด มวลชีวภาพของพันธุ์ไม้และการกัก เก็บธาตุอาหาร พบว่า แปลงป่าธรรมชาติมีมากกว่าแปลงระบบวนเกษตรที่มีกาแฟเป็นพืชหลักen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610831051 ณัฐวุฒิ ลือศักดิ์.pdf12.11 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.