Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78212
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอังสนา อัครพิศาล-
dc.contributor.advisorเยาวลักษณ์ จันทร์บาง-
dc.contributor.authorชยามร ถาวรen_US
dc.date.accessioned2023-06-29T00:49:33Z-
dc.date.available2023-06-29T00:49:33Z-
dc.date.issued2023-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78212-
dc.description.abstractThe bacterial disease symptoms of purple rice were observed at the Mae Hia Agricultural Research, Demonstration and Training Center, Chiang Mai, Thailand. Twenty-five isolates were obtained from bacterial leaf blight symptoms. Pathogenicity assays were performed on two growth stages (seedling and tillering stages) of the purple rice variety Kum Chao CMU 107. The results showed that three isolates, including UN13, UN32, and KDK6, infected rice leaves and caused bacterial leaf blight symptoms. At seedling stage, the bacteria UN13 was the most severe pathogen. The UN13 caused leaf blight and Kresek symptoms. Whereas UN32 and KDK6 were not pathogenic at the seedling stage. However, after 21 DPI at the tillering stage, the three isolates caused bacterial leaf blight symptoms. The bacteria UN13 were the most severe pathogen at the tillering stage while, UN32 and KDK6 were minor. Based on 16S rRNA sequencing, the pathogens were identified as Pantoea ananatis UN13, Luteibacter yeojuensis UN32 and Sphingomonas sp. KDK6. These were related to morphological and biochemical characteristics. Forty-eight isolates of antagonistic bacteria were isolated from the rhizosphere soil of rice. The high efficacy of antagonistic bacteria was selected by using the dual culture method. The results showed the bacteria KY16 and KY17 were the most efficient antagonists that inhibited three isolates of the bacterial leaf blight pathogen and had the same level of control over each pathogen. Based on 16S rRNA, gyrA and rpoB gene sequences, the antagonists KY16 and KY17 were identified as Bacillus siamensis. Antimicrobial biosynthesis genes were also investigated for the antagonistic bacteria. The results revealed that iturin A and surfactin biosynthesis genes were detectable. Moreover, KY16 and KY17 performed as a plant growth promoting rhizobacteria (PGPR) by producing siderophores and solubilizing inorganic phosphate.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectBacillus siamensisen_US
dc.subjectPantoea ananatisen_US
dc.subjectSphingomonas sp.en_US
dc.subjectsurfactinen_US
dc.subjectpurple riceen_US
dc.subjectbacterial leaf blight diseaseen_US
dc.subjectโรคขอบใบแห้งของข้าวen_US
dc.subjectข้าวก่ำen_US
dc.titleการคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์จากบริเวณรอบรากข้าวที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคของข้าวก่ำen_US
dc.title.alternativeSelection of antagonist bacteria from rhizosphere of rice to control bacterial disease in purple riceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashข้าว -- โรคและศัตรูพืช-
thailis.controlvocab.thashโรคพืช -- การป้องกันและรักษา-
thailis.controlvocab.thashโรคเกิดจากแบคทีเรียในพืช-
thailis.controlvocab.thashแบคทีเรียโรคพืช-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการสำรวจและแยกเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคขอบใบแห้งของข้าวก่ำ ภายในพื้นที่ศูนย์วิจัย สาธิต และฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถแยกเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งหมด 25 ไอโซเลท เมื่อปลูกเชื้อลงบนใบข้าวก่ำพันธุ์ก่ำเจ้า มช. 107 ทั้งหมด 2 ระยะ ได้แก่ ระยะกล้า และระยะแตกกอ พบว่ามีเชื้อแบคทีเรีย 3 ไอโซเลทที่สามารถก่อให้เกิดอาการขอบใบแห้ง ได้แก่ ไอโซเลท UN13 UN32 และ KDK6 สำหรับการศึกษาในระยะกล้า พบว่าไอโซเลท UN13 ก่อให้เกิดความรุนแรงมากที่สุด ทำให้เกิดอาการขอบใบแห้ง และต้นแห้งตาย (kresek) ในขณะที่ไอโซเลท UN32 และ KDK6 ไม่ก่อให้เกิดโรคในระยะกล้า แต่เมื่อปลูกเชื้อสาเหตุโรคลงในระยะแตกกอพบว่าแบคทีเรีย ทั้ง 3 ไอโซเลท สามารถก่อให้เกิดอาการขอบใบแห้งได้ หลังจากการปลูกเชื้อ 21 วัน พบว่าเชื้อแบคทีเรียไอโซเลท UN13 ก่อให้เกิดความรุนแรงมากที่สุด รองลงมาคือ ไอโซเลท UN32 และ KDK6 เมื่อนำมาวิเคราะห์และระบุชนิดของแบคทีเรียด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุล โดยเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมที่บริเวณตำแหน่งยีน 16S rRNA พบว่าไอโซเลท UN13 จัดจำแนกเป็น Pantoea ananatis ส่วนไอโซเลท UN32 จัดจำแนกเป็น Luteibacter yeojuensis และไอโซเลท KDK6 จัดจำแนกอยู่ในจีนัส Sphingomonas sp. ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและคุณสมบัติทางชีวเคมี จากนั้นได้แยกแบคทีเรียปฏิปักษ์จากดินบริเวณรอบรากข้าวได้ทั้งหมด 48 ไอโซเลท และคัดเลือกด้วยวิธี dual culture พบว่าแบคทีเรียปฏิปักษ์ ไอโซเลท KY16 และ KY17 ที่แยกได้จากดินบริเวณรอบรากของข้าวก่ำพันธุ์ก่ำเมืองยองมีศักยภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคขอบใบแห้งของข้าวก่ำได้ และแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้งสองไอโซเลทมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน เมื่อนำมาวิเคราะห์และระบุชนิดของแบคทีเรียปฏิปักษ์ด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุลโดยเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในบริเวณยีน 3 ตำแหน่ง ได้แก่ บริเวณตำแหน่งยีน 16S rRNA gyrA และ rpoB พบว่าแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท KY16 และ KY17 จัดจำแนกเป็น Bacillus siamensis เมื่อตรวจสอบยีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสารต้านจุลินทรีย์พบว่าแบคทีเรียปฏิปักษ์มียีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสารต้านจุลินทรีย์ในกลุ่ม iturin A และ surfactin เมื่อตรวจสอบคุณสมบัติการเป็นแบคทีเรียปฏิปักษ์ของ B. siamensis ในกลไกด้านการแข่งขันกับเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคและการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช พบว่าแบคทีเรียสามารถสร้าง siderophore และละลาย phosphate ได้en_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620831046-ชยามร ถาวร.pdf7 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.