Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78196
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์ | - |
dc.contributor.advisor | ศิวพร อึ้งวัฒนา | - |
dc.contributor.author | สุกฤตา สวนแก้ว | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-06-28T01:47:51Z | - |
dc.date.available | 2023-06-28T01:47:51Z | - |
dc.date.issued | 2022-01 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78196 | - |
dc.description.abstract | Thai society nourishes and encourages school age children to learn through digital devices. However, this causes digital eye strain. Therefore, encouraging parental participation in vision care for school age children who appropriately use digital devices will aid in the prevention of digital device-induced eye strain. This study used a quasi-experimental design with two groups, pretest-posttest, to investigate the effects of family participation enhancement programs on families' vision care practices for school age children using digital devices. The participants were parents or guardians of children in grades 1-3 in Chiang Mai province. Schools were assigned, by simple random sampling, to a group which either received or did not receive the program. Purposive sampling was used, with 19 persons per group. The instruments utilized in the tests were family participation enhancement programs devised by the researcher based on Community Participation (Cohen & Uphoff, 1986) for a duration of 8 weeks. Furthermore, instructional plans, a family participation promotion manual, video instructors, a family participation promotion kit, and LINE apps were available. The data collecting instrument was a family practice questionnaire on vision care for school age children administered using digital devices, with a Cronbach's alpha coefficient of 0.98. Data were analyzed using descriptive statistics, the Chi-square test, the Fisher exact test, and an independent t-test. The findings revealed that parents or guardians had a higher degree of family practice in caring for the vision of school age children who used digital devices after receiving the program than before (p < .001). After receiving the program, parents or guardians who attended the program had a higher degree of family practice in caring for the vision of school age children who used digital devices than those who did not attend the program (p = .001). This research can be used as a model to promote vision care for school age children who use digital devices based on family participation and can be expanded to other schools. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการปฏิบัติของครอบครัวในการดูแลสายตาของเด็กวัยเรียนที่ใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัล | en_US |
dc.title.alternative | Effect of the family participation enhancing program on families’ vision care practices for school age children using digital devices | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ครอบครัว | - |
thailis.controlvocab.thash | การมีส่วนร่วมของบิดามารดา | - |
thailis.controlvocab.thash | อุปกรณ์ดิจิทัลอิเล็กทรอนิกส์ | - |
thailis.controlvocab.thash | เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ | - |
thailis.controlvocab.thash | ตาล้า | - |
thailis.controlvocab.thash | ตา -- โรค | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | สังคมไทยในปัจุบัน มีการนำอุปกรณ์ดิจิทัลมาใช้ในการเลี้ยงดู และส่งเสริมการเรียนรู้เด็กวัยเรียนส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการตาล้าจากอุปกรณ์ดิจิทัล ดังนั้น การส่งสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลสายตาของเด็กวัยเรียนที่ใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลอย่างเหมาะสม จะช่วยป้องกันกลุ่มอาการตาล้าจากอุปกรณ์ดิจิทัล การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง(two groups pretest-posttest design) การทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการปฏิบัติของครอบครัวในการดูแลสายตาของเด็กวัยเรียนที่ใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ในจังหวัดเชียงใหม่ สุ่มโรงเรียนเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ และกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมฯ โดยการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จำนวนกลุ่มละ 19 ราย เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากทฤษฎีการมีส่วนร่วมของชุมชนของโคเฮนและ อัพฮอฟ (Cohen & Uphoff, 1986) ดำเนินการเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ แผนการให้ความรู้คู่มือส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว สื่อวีดิทัศน์ ชุดอุปกรณ์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและแอปพลิเคชันไลน์ ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามการปฏิบัติของครอบครัวในการดูแลสายตาของเด็กวัยเรียนที่ใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัล ทดสอบความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบไคว์สแควร์ สถิติทดสอบฟิชเชอร์เอ็กแซค และสถิติทดสอบค่าทีแบบอิสระ ผลการวิจัย พบว่า บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีระดับการปฏิบัติของครอบครัวในการดูแลสายตาของเด็กวัชเรียนที่ใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลภายหลังได้รับโปรแกรมฯ มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และภายหลังได้รับโปรแกรมฯ บิดามารดาหรือผู้ปกครองกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ มีระดับการปฏิบัติของครอบครัวในการดูแลสายตาของเด็กวัยเรียนที่ใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัล มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมฯ แตกต่างกันอช่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .001) ผลการวิจัยนี้ สามารถนำใช้เป็นต้นแบบการส่งเสริมการดูแลสายตาของเด็กวัยเรียนที่ใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัล โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของกรอบครัว และขยายผลสู่โรงเรียนอื่นต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
631231004 สุกฤตา สวนแก้ว.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.