Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78140
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จินดารัตน์ ชัยอาจ | - |
dc.contributor.advisor | โรจนี จินตนาวัฒน์ | - |
dc.contributor.author | วรณัน ธีร์สุดาพรรณ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-06-24T09:15:00Z | - |
dc.date.available | 2023-06-24T09:15:00Z | - |
dc.date.issued | 2022-01 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78140 | - |
dc.description.abstract | Insomnia is the most common problem among older persons with heart failure. Insomnia has a negative impact on older persons with heart failure in various aspects. Cognitive and behavioral therapy for insomnia (CBT-I) is a combination of multiple components for management of insomnia. It can reduce the severity of insomnia and improve sleep quality. The purpose of this quasiexperimental study was to examine the effects of an insomnia management program developed from the CBT-I concepts of Morin (Morin, 1993) and a literature review on insomnia severity and sleep quality. The subjects were older persons with heart failure, aged between 60-75 years, receiving outpatient treatment from January to June 2021. A total of 48 subjects were purposive selected and assigned into a control group and an experimental group equally, with 24 in each group; however, one participant from the experimental group withdrew from the study due to the COVID-19 situation. The research instruments consisted of 1) the Insomnia Severity Index (ISI), 2) the Thai-Pittsburgh Sleep Quality Index (Thai-PSQI), 3) an Insomnia Management Program for older persons with heart failure which consisted of education, finding sleep stimuli and dysfunctional thoughts, cognitive therapy, behavioral therapy (including sleep stimulus control and sleep hygiene), progressive muscle relaxation, and monitoring for practices, 4) an Insomnia Management Program Manual, 5) a sleep diary, and 6) a progressive muscle relaxation video. McNemar’s test and Chi-square test were used to analyze the data. The results of this study revealed that: 1. The proportion of older persons with heart failure receiving the insomnia management program had lower insomnia severity levels at weeks 6 and 10 than the group receiving usual care (p < .05). 2. The proportion of older persons with heart failure after 6 and 10 weeks of receiving the insomnia management program had lower insomnia severity levels than before receiving the program (p < .05). 3. The proportion of older persons with heart failure receiving the insomnia management program had better sleep quality at weeks 6 and 10 than the group receiving usual care (p < .05). 4. The proportion of older persons with heart failure after 6 and 10 weeks of receiving the insomnia management program had better sleep quality than before (p < .05). The findings demonstrated that the insomnia management program could reduce the severity of insomnia and improve sleep quality. Therefore, an insomnia management program should be used as a nursing intervention for other older people with other chronic diseases. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมการจัดการการนอนไม่หลับต่อความรุนแรงของการนอนไม่หลับและคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว | en_US |
dc.title.alternative | Effects of Insomnia Management Program on Insomnia Severity and Sleep Quality Among Older Persons with Heart Failure | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ผู้สูงอายุ | - |
thailis.controlvocab.thash | การนอนหลับ | - |
thailis.controlvocab.thash | การนอนหลับผิดปกติ | - |
thailis.controlvocab.thash | หัวใจวาย -- ผู้ป่วย | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ส่งผลกระทบ ด้านลบต่อผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในหลาย ๆ ด้านการจัดการ โดยวิธีการบำบัดการคิดรู้และ พฤติกรรมสำหรับการนอนไม่หลับที่มีการจัดการปัญหาการนอนหลับร่วมกันหลายองค์ประกอบ จะช่วยให้ลดความรุนแรงของการนอนไม่หลับและเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้ การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการการนอนไม่หลับที่พัฒนาจากแนวคิดของโมริน (Morin, 1993) ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องต่อความรุนแรงของการนอนไม่หลับและ คุณภาพการนอนหลับ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอายุตั้งแต่ 60-75 ปี เข้ารับ การรักษาแบบผู้ป่วยนอกตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติ ที่กำหนดจำนวน 48 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จำนวน 24 ราย แต่มีกลุ่มทดลองจำนวน 1 ราย ออกจากการวิจัยเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความรุนแรง ของอาการนอนไม่หลับ 2) แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของพิตต์เบิร์กฉบับภาษาไทย 3) โปรแกรมการจัดการการนอนไม่หลับสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ประกอบด้วย การค้นหาสิ่งเร้าและความคิดที่บิดเบือนเกี่ยวกับการนอนหลับ การบำบัดการคิด การให้ความรู้ การบันทึกการนอนหลับ การปรับพฤติกรรมการนอนหลับ ได้แก่ การควบคุมสิ่งเร้าและสุขอนามัย การนอนหลับ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้า และการติดตามการปฏิบัติ 4 คู่มือโปรแกรม การจัดการการนอนไม่หลับ 5) สมุดบันทึกการนอนหลับ และ 6) วิดีโอภาพและเสียงการผ่อนคลาย กล้ามเนื้อแบบก้าวหน้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบของแมคนีมาร์ (McNemar test) และการทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) ผลการวิจัยพบว่า 1. สัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการการนอน ไม่หลับมีความรุนแรงของการนอนไม่หลับในสัปดาห์ที่ 6 และ 10 น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแล ตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2. สัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวหลังได้รับโปรแกรมการจัดการการนอนไม่หลับ สัปดาห์ที่ 6 และ 10 มีระดับความรุนแรงของการนอนไม่หลับน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 3. สัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการการนอน ไม่หลับมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีในสัปดาห์ที่ 6 และ 10 มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 4. สัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวหลังได้รับโปรแกรมการจัดการการนอนไม่หลับ สัปดาห์ที่ 6 และ 10 มีคุณภาพการนอนหลับที่ดีมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการ จัดการการนอนไม่หลับทำให้ความรุนแรง ของการนอนไม่หลับลดลงและคุณภาพการนอนหลับดีขึ้น จึงควรนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุโรคเรื้อรังอื่น ๆ ต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | HUMAN: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
601231014 วรณัน ธีร์สุดาพรรณ.pdf | 2.67 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.