Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78065
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยะนุช ชูโต-
dc.contributor.advisorพรรณพิไล ศรีอาภรณ์-
dc.contributor.authorกัญญาณี หนูเอียดen_US
dc.date.accessioned2023-06-17T03:03:38Z-
dc.date.available2023-06-17T03:03:38Z-
dc.date.issued2023-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78065-
dc.description.abstractExcess postpartum weight retention in first-time mothers has an ongoing impact on their health. Therefore, self-regulation to maintain a normal weight range is crucial. This quasi-experimental research study, using a control group, pretest-posttest design, aimed to compare average weight retention before and after undertaking a self-regulation program, and the average weight retention between the control and experimental groups. The sample group was comprised of 52 first-time mothers who brought their infants to get vaccinations at the Well-Baby Clinic, Health Promotion Center Region 1, Chiang Mai, from November 2021 to July 2022, after the fourth month of the puerperium period. Mothers were divided into an experimental group and a control group, with 26 people in each group. The sample group was selected according to the inclusion criteria. The experimental group underwent the self-regulation program along with routine care, while the control group underwent only routine care. The research intervention tools included the Self-Regulation Program; a self-regulation guide; the Z-Size Ladies: BMI Timeline & Program, which assesses ladies’ sizes and facial images; and a weighing scale. Tools for data collection included a Personal Data Form and an Obstetric History Form, and postpartum weight retention dietary and physical activity record books. The collected data were analyzed using descriptive statistics, paired t-test, and independent t-test. The findings demonstrated that: 1. Average postpartum weight retention among the experimental group, after undertaking the self-regulation program, was lower than before undertaking the program with a statistical significance of p < .05. 2. After the experiment, average postpartum weight retention among the experimental group was lower than that of the control group with a statistical significance of p < .05. The results demonstrated that nurses and midwives can use the self-regulation program to control weight retention within a normal range among first-time mothers. Furthermore, there should be a follow-up prospective study to assess the effectiveness of the self-regulation program on weight control among participants of this study in a subsequent pregnancy.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการกำกับตนเองen_US
dc.subjectภาวะน้ำหนักคงค้างหลังคลอดen_US
dc.subjectมารดาที่มีบุตรคนแรกen_US
dc.subjectอาหารสัดส่วนโปรตีนสูงen_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อน้ำหนักคงค้างหลังคลอดในมารดาที่มีบุตรคนแรกen_US
dc.title.alternativeEffect of the self-regulation program on postpartum weight retention among first-time mothersen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการควบคุมน้ำหนัก-
thailis.controlvocab.thashน้ำหนักตัว -- การควบคุม-
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมสุขภาพ-
thailis.controlvocab.thashมารดาและบุตร-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractมารดาที่มีบุตรคนแรกที่มีภาวะน้ำหนักคงค้างหลังคลอดมากกว่าปกติ ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดาอย่างต่อเนื่อง การกำกับตนเองให้มีน้ำหนักคงค้างอยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดมีกลุ่มควบคุมวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยน้ำหนักคงค้างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการกำกับตนเอง และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของน้ำหนักคงค้างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาที่มีบุตรคนแรก ณ ช่วงเวลา 4 เดือนหลังคลอดที่พาบุตรมารับวัคซีนที่คลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 52 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองร่วมกับการดูแลตามปกติ และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยได้แก่ 1)โปรแกรมการกำกับตนเอง 2) คู่มือการกำกับตนเอง 3) โปรแกรมจำลองรูปร่างใบหน้าของสตรี (Z – Size Ladies: BMI Timeline & Program assesses ladies sizes and facial images) และ 4) เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามประวัติทางสูติศาสตร์ และ 3) สมุดบันทึกการรับประทานอาหาร กิจกรรมทางกายและน้ำหนักคงค้างหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กันและสถิติทดสอบสองกลุ่มที่อิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักคงค้างหลังคลอดในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2. ภายหลังการทดลองค่าเฉลี่ยของน้ำหนักคงค้างหลังคลอดของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลผดุงครรภ์ควรนำโปรแกรมการกำกับตนเองไปใช้ในการดูแลมารดาที่มีบุตรคนแรกเพื่อควบคุมน้ำหนักคงค้างให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ควรมีการศึกษาแบบติดตามผลของโปรแกรมการกำกับตนเองในการควบคุมน้ำหนักของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231030-กัญญาณี หนูเอียด.pdf4.55 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.