Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78030
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทศพล มูลมณี | - |
dc.contributor.advisor | วิลาสินี อินญาวิเลิศ | - |
dc.contributor.advisor | รักธรรม เมฆไตรรัตน์ | - |
dc.contributor.author | นลินทิพย์ พรมซาว | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-06-13T10:05:10Z | - |
dc.date.available | 2023-06-13T10:05:10Z | - |
dc.date.issued | 2023-01 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78030 | - |
dc.description.abstract | The short-term progesterone-based protocol is the basic reproductive technology that can be used to enhance reproductive management and vaginal cytology is a common technique that widely used to estimate the optimal mating time and estrous cycle. However, the study of ovarian follicular dynamics, vaginal cytology, and fertility in female goats received the short-term progesterone-based protocol for fixed-time artificial insemination has been limited. Therefore, the aim of this study was to compare the ovarian follicular dynamics, vaginal cytology, and fertility in female goats received the different short-term progesterone-based protocol for fixed-time artificial insemination. In experiment 1, 60 female goats were randomized into 3 groups: T1 (P4 + PGF + PMSG; n=20), T2 (P4 + PGF + PMSG + GnRH; n=20), and T3 (P4 + PGF + PMSG + 2GnRH; n=20). At the initiation of the short-term progesterone (P4)-based synchronization protocol (day 0), female goats in T1 and T2 received normal saline while female goats in T3 received GnRH injection. All female goats received intravaginal inserts of synthetic P4 (controlled internal drug release; CIDR) for 5 days (day 0 to day 5). On day 5, CIDR was removed from vagina, PGF2α and PMSG were injected. On day 7, female goats in T1 received normal saline while female goats in T2 and T3 received GnRH injection. Ovarian follicular wave emergency and follicular growth were evaluated using transrectal ultrasound. Blood samples were collected from each female goat to analyze plasma P4 concentration. In experiment 2, 368 female goats were randomized into 2 groups that received the effective synchronization protocol from experiment 1: P4 + PGF + PMSG + GnRH (T2, n=168) and P4 + PGF + PMSG + 2GnRH (T3, n=200) protocols. All female goats were inseminated with FTAI on day 7 and day 8 and diameter of follicle and follicle population were evaluated using transrectal ultrasound. Blood samples were randomly collected to analyze plasma estradiol concentration. Wet smears of 53 female goats were prepared from vaginal epithelium cells, stained with Diff-Quick, and evaluated microscopically for presence and type of vaginal epithelial cells (parabasal, small intermediate, large intermediate, nucleated superficial and anucleated superficial cells). All inseminated female goats were diagnosed as pregnant at 30 days after insemination. In results of experiment 1, the proportion of goat exhibiting estrus and preovulatory follicle size did not differ among treatment groups (P>0.05). However, the proportion of goat exhibiting ovulation was greater in T3 (95%) compared with T1 (70%) but was not different when compared with T2 (85%; P<0.05). Ovulation times of first ovulatory follicle in all groups were the highest at 72 h after CIDR removal (78.57%, 76.47% and 68.42%, respectively; P<0.05). Diameter of first POF on day 0 to day 9 did not differ among treatment groups (P>0.05). Female goats in T3 had greater growth rate of POF after CIDR removal to first ovulation than T1 and T2 (0.57 ± 0.04 mm/day vs. 0.41 ± 0.04 mm/day and 0.39 ± 0.03 mm/day, respectively; P>0.05). The plasma P4 concentrations during CIDR insert (> 1 ng/ml) and after CIDR removal (< 1 ng/ml) did not differ among treatment groups (P>0.05). In the results of experiment 2, the proportion of goat exhibiting estrus, pregnancy rate, and kidding rate did not differ among treatment groups (P>0.05). However, prolificacy and litter size were the greatest in female goats receiving P4 + PGF + PMSG + 2GnRH program compared with P4 + PGF + PMSG + GnRH program (154.10% vs. 143.55% and 1.72 ± 0.094 kids/doe vs. 1.44 ± 0.075 kids/doe respectively; P<0.05). In addition, litter size proportion for single in female goats receiving P4 + PGF + PMSG + GnRH program was greater than female goats receiving P4 + PGF + PMSG + 2GnRH program (61.29% vs. 42.62%; P<0.05). Number of total follicles (< 2.0 to > 4.0 mm) in female goats receiving P4 + PGF + PMSG + 2GnRH program was greater than P4 + PGF + PMSG + GnRH program (3.08 ± 0.08 follicles vs. 2.82 ± 0.09 follicles; P<0.05). In both groups, percentage of the number of superficial cells in exhibited estrus goats was higher than anestrus goats (56.49 ± 0.82% vs. 47.78 ± 2.19%; P<0.05) and the plasma estradiol concentrations in exhibited estrous goats was higher than anestrus goats (29.21 ± 2.77 pg/ml vs. 17.00 ± 2.44 pg/ml; P<0.05). In conclusion, these results showed a beneficial effect of GnRH in the short-term progesterone-based protocol for inducing ovulation and the use of GnRH at initiation of protocol has a positive effect on the development of follicles and increasing the number of kids. Besides, a high proportion of at the day of the FTAI associated with estrous expression in female goats. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การประเมินการเปลี่ยนแปลงของฟอลลิเคิลบนรังไข่ เซลล์วิทยาของช่องคลอด และความสมบูรณ์พันธุ์ในแพะเพศเมียที่ได้รับโปรแกรมฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนพื้นฐานแบบระยะสั้นเพื่อกำหนดเวลาการผสมเทียม | en_US |
dc.title.alternative | Evaluation of ovarian follicular dynamics, vaginal cytology, and fertility in female goats received the short-term progesterone-based protocol for fixed-time artificial insemination | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | แพะ -- การสืบพันธุ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | แพะ -- การผสมเทียม | - |
thailis.controlvocab.thash | การผสมเทียม | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การใช้โปรแกรมฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนพื้นฐานแบบระยะสั้นเพื่อควบคุมการทำงานของรังไข่และกำหนดเวลาผสมเทียม จัดเป็นเทคโนโลยีการสืบพันธุ์ขั้นพื้นฐานชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการการสืบพันธุ์ และการศึกษาชีววิทยาของเซลล์ภายในช่องคลอด เพื่อระบุเวลาผสมพันธุ์ที่เหมาะสม เป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสัตว์ทั่วไป อย่างไรก็ตามการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของฟอลลิเคิลบนรังไข่ และความสมบูรณ์พันธุ์ในแพะเพศเมียที่ได้รับโปรแกรมฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนพื้นฐานแบบระยะสั้นเพื่อกำหนดเวลาการผสมเทียมร่วมกับการศึกษาทางด้านเซลล์วิทยาของช่องคลอดยังมีข้อมูลที่จำกัด ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของฟอลลิเคิลบนรังไข่ เซลล์วิทยาของช่องคลอด และความสมบูรณ์พันธุ์ในแพะเพศเมียที่ได้รับโปรแกรมฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนพื้นฐานแบบระยะสั้น ที่แตกต่างกันเพื่อกำหนดเวลาการผสมเทียม การทดลองที่ 1 แพะเพศเมียจำนวน 60 ตัว ถูกสุ่มเข้าสู่ 3 กลุ่มทดลอง คือ T1 (P4 + PGF + PMSG; n=20) T2 (P4 + PGF + PMSG + GnRH; n=20) และ T3 (P4 + PGF + PMSG + 2GnRH; n=20) โดยในวันเริ่มต้นโปรแกรม (วันที่ 0) แพะเพศเมียกลุ่ม T1 และ T2 ได้รับการฉีดน้ำเกลือ ในขณะที่แพะเพศเมียกลุ่ม T3 ได้รับการฉีด GnRH แพะเพศเมียทุกตัวได้รับการเหนี่ยวนำการตกไข่ด้วยฮอร์โมน progesterone (P4) ระยะสั้นแบบ 5 วัน โดยสอดแท่งฮอร์โมน P4 สังเคราะห์ (controlled internal drug release; CIDR) เข้าสู่ช่องคลอดเป็นเวลา 5 วัน (วันที่ 0 ถึง วันที่ 5) จากนั้นในวันที่ 5 ถอนแท่ง CIDR ออกจากช่องคลอด แพะเพศเมียทุกตัวได้รับการฉีด prostaglandins F2α (PGF2α) และ pregnant mare gonadotropin (PMSG) และในวันที่ 7 แพะเพศเมียกลุ่ม T1 ได้รับการฉีดน้ำเกลือ ในขณะที่แพะเพศเมียกลุ่ม T2 และ T3 ได้รับการฉีด GnRH ประเมินการปรากฏคลื่นการพัฒนาของฟอลลิเคิลและการเจริญเติบโตของฟอลลิเคิลบนรังไข่โดยการอัลตราซาวด์รังไข่ผ่านทวารหนัก เก็บตัวอย่างเลือดจากแพะเพศเมียแต่ละตัวเพื่อวิเคราะห์หาความเข้มข้นของฮอร์โมน P4 การทดลองที่ 2 แพะเพศเมียจำนวน 368 ตัว ถูกสุ่มเข้าสู่ 2 กลุ่มทดลอง ซึ่งได้รับโปรแกรมเหนี่ยวนำการตกไข่ที่มีประสิทธิภาพจากการทดลองที่ 1 คือ โปรแกรม P4 + PGF + PMSG + GnRH (T2, n=168) และ P4 + PGF + PMSG + 2GnRH (T3, n=200) และได้รับการผสมเทียมแบบกำหนดเวลาในวันที่ 7 และวันที่ 8 ประเมินขนาดและจำนวนประชากรของฟอลลิเคิลบนรังไข่โดยการอัลตราซาวด์ รังไข่ผ่านทวารหนัก สุ่มเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวิเคราะห์หาความเข้มข้นของฮอร์โมน estradiol และศึกษาเซลล์วิทยาในช่องคลอด โดยเตรียมสเมียร์จากเซลล์เยื่อบุช่องคลอดของแพะจำนวน 53 ตัว จากนั้นย้อมด้วยสี Diff-Quick และประเมินด้วยกล้องจุลทรรศน์สำหรับการปรากฏและชนิดของเซลล์เยื่อบุช่องคลอด (parabasal, small intermediate, large intermediate, nucleated superficial และ anucleated superficial) แพะเพศเมียทุกตัวจะได้รับการตรวจการตั้งท้องในวันที่ 30 หลังการผสมเทียม ผลการทดลองที่ 1 อัตราส่วนของแพะเพศเมียที่แสดงพฤติกรรมเป็นสัด (goat exhibiting estrus) และขนาดของฟอลลิเคิลก่อนการตกไข่ (preovulatory follicle size) ไม่แตกต่างระหว่างกลุ่มทดลอง (P>0.05) อย่างไรก็ตาม พบว่า อัตราส่วนของแพะเพศเมียที่เกิดการตกไข่ (goat exhibiting ovulation) สูงสุดในกลุ่ม T3 (95%) เมื่อเทียบกับกลุ่ม T1 (70%) แต่ไม่แตกต่างเมื่อเทียบกับกลุ่ม T2 (85%; P<0.05) แพะเพศเมียทั้ง 3 กลุ่มทดลองเกิดการ ตกไข่ใบที่หนึ่ง มากที่สุด ณ เวลา 72 ชั่วโมง ภายหลังการถอนแท่งฮอร์โมน CIDR (78.57%, 76.47% และ 68.42% ตามลำดับ; P<0.05) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของฟอลลิเคิลที่มีศักยภาพในการตกไข่ใบที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 0 ถึง วันที่ 9 ไม่แตกต่างระหว่างกลุ่มทดลอง (P>0.05) แพะเพศเมียในกลุ่ม T3 มีอัตราการเจริญเติบโตของฟอลลิเคิลที่มีศักยภาพในการตกไข่ภายหลังการสอดแท่งฮอร์โมน CIDR ถึงการตกไข่ใบที่หนึ่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่ม T1 และ T2 (0.57 ± 0.04 mm/day เทียบกับ 0.41 ± 0.04 mm/day และ 0.39 ± 0.03 mm/day ตามลำดับ; P>0.05) ความเข้มข้นของฮอร์โมน P4 ในกระแสเลือดระหว่างการสอดแท่ง CIDR (> 1 ng/ml) และหลังถอนแท่ง CIDR (< 1 ng/ml) ไม่แตกต่างระหว่างกลุ่มทดลอง (P>0.05) ผลการทดลองที่ 2 อัตราส่วนของแพะเพศเมียที่แสดงพฤติกรรมเป็นสัด (goat exhibiting estrus) อัตราการตั้งท้อง (pregnancy rate) และอัตราการคลอดลูก (kidding rate) ไม่แตกต่างระหว่างกลุ่มทดลอง (P>0.05) อย่างไรก็ตาม พบว่า ความดกของการให้ลูก (prolificacy) และจำนวนลูกต่อครอก (litter size) ในแพะเพศเมียที่ได้รับโปรแกรม P4 + PGF + PMSG + 2GnRH สูงกว่าเมื่อเทียบกับแพะเพศเมียที่ได้รับโปรแกรม P4 + PGF + PMSG + GnRH (154.10% เทียบกับ 143.55% และ 1.72 ± 0.094 ตัว/แม่ เทียบกับ 1.44 ± 0.075 ตัว/แม่ ตามลำดับ; P<0.05) นอกจากนี้ พบว่า สัดส่วนของแพะเพศเมียที่ให้ลูกหนึ่งตัว (litter size proportion for single) ในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม P4 + PGF + PMSG + GnRH สูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม P4 + PGF + PMSG + 2GnRH (61.29% เทียบกับ 42.62%; P<0.05) จำนวนประชากรฟอลลิเคิลทั้งหมดบนรังไข่ (< 2.0 to > 4.0 mm) ในแพะเพศเมียที่ได้รับโปรแกรม P4 + PGF + PMSG + 2GnRH มากกว่าเมื่อเทียบกับแพะเพศเมียที่ได้รับโปรแกรม P4 + PGF + PMSG + GnRH (3.08 ± 0.08 ใบ เทียบกับ 2.82 ± 0.09 ใบ; P<0.05) แพะเพศเมียทั้ง 2 กลุ่ม ที่แสดงการเป็นสัดมีอัตราส่วนของเซลล์ superficial ทั้งหมดดสูงกว่าเมื่อเทียบกับแพะเพศเมียที่ไม่เป็นสัด (56.49 ± 0.82% เทียบกับ 47.78 ± 2.19%; P<0.05) และแพะเพศเมียที่เป็นสัดมีความเข้มข้นของฮอร์โมน estradiol ในกระแสเลือดสูงกว่าเมื่อเทียบกับแพะเพศเมียที่ไม่เป็นสัด (29.21 ± 2.77 pg/ml เทียบกับ 17.00 ± 2.44 pg/ml; P<0.05) ดังนั้น ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงผลดีของการใช้ฮอร์โมน GnRH ในโปรแกรมฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนพื้นฐานแบบระยะสั้นเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่ และการเสริมฮอร์โมน GnRH ในวันเริ่มต้นโปรแกรมส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของฟอลลิเคิลที่มีศักยภาพในการตกไข่ และช่วยเพิ่มผลผลิตจำนวนลูกต่อครอก นอกจากนี้ อัตราส่วนที่สูงของเซลล์ superficial ณ วันที่กำหนดเวลาการผสมเทียมเกี่ยวข้องกับการแสดงการเป็นสัดในแพะเพศเมีย | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
630831031-นลินทิพย์ พรมซาว.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.