Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78019
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อัจฉรา สุคนธสรรพ์ | - |
dc.contributor.advisor | สุภารัตน์ วังศรีคูณ | - |
dc.contributor.author | ธิติสุดา ชื่นใจ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-06-13T07:37:30Z | - |
dc.date.available | 2023-06-13T07:37:30Z | - |
dc.date.issued | 2021-03 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78019 | - |
dc.description.abstract | Sepsis is a common life-threatening condition with mortality rates that are steadily increasing yearly. This retrospective descriptive study aimed to analyze the situation regarding management for receiving antibiotics among sepsis patients in the emergency department (ED) in a tertiary care hospital based on the Donabedian Nursing Quality Assessment Model (Donabedian, 2002). This model is composed of structure, process and outcomes. Samples consisted of 2 groups: the first group were the 306 accessible medical records of patients with sepsis who were treated in the ED from July, 2018–June, 2019 and the second group were 40 health personnel who involved in management the patients in the first group. The instruments included 1) the Sepsis Patient’s Demographic Data Record Form, 2) the Situation Record Form: Management for Receiving Antibiotics in Sepsis Patients at Emergency Department, 3) the Health Personnel’s Demographic Data Record Form, and 4) the Structure and Process of Management for Receiving Antibiotics in Sepsis Patients Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and content categorization. The results of this study were as follows: Structure: The results revealed that 1. The agency had a clearly established policy regarding management quality indicator for receiving antibiotics in sepsis patients including standard guidelines for implementation, Sepsis Fast Track development, quality indicators for setting and monitoring, and policy deployment through various channels as well as for regularly reviewing improvement; 2. The agency had manpower management for physicians, nurses, medical laboratory technologists, and pharmacists, but still not have enough manpower at all time, especially nurses; 3. The agency’s multidisciplinary working system was not clearly established; and 4. Material and medical supplies were mostly well prepared, but there was a limitation of ED antibiotics supplied which caused delayed management if needed antibiotics were not supplied. Process: The results showed the average time for each of the process were as followings: 1. The average time used for the screening process was 1.48 minutes (S.D. = 0.62); 2. The average time used for the diagnostic process was 120.07 minutes (S.D. = 31.00); 3. The average time used for the treatment process was 10.34 minutes (S.D. = 10.17); Outcomes: The results revealed that: 1. The average time for receiving antibiotics among sepsis patients was 82.39 minutes (S.D.= 65.24); 2. The number of patients receiving antibiotics within 60 minutes was 149 (48.69%); 3. The number of patients who developed septic shock was 64 (20.92%); and 4. The number of patients who died within 72 hours after receiving ED care was 32 (10.46%). Results from this study can be used as input for quality development regarding management for receiving antibiotics in sepsis patients in the emergency department in this tertiary care hospitals in order to aim for more positive outcomes. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด | en_US |
dc.subject | การติดเชื้อในกระแสเลือด | en_US |
dc.title | การจัดการเพื่อได้รับยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ที่หน่วยตรวจฉุกเฉิน: การวิเคราะห์สถานการณ์ | en_US |
dc.title.alternative | Management for receiving antibiotics in Sepsis patients at emergency department: situational analysis | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ยาปฏิชีวนะ | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้ป่วย -- การดูแล | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะคุกคามชีวิตที่พบบ่อยและมีแนวโน้มอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปี การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาช้อนหลังเชิงพรรณนา (retrospecctive descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการเพื่อได้รับยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่ มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ที่หน่วยตรวจฉุกเฉิน โรงพยาบาลตติยภูมิ ตามกรอบแนวคิดการประเมินคุณภาพการพยาบาล ของโดนาบีเดียน (Donabedian, 2002) ซึ่งประกอบด้วย โครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นข้อมูลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ที่ได้รับการรักษาที่หน่วยตรวจฉุกเฉิน ระหว่างกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2562 ที่เข้าถึงได้ จำนวน 306 คน กลุ่มที่ 2 เป็นบุคลากรสุขภาพผู้ปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลาเดียวกัน จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด 2) แบบบันทึกข้อมูลสถานการณ์การจัดการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 3) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรสุขภาพ และ 4) แบบสอบถามด้านโครงสร้างและกระบวนการจัดการเพื่อได้รับขาปฏิชีวนะในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้วิจัยนำข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและจัดหมวดหมู่เนื้อหา ผลการศึกษา มีดังนี้ ด้านโครงสร้าง พบว่า 1. หน่วยงานมีนโยบายการจัดการเพื่อได้รับยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างชัดเจน ครอบคลุมการนำแนวปฏิบัติที่มีมาตรฐานมาใช้ การพัฒนาระบบบริการ Sepsis FastTrack การกำหนดและติดตามตัวชี้วัดคุณภาพการจัดการ มีการสื่อสารนโขบายผ่านช่องทางต่างๆ และมีการทบทวนปรับปรุงระบบบริการเป็นระยะ 2. หน่วยงานมีการจัดกำลังคน ครอบคลุมแพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ และเภสัชกรแต่ขังไม่เพียงพอต่อการให้บริการที่มีคุณภาพตลอดเวลา โดยเฉพาะ ในส่วนของพยาบาล 3. หน่วยงานไม่มีความชัดเจนของระบบการทำงานร่วมกันของสหสาขาวิชาชีพ และ 4. หน่วยงานมีการจัดสรรวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์พร้อมใช้แต่มีข้อจำกัดในการสำรองยาปฏิชีวนะ ทำให้เกิดความล่าช้าหากจำเป็นต้องใช้ยานอกเหนือการสำรอง ด้านกระบวนการ พบว่าเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในแต่ละกระบวนการ มีดังนี้ 1. กระบวนการคัดกรอง ใช้เวลาเฉลี่ย 1.48 นาที (S.D. = 0.62) 2. กระบวนการวินิจฉัยโรค ใช้เวลาเฉลี่ย 120.07 นาที (S.D. = 31.00) 3. กระบวนการให้การรักษา ใช้เวลาเฉลี่ย 10.34 นาที (S.D. = 10.17) ด้านผลลัพธ์ พบว่า 1. ระยะเวลาเฉลี่ยในการได้รับยาปฏิชีวนะของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็น 88.39 นาที (S.D.= 65.24) 2. ผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 60 นาที 149 คน (ร้อยละ 48.69) ใหม่ 3. ผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด (septic shock) 64 คน (ร้อยละ 20.92) และ4. ผู้ป่วยเสียชีวิตภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมงหลังรับบริการที่หน่วยตรวจฉุกเฉิน 32 คน (ร้อยละ 10.46) ผลการศึกษานี้สามารถนำมาเป็นข้อมูลนำเข้าเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ที่หน่วยตรวจฉุกเฉิน โรงพยาบาลตติยภูมิอันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
601231007 ธิติสุดา ชื่นใจ.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.