Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78014
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์-
dc.contributor.authorอนุชา สมศรีen_US
dc.date.accessioned2023-06-13T00:40:45Z-
dc.date.available2023-06-13T00:40:45Z-
dc.date.issued2023-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78014-
dc.description.abstractThis thesis aims to examines the change of Siamese elite’s perception and their knowledge construction towards India during 1867 – 1912. This thesis shows that the perception of Siamese elites toward India during 1867 – 1912 was change and different from earlier period. This change began gradually from the early Rattanakosin period and continued throughout 1867-1912. It was found that Siamese elites received and construct knowledge about India in each their own way. This thesis begins with exploring the Siamese elites perception toward India in the early Rattanakosin period. The Siamese elites perceived India with religious perspective and also through trade contacts. This led to a clearer view of India as a commercial trading cities while the consciousness of India as a land of the Brahmanical religion became more evident and replace Buddhist ecumene. Furthermore, together with the knowledge about India that was produced and exported by the British Empire, Siamese elites increasingly recognized India as a modern state. This knowledge about India was used by the Siamese elites during the reign of King Rama IV to respond to the challenges posed by Western modernity and to support political stability. The increased production and exportation of knowledge about India, as well as the perception and knowledge of India held by Siamese elites in the previous era, were key factors that led to a change in the perception of India among Siamese elites during the reign of King Chulalongkorn (Rama V), who came to view India as a civilized British colonial state. Furthermore, India became a source of knowledge used by Siamese elites to describe India in their writings, which reflect the knowledge construction about India by merge external knowledge with their own subjectivity. This resulted in a characteristic of knowledge that reveal the perception of the Siamese elites towards India during 1867-1912.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectอินเดียen_US
dc.subjectชนชั้นนำสยามen_US
dc.subjectพระบาสมเด็๋จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวen_US
dc.subjectการรับรู้และการผลิตสร้างความรู้en_US
dc.subjectสมบูรณาญาสิทธิราชย์en_US
dc.titleการเปลี่ยนแปลงการรับรู้และการผลิตสร้างความรู้ของชนชั้นนำสยามต่ออินเดีย พ.ศ. 2410 – 2455en_US
dc.title.alternativeThe Change of Siamese elite’s perception and their knowledge construction towards India 1867 – 1912en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashไทย -- ประวัติศาสตร์, 2410-2455-
thailis.controlvocab.thashไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- อินเดีย-
thailis.controlvocab.thashชนชั้นนำ -- ไทย-
thailis.controlvocab.thashอำนาจ (สังคมศาสตร์) -- ไทย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของชนชั้นนำสยามช่วง พ.ศ. 2410-2455 รวมถึงการผลิตสร้างความรู้เกี่ยวกับอินเดียที่ชนชั้นนำสยามรับเข้ามาในช่วงเวลาดังกล่าว วิทยานิพนธ์นี้แสดงให้เห็นว่า มุมมองของชนชั้นนำสยามในช่วง พ.ศ. 2410-2455 มีการเปลี่ยนแปลงจากสมัยก่อนหน้า โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ค่อยๆเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และตลอดระยะเวลาดังกล่าวจนถึงช่วง พ.ศ. 2410-2455 ก็พบว่าชนชั้นนำสยามมีการรับและผลิตสร้างความรู้เกี่ยวกับอินเดียที่แตกต่างกัน ในช่วงแรกชนชั้นสยามรับรู้อินเดียด้วยมุมมองทางศาสนาในขณะเดียวกันก็รับรู้ผ่านการติดต่อค้าขายด้วยเช่นกัน ความคิดเป็นเหตุเป็นผลของชนชั้นนำที่ค่อยๆเกิดขึ้นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ทำให้มุมมองต่ออินเดียเริ่มชัดเจนขึ้นในฐานะเมืองท่าค้าขาย ในขณะที่สำนึกต่ออินเดียในฐานะดินแดนของศาสนาพราหมณ์ฮินดูเริ่มปรากฏชัดมากขึ้น แทนที่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา ประกอบกับความรู้เกี่ยวกับอินเดียที่ผลิตและส่งออกโดยจักรวรรดิอังกฤษทำให้ชนชั้นนำสยามยิ่งรับรู้อินเดียในฐานะรัฐสมัยใหม่มากขึ้น ความรู้นี้เองที่ชนชั้นนำสยามในช่วงรัชกาลที่ 4 เลือกหยิบมาใช้เพื่อตอบโต้การท้าทายพุทธศาสนาที่เข้ามากับความคิดแบบตะวันตก ในขณะเดียวกันความรู้เกี่ยวกับอินเดียก็ถูกใช้เพื่อแสดงทัศนะการมองโลกที่ก้าวพ้นความคิดแบบจารีตของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อสนับสนุนเสถียรภาพทางการเมืองของพระองค์ ความรู้และมุมมองต่ออินเดียที่เกิดขึ้นได้ส่งผ่านมาสู่รัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2410-2455 ประกอบกับความรู้เกี่ยวกับอินเดียถูกผลิตและส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะอินเดียในฐานะดินแดนในปกครอง ของอังกฤษอันทันสมัย ยิ่งทำให้สำนึกต่ออินเดียคลี่คลายอย่างสูงสุดในฐานะที่มีความเจริญแบบตะวันตก นอกจากนี้อินเดียยังกลายเป็นแหล่งวัตถุดิบที่เหล่าชนชั้นนำในราชสำนักหยิบมาใช้ประกอบคำอธิบายอินเดียในงานเขียนของตน งานเขียนเหล่านี้เป็นสิ่งสะท้อนการผลิตสร้างความรู้เกี่ยวกับอินเดียผ่านการรับข้อมูลจากภายนอกที่ผสมผสานกับอัตวิสัย จนเกิดเป็นชุดข้อมูลความรู้ที่มีลักษณะเฉพาะที่ทำให้เห็นมุมมองของชนชั้นนำสยามต่ออินเดียในช่วงเวลานั้นen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610131025-อนุชา สมศรี.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.