Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77981
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราพร กุลสาริน-
dc.contributor.advisorปิยะวรรณ สุทธิประพันธ์-
dc.contributor.authorจิราพัชร ทะสีen_US
dc.date.accessioned2023-06-09T00:45:53Z-
dc.date.available2023-06-09T00:45:53Z-
dc.date.issued2023-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77981-
dc.description.abstractThe house cricket, Acheta domesticus (Linnaeus), is a highly nutritious insect. It has a short life cycle; can both quickly increase its population and generates more money for farmers. However, in the process of rearing crickets, farmers often lack some basic information either on cricket egg laying, suitable egg laying media for cricket rearing, and appropriate cricket population per area. This research studied was aimed to study the ovary development characteristics of adult female house crickets at 96 hours (4 days), it was found that ovaries were fertile, and this is the ready time for crickets to lay eggs. The cricket eggs are about 0.4 centimeters wide and 2.5 centimeters long. The house cricket lays about 1,795 eggs throughout its lifespan. It was also found that house crickets laid eggs during the night time (1,059 eggs) than during the day time (688 eggs). When comparing between daily egg collecting (856 eggs) and every other day egg collecting (867 eggs), there is no statistical difference. However, every other day eggs collecting requires less labor, and laying media costs. For the study of suitable egg laying media, it was found that peat moss was the most suitable egg laying of house crickets. Peat moss at 50 percent moisture content provided the maximum average eggs laid and more than 90 percent of the hatching rate. Raising house crickets in hiding materials of egg boards and kraft paper can make a survival rate more than 90 percent, a growth rate more than 80 percent, and a high average weight of adult house crickets. There is also a higher proportion of females than males. The laboratory analysis of aflatoxin and heavy metal contamination of egg board and kraft paper had found that the egg panels contained mercury (0.75) and lead (3.19) that exceeded the requirements for food contact paper products. For the house crickets rearing in hiding materials of kraft paper and egg boards, copper and zinc contamination were found in an amount which did not exceed the food standards of contaminants. The study on the suitable number of rearing house crickets area with 60 cm width, 120 cm length, and 60 cm height with egg-laying as a hiding material, it was found that the initial number of hatching was 10,000, and 12,000 per the rearing area can make high returns because the house crickets had more than 75 percent of survival rate, had a high cricket yield per rearing area, and a high average weight of adult crickets. The FCR (1.94%) and ECI (51.34%) were both acceptable levels.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectจิ้งหรีดบ้านen_US
dc.subjectAcheta domesticusen_US
dc.subjectการวางไข่en_US
dc.subjectวัสดุหลบซ่อนen_US
dc.subjectจำนวนจิ้งหรีดต่อกล่องเลี้ยงen_US
dc.titleการพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดบ้านในเชิงพาณิชย์en_US
dc.title.alternativeDevelopment of mass rearing techniques of house cricket in commercial scaleen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashจิ้งหรีด -- การเลี้ยง-
thailis.controlvocab.thashจิ้งหรีด -- แง่เศรษฐกิจ-
thailis.controlvocab.thashจิ้งหรีด-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractจิ้งหรีดบ้าน Acheta domesticus (Linnaeus) เป็นแมลงที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น สามารถเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร แต่ในกระบวนการเลี้ยงจิ้งหรีดของเกษตรกรอาจขาดข้อมูลพื้นฐานบางประการทั้งด้านการวางไข่ของจิ้งหรีด วัสดุหลบซ่อนที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด และจำนวนประชากรจิ้งหรีดที่เหมาะสมต่อบ่อเลี้ยง การศึกษาวิจัยนี้ได้ศึกษาลักษณะการพัฒนารังไข่ของจิ้งหรีดบ้านตัวเต็มวัยเพศเมียที่ 96 ชั่วโมง (4 วัน) พบว่ารังไข่มีความสมบูรณ์ และเป็นระยะที่จิ้งหรีดพร้อมวางไข่ ซึ่งไข่จิ้งหรีดมีขนาดกว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร โดยจิ้งหรีดบ้านมีการวางไข่ตลอดอายุขัยประมาณ 1,795 ฟอง ซึ่งมีการวางไข่ในช่วงเวลากลางคืน (1,059 ฟอง) สูงกว่าเวลากลางวัน (688 ฟอง) เมื่อเปรียบเทียบการเก็บไข่ทุกวัน (856 ฟอง) กับการเก็บไข่วันเว้นวัน (867 ฟอง) จำนวนไข่ที่ได้ทั้ง 2 กรรมวิธี ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่การเก็บไข่วันเว้นวันใช้แรงงานและต้นทุนวัสดุวางไข่น้อยการเก็บไข่ทุกวัน สำหรับการศึกษาชนิดของวัสดุวางไข่ที่เหมาะสมต่อการวางไข่ พบว่า วัสดุพีทมอสมีความเหมาะสมกับการวางไข่จิ้งหรีดบ้านมากที่สุด และในวัสดุวางไข่ พีทมอสที่ระดับความชื้น 50 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการวางไข่เฉลี่ยสูงสุด อีกทั้งมีอัตราการฟักออกจากไข่มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ การเลี้ยงจิ้งหรีดบ้านในวัสดุหลบซ่อนแผงไข่ และกระดาษคราฟท์ ทำให้จิ้งหรีดบ้านมีอัตรารอดชีวิตมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ อัตราการเจริญเติบโตมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักเฉลี่ยของจิ้งหรีดบ้านตัวเต็มวัยสูง อีกทั้งมีสัดส่วนเพศเมียสูงกว่าเพศผู้ ผลวิเคราะห์การปนเปื้อนของ อะฟลาทอกซินและโลหะหนักในห้องปฏิบัติการของแผงไข่และกระดาษคราฟท์ พบว่า แผงไข่มีปรอท (0.75) และตะกั่ว (3.19) ที่เกินข้อกําหนดให้ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระดาษสัมผัสอาหาร และจิ้งหรีดบ้านที่เลี้ยงในวัสดุหลบซ่อนกระดาษคราฟท์และแผงไข่ พบการปนเปื้อนของทองแดงและสังกะสีในปริมาณไม่เกินมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน จำนวนจิ้งหรีดบ้านที่เหมาะสมต่อบ่อเลี้ยงขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร สูง 60 เซนติเมตร ที่มีแผงไข่เป็นวัสดุหลบซ่อน พบว่า จำนวนเริ่มต้นของจิ้งหรีดบ้านระยะแรกฟัก 10,000 และ 12,000 ตัวต่อพื้นที่เลี้ยง ทำให้ได้ผลตอบแทนสูง โดยจิ้งหรีดมีอัตราการรอดชีวิตมากว่า 75 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำหนักผลผลิตจิ้งหรีดต่อบ่อเลี้ยง น้ำหนักเฉลี่ยของจิ้งหรีดตัวเต็มวัยสูง และค่าของ FCR (1.94%) และ ECI (51.34%) อยู่ในระดับปกติen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610831025-จิราพัชร ทะสี.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.