Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77968
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัจฉรา สุคนธสรรพ์-
dc.contributor.advisorสุภารัตน์ วังศรีคูณ-
dc.contributor.authorปรีชา ศรีบุญเรืองen_US
dc.date.accessioned2023-06-08T01:08:18Z-
dc.date.available2023-06-08T01:08:18Z-
dc.date.issued2023-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77968-
dc.description.abstractCritical trauma management at emergency departments (ED) is crucial for patient outcomes. This implementation research aimed to develop a Critical Trauma Management Model at an emergency department and to study its effectiveness on ED management duration and the mortality rates of critical trauma patients. The National Health and Medical Research Council’s Guide to the Development, Implementation and Evaluation of Clinical Practice Guidelines (NHMRC, 1999) was applied as the study framework. The participants were 1) the Critical Trauma Management Model development team, which included one physician and three nurses; 2) the pilot and implementation group, which consisted of six physicians and 14 nurses; and 3) two groups of critical trauma patients, one before and one during the model implementation, composed of 110 patients and 49 patients, respectively. The findings were as follows: 1. The Critical Trauma Management Model for ED was composed of three phases. The first phase, concerning ED preparation for receiving critical trauma patients, involved four aspects, including personnel, facilities, lifesaving equipment, and coordination preparation. The ISBAR communication model was used for information handover. Secondly, the ED critical trauma management phase was comprised of 2 management models: management by a complete team (consisting of two physicians and four nurses) and management by a modified team (consisting of one physician and three nurses), which operated when there were one and two or more trauma patients in the ED, respectively. The third phase involved preparation for ED discharge, in which the ISBAR was used for information handover. 2. The mean of ED management before implementing the model was 74.51 minutes (S.D. 34.77) which decreased to 59.76 minutes (S.D. 26.58) during model implementation. 3. The mortality rate of critical trauma patients before implementing the model was 16.36% which decreased to 6.12% during model implementation. The Critical Trauma Management Model for ED developed in this study was effective for critical trauma management. Emergency departments could apply the model for further quality improvement of critical trauma patient care.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาและการใช้รูปแบบการจัดการการบาดเจ็บวิกฤตที่แผนกฉุกเฉินen_US
dc.title.alternativeDevelopment and implementation of a critical trauma management model at an emergency departmenten_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาล -- บริการฉุกเฉิน-
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาล -- การบริหาร-
thailis.controlvocab.thashบริการเวชศาสตร์ฉุกเฉิน-
thailis.controlvocab.thashบาดแผลและบาดเจ็บ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการจัดการการบาดเจ็บวิกฤตที่แผนกฉุกเฉินมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลลัพธ์ของผู้ป่วย การวิจัยดำเนินการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการการบาดเจ็บวิกฤตที่แผนกฉุกเฉิน และศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบฯ ต่อระยะเวลาการจัดการที่แผนกฉุกเฉิน และอัตราการเสียชีวิตของผู้บาดเจ็บวิกฤต โดยประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาวิจัยด้านการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย (NHMRC, 1999) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ทีมพัฒนารูปแบบการจัดการการบาดเจ็บวิกฤต ประกอบด้วยแพทย์ 1 คน และพยาบาล 3 คน 2) กลุ่ม ผู้ทดลองใช้และใช้รูปแบบการจัดการการบาดเจ็บวิกฤต ประกอบด้วย แพทย์ 6 คน และพยาบาล 14 คน และ 3) กลุ่มผู้บาดเจ็บวิกฤต ประกอบด้วย ผู้บาดเจ็บวิกฤตก่อนการใช้รูปแบบฯ และระหว่างการใช้รูปแบบฯ จำนวน 110 คน และ 49 คน ตามลำดับ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. รูปแบบการจัดการการบาดเจ็บวิกฤตที่แผนกฉุกเฉิน ประกอบด้วย 3 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะเตรียมการของแผนกฉุกเฉินในการรับผู้บาดเจ็บวิกฤต ประกอบไปด้วยการเตรียมการ 4 ด้าน ได้แก่ การเตรียมด้านบุคลากร การเตรียมด้านสถานที่ การเตรียมด้านอุปกรณ์การช่วยชีวิต และการเตรียมด้านการประสานงาน ใช้รูปแบบการสื่อสาร ISBAR ในการส่งต่อข้อมูล 2) ระยะการจัดการการบาดเจ็บวิกฤตที่แผนกฉุกเฉิน ใช้การจัดการ 2 รูปแบบ ได้แก่ การจัดการโดยทีมสมบูรณ์ (ประกอบด้วยแพทย์ 2 คนและพยาบาล 4 คน) และ การจัดการโดยทีมดัดแปลง (ประกอบด้วยแพทย์ 1 คนและพยาบาล 3 คน) เมื่อในแผนกฉุกเฉินมีผู้บาดเจ็บเพียง 1 คน และตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตามลำดับ และ 3) ระยะการเตรียมจำหน่ายออกจากแผนกฉุกเฉิน ใช้การส่งต่อข้อมูลด้วย ISBAR 2. ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการจัดการผู้บาดเจ็บวิกฤตที่แผนกฉุกเฉินก่อนการใช้รูปแบบฯ เป็น 74.51 นาที (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 34.77) ลดลงเป็น 59.76 นาที (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 26.58) ในระหว่างใช้รูปแบบฯ 3. อัตราการเสียชีวิตของผู้บาดเจ็บวิกฤตก่อนการใช้รูปแบบฯ เป็นร้อยละ 16.36 ลดลงเป็น ร้อยละ 6.12 ในระหว่างใช้รูปแบบฯ รูปแบบการจัดการการบาดเจ็บวิกฤตที่แผนกฉุกเฉินที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยครั้งนี้มีประสิทธิผลในการจัดการการบาดเจ็บวิกฤต แผนกฉุกเฉินสามารถนำรูปแบบการจัดการฯนี้ไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บวิกฤตต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231072- PREECHA SRIBOONRUANG.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.