Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77918
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วราภรณ์ เรืองศรี | - |
dc.contributor.author | บุณฑริกา พวงคำ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-12-17T14:09:26Z | - |
dc.date.available | 2022-12-17T14:09:26Z | - |
dc.date.issued | 2022-10 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77918 | - |
dc.description.abstract | This thesis aims to examine the power of modern Thai psychiatric knowledge between 1957-1977, with emphasis on the content related to sex and gender. Additionally, it considers how modern psychiatric knowledge had invented and shaped women's self, as well as how these notions generally related to knowledge of Thai society in the “development era”. Along the processes, psy knowledge related itself to the minds of Thai individuals; i.e., psychological knowledge was connected to Thai people's sense of self as it progressed. Findings demonstrate that, on the one hand, modern psychiatric knowledge that had developed after the 1950s operated by stigmatizing and suppressing women as the most physically and mentally vulnerable. By equating the female reproductive system with psychological problems of women, the "uterus" came to represent the pathology of a woman's mind. Additionally, women were continually medicalized through psychoanalysis theory. In this way, psychological science organized and explained the sexual behavior of women, and this was how the distinction between normal and abnormal women was also brought into play. On the other hand, modern Thai psychiatry also aimed to develop a woman's sense of self within a new set of social interactions, such as those between men and women, husbands and wives, mothers and children, boys and girls, etc. Like an endless spider web, these connections were intertwined. Between 1957 and 1977, women took on a significant role in the mental health field. According to experts, women's mental health had an impact on the nation's and its inhabitants' mental health. As a result, women were seen as having duties and obligations relating to the development and care of Thai citizens' mental health. In this case, the power of psy knowledge did not only suppress women sexually, it also worked, as a positive knowledge, to construct new images and selves of women to fit within the coordinates of the development-era society. Therefore, it is a subtle kind of power operating even while instilling a sense of pride in Thai women. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | จิตเวช | en_US |
dc.subject | อำนาจความรู้ | en_US |
dc.subject | ยุคพัฒนา | en_US |
dc.subject | ผู้หญิง | en_US |
dc.subject | สังคมไทย | en_US |
dc.title | ผู้หญิง ความบ้า และจิตเวชในประเทศไทยช่วงทศวรรษ 2500-2520 | en_US |
dc.title.alternative | Women, Madness and Psychiatry in Thailand, 1950s-1970s | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | จิตเวชศาสตร์ -- ประวัติศาสตร์ | - |
thailis.controlvocab.thash | สตรี -- สุขภาพจิต | - |
thailis.controlvocab.thash | จิตผิดปกติขณะตั้งครรภ์ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ต้องการศึกษาการทำงานของอำนาจ/ความรู้จิตเวชศาสตร์ไทยสมัยใหม่ช่วงทศวรรษ 2500-2520 โดยมุ่งพิจารณาจากเนื้อหาของความรู้จิตเวชศาสตร์ในมิติทางด้านเพศและเพศสภาพ รวมไปถึงบทบาทและอิทธิพลของความรู้ในการก่อรูปและเปลี่ยนตัวตนของผู้หญิงให้เชื่อมสัมพันธ์อยู่กับความรู้และสังคมในยุคพัฒนา ในกระบวนการเหล่านี้ ความรู้จิตเวชศาสตร์ไทยสมัยใหม่ได้สร้างตัวตนของตัวเองให้เชื่อมและทำงานอยู่กับจิตใจของปัจเจกบุคคลอย่างเข้มข้น จากการศึกษาพบว่าความรู้จิตเวชศาสตร์สมัยใหม่ทศวรรษ 2500 เป็นต้นมา ในแง่หนึ่งทำงานโดยการกดทับและตีตราผู้หญิงว่าเป็นเพศที่อ่อนแอทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยเชื่อมความผิดปกติทางด้านจิตใจของผู้หญิงเข้ากับระบบสืบพันธุ์ทางเพศหญิง ส่งผลให้ “มดลูก” กลายเป็นดั่งพยาธิสภาพทางจิตใจของผู้หญิง ไม่เพียงเท่านั้น ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่มีส่วนช่วยให้ผู้หญิงกลายเป็นปัญหาทางการแพทย์อย่างเข้มข้น ส่งผลให้พฤติกรรมทางเพศของผู้หญิงถูกจัดวางและอธิบายผ่านความเป็นวิทยาศาสตร์ทางด้านจิตใจ ทั้งยังกลายเป็นตัวตัดสินความปกติและผิดปกติในผู้หญิงไปในเวลาเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่ง ความรู้จิตเวชศาสตร์ไทยสมัยใหม่ยังทำงานในการสร้างตัวตนของผู้หญิงภายใต้ชุดความสัมพันธ์ทางสังคมแบบใหม่ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิง-ผู้ชาย สามี-ภรรยา แม่-เด็ก เด็กชาย-เด็กหญิง ฯลฯ โดยที่ความสัมพันธ์ทั้งหลายเหล่านี้เชื่อมโยงถักทอกันเป็นดั่งเส้นใยแมงมุมที่เชื่อมต่อกันไปไม่มีที่สิ้นสุด ผู้หญิงถูกทำให้กลายเป็นเพศที่มีความสำคัญอย่างมากในงานสุขภาพจิตช่วงทศวรรษ 2500-2520 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญถือเอาว่าสุขภาพจิตของผู้หญิงนั้นมีผลต่อสุขภาพจิตของทั้งพลเมืองและประเทศชาติ จึงมีการยกย่องผู้หญิงให้เป็นดั่ง “แม่ของมวลมนุษยชาติ” ดังนั้นบทบาทและหน้าที่ของผู้หญิงจึงถูกผูกอยู่กับการดูแลและพัฒนาสุขภาพจิตของพลเมืองไทยให้สมบูรณ์และแข็งแรง ในที่นี้การทำงานของอำนาจ/ความรู้จึงมิได้เพียงแค่กดทับผู้หญิงในทางเพศ แต่ยังทำงานใน “เชิงบวก” อีกด้วย กล่าวคือผลิตสร้างภาพลักษณ์และตัวตนผู้หญิงขึ้นมาเพื่อตอบสนองสังคมในยุคพัฒนา ซึ่งเป็นอำนาจ/ความรู้ที่แนบเนียนลึกซึ้งขึ้นไป กระทั่งในการสร้างความภาคภูมิใจในตัวเองของผู้หญิง | en_US |
Appears in Collections: | HUMAN: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
610131021-บุณฑริกา พวงคำ .pdf | 5.84 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.