Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77904
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorBudsara Limnirunkul-
dc.contributor.advisorRuth Sirisunyaluck-
dc.contributor.advisorJuthathip Chalermphol-
dc.contributor.authorPawarisa Nakpengen_US
dc.date.accessioned2022-12-06T11:01:06Z-
dc.date.available2022-12-06T11:01:06Z-
dc.date.issued2022-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77904-
dc.description.abstractThe main objectives of this research were to develop Community Rice Center success indicators, assess the success level of Community Rice Centers, and analyze factors affecting the success of Community Rice Centers in the lower northern part of Thailand, which includes the provinces of Nakhon Sawan, Kamphaeng Phet, Phitsanulok, and Phichit. This was accomplished by using mixed methods and studying the award-winning Community Rice Center in the Community Rice Center contest during 2018–2019, one in each province, for a total of four centers, using qualitative research, including holding a group discussion, utilizing semi-structured interviews to conduct content analysis in order to link theoretical concepts and other relevant research, and preparing interview forms for quantitative research. The researcher determined the sample size using Taro Yamane's formula, with a tolerance of 0.05, from 408 Community Rice Centers. This yielded the sample size, specifically, 202 Community Rice Centers and a committee of six members per center, for a total of 1,212 individuals. There were two levels of data collection: the individual level and the group level. Using an interview form with a reliability of 0.99, collect general information, knowledge, and understanding of rice seed production, as well as the committee's opinion of the Community Rice Center. Group-Level Data Collection (center) from the Community Rice Center committee of 202 centers on general information about the Community Rice Center, success indicators for the Community Rice Center, and the success of the Community Rice Center. Employing an interview form with a 0.99 reliability, the results indicated that the average age of the Community Rice Center was 14.93 years, the average number of members was 26.92, the average number of rice seed producers was 14.34, the average rice seed production area was 276.93 Rai, and 75.70 percent of seed distribution sources were located in the most communities. Their opinions on the seven indicators of success of the Community Rice Center were moderate, as were their opinions on the center's overall success. The results of the Exploratory Factor Analysis (EFA) analysis of indicators of success of community rice centers can be used to develop the following six indicators of success of Community Rice Centers:1) Quality seed production and management: five key indicators and forty sub-elements, 2) Satisfaction with the operation of the Community Rice Center: three indicator components, 3) Group management: five indicator components, 4) Fund management: five indicator components, 5) Transparency: one indicator component; and 6) Benefit distribution: two indicator components. The evaluation of the level of success found that most Community Rice Centers had a moderate level of success, at 53.50 percent, as determined by an analysis of the factors influencing the success of the Community Rice Center. Through Stepwise Multiple Regression Analysis, it was determined that the success of the Community Rice Center was influenced by the following five factors: 1) Seed plot preparation and production, 2) Seed distribution, 3) Management, 4) Financial management, 5) Personnel management and at the 0.01 level, it was statistically significant. The main obstacles to the Community Rice Center were members' lack of understanding of the center's operation, lack of equipment for seed production, and lack of a market to buy certain rice seeds, resulting in farmers' lack of confidence in rice seed production. Therefore, relevant agencies should focus on understanding the purpose of establishing a Community Rice Center, as well as supporting knowledge, seed production materials, building and connecting a network of Community Rice Centers and seed markets, and disseminating the results of successful Community Rice Centers in order to encourage farmers with confidence in sustainable rice seed production. Key words: Indicators, Success, Community Rice Center and Rice Seedsen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.subjectIndicatorsen_US
dc.subjectSuccessen_US
dc.subjectCommunity Rice Centeren_US
dc.subjectRice Seedsen_US
dc.titleDevelopment of success indicators for community rice centers in Lower Northern Thailanden_US
dc.title.alternativeการพัฒนาตัวชี้วัดความสำเร็จของศูนย์ข้าวชุมชนในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashRice -- Seeds-
thailis.controlvocab.thashRice -- Thailand, Northern-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดความสำเร็จของศูนย์ข้าวชุมชน ประเมินระดับความสำเร็จของศูนย์ข้าวชุมชน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของศูนย์ข้าวชุมชนในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร พิษณุโลก และพิจิตร โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) โดยทำการศึกษาจากศูนย์ข้าวชุมชนที่ได้รับรางวัลในการประกวดศูนย์ข้าวชุมชน ในช่วงปี 2561-2562 จังหวัดละ 1 แห่ง รวม 4 แห่ง โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้แก่ การจัดสนทนากลุ่มโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาจัดทำแบบสัมภาษณ์สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยผู้วิจัยได้คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ที่ 0.05 จากศูนย์ข้าวชุมชนจำนวน408 ศูนย์ ซึ่งทำให้ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือศูนย์ข้าวชุมชนจำนวน 202 ศูนย์ และกำหนดคณะกรรมการจำนวนศูนย์ละ 6 คน รวม 1,212 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเป็น 2 ระดับ คือระดับบุคคลและระดับกลุ่มระดับบุคคลเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไป ความรู้ความเข้าใจในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และทัศนคติของคณะกรรมการต่อศูนย์ข้าวชุมชนเป็น โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.99 ผลการวิจัยพบว่า คณะกรรมการศูนย์ข้าวชุมชนมีอายุเฉลี่ย 55.32 ปี มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 33.33 ปี เป็นสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนเฉลี่ย 14.50 ปี มีเหตุผลในการเข้ามาเป็นสมาชิก 3 ลำดับแรก คือ ต้องการมีเมล็ดพันธุ์ดีไว้ปลูก ได้รับความรู้และข่าวสารการผลิตข้าว และต้องการมีแหล่งจำหน่ายผลผลิตที่ได้ราคาสูง ปัญหาในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวส่วนใหญ่คือเรื่องโรคแมลง รองลงมาคือขาดแคลนน้ำ และภัยธรรมชาติ มีความรู้ความเข้าใจในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในระดับมากที่สุด และมีทัศนคติโดยรวมต่อศูนย์ข้าวชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง การเก็บรวบรวมข้อมูลระดับกลุ่ม (ศูนย์) จากคณะกรรมการศูนย์ข้าวชุมชนจำนวน 202 ศูนย์ ด้านข้อมูลทั่วไปของศูนย์ข้าวชุมชน องค์ประกอบตัวชี้วัดความสำเร็จของศูนย์ข้าวชุมชน ความสำเร็จ ของศูนย์ข้าวชุมชน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.99 ผลการวิจัยพบว่าศูนย์ข้าวชุมชนมีจำนวนปีที่ก่อตั้งเฉลี่ย 14.93 ปี มีจำนวนสมาชิกเฉลี่ย 26.92 คน มีสมาชิกผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 14.34 คน มีพื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 276.93 ไร่ และมีแหล่งจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ในชุมชนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 75.70 มีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบตัวชี้วัดความสำเร็จของศูนย์ข้าวชุมชนจำนวน 7 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง และมีความคิดเห็นต่อความสำเร็จของศูนย์ข้าวชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบตัวชี้วัดความสำเร็จของศูนย์ข้าวชุมชน โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) ผลจากการวิเคราะห์ สามารถนำมาจัดทำเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของศูนย์ข้าวชุมชนได้ 6 ตัว ดังนี้ 1) การผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพและการบริหารจัดการ มีองค์ประกอบตัวชี้วัดจำนวน 5 องค์ประกอบหลัก 40 องค์ประกอบย่อย 2) ความพึงพอใจในการดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชน องค์ประกอบตัวชี้วัดจำนวน 3 องค์ประกอบ 3) การจัดการกลุ่ม องค์ประกอบตัวชี้วัดจำนวน 5 องค์ประกอบ 4) การบริหารจัดการกองทุน องค์ประกอบตัวชี้วัดจำนวน 5 องค์ประกอบ 5) ความโปร่งใส องค์ประกอบตัวชี้วัดจำนวน 1 องค์ประกอบ และ 6) การจัดสรรผลประโยชน์ องค์ประกอบตัวชี้วัดจำนวน 2 องค์ประกอบ และผลการประเมินระดับความสำเร็จ พบว่า ศูนย์ข้าวชุมชนมีความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลาง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.50 ผลจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของศูนย์ข้าวชุมชน โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของศูนย์ข้าวชุมชนมีจำนวน 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการจัดทำแปลงและผลิตเมล็ดพันธุ์ 2) ปัจจัยด้านการกระจายเมล็ดพันธุ์ 3) ปัจจัยด้านการจัดการ 4) ปัจจัยด้านการบริหารการเงิน และ 5) ปัจจัยด้านการบริหารบุคคล มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญของศูนย์ข้าวชุมชน ได้แก่ สมาชิกขาดความเข้าใจในการดำเนินงาน ของศูนย์ข้าวชุมชน ขาดวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ และขาดตลาดรับซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวที่แน่นอน ส่งผลให้เกษตรกรขาดความมั่นใจในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการสร้างความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์ข้าวชุมชน รวมทั้งสนับสนุนองค์ความรู้ วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ สร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนและตลาดรับซื้อเมล็ดพันธุ์ รวมทั้งขยายผลศูนย์ข้าวชุมชนที่ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างยั่งยืนต่อไป คำสำคัญ: ตัวชี้วัด, ความสำเร็จ, ศูนย์ข้าวชุมชน และเมล็ดพันธุ์ข้าวen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590852001 PAWARISA NAKPENG.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.