Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77890
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โสระยา ร่วมรังษี | - |
dc.contributor.advisor | ชัยอาทิตย์ อิ่นคำ | - |
dc.contributor.author | พิสิษฐ์ ชนะสงคราม | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-11-22T10:08:28Z | - |
dc.date.available | 2022-11-22T10:08:28Z | - |
dc.date.issued | 2022-10 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77890 | - |
dc.description.abstract | The effects of fertilizer rates and growing media on the growth and development of ornamental Allium were studied. The research was divided into 2 experiments: Experiment 1 studied fertilizer rates' effects on ornamental Allium's growth and development. The experimental design was completely randomized design with 3 treatments, i.e., T1) no fertilization, T2) and 3) fertilizer applications of 15-15-15 (N: P2O5: K2O) at the rate of 2.5 and 5 grams per plant per month, respectively. Data were collected for 2 phases, i.e., phase 1) from planting to flower senescence (90 - 120 days after planting: DAP) and phase 2) from flower senescence to bulb harvest (91 - 120 DAP). Plant growth and water use efficiency were recorded. The results showed that at phase 1, different fertilization rates significantly affected plant height and the number of leaves per plant. The inflorescence and inflorescence diameter circumference averaged about 41.11 and 14.01 cm, respectively, in T2. It was not significantly different from the treatment with 5 g of fertilizer per plant per month. The nutrient concentration analysis showed that the concentration of nitrogen, phosphorus, potassium, and total non-structural carbohydrates was not significantly different. Regarding the water use efficiency in phase 1, it was found that the amount of water use efficiency was not significantly different. But the transpiration rate per unit of leaf area and crop coefficient of ornamental Allium in the treatment supplied with 2.5 g of fertilizer per plant per month had the highest values of 0.53 ml/cm2/day and 2.49, respectively. In phase 2, the bulb quality in fresh weight (g) and the number of new bulbs were not significantly different. Bulb circumference and bulb diameter in the treatment with 2.5 g of fertilizer per plant per month averaged 13.46 and 29.91 cm, respectively. Stomatal conductance and transpiration rate were not significantly different. The rate of photosynthesis in the treatment with 2.5 g of fertilizer per plant per month was the highest value at 5.14 µmol/m2/s. Phosphorus and potassium concentrations of the treatment with 2.5 g and 5 g of fertilizer per plant per month were the highest values at 149.19 and 125.08 mg/g dry weight and 28.73 and 27.78 mg/L at phase 2, respectively. The total non-structural carbohydrate concentration of ornamental Allium was not significantly different among treatments. In addition, the water use value, water crop coefficient, and the water use efficiency of the plants were not significantly different among treatments. At the same time, the transpiration rate per unit of leaf area in the treatment with 5 g of fertilizer per plant per month was the highest value at 1.83 ml/cm2/day. Experiment 2: Effects of fertilizer rates and growing media on the growth and development of ornamental Allium were carried out. The objective of this study was to understand the effect of fertilizer rates and growing media on the growth and development of ornamental Allium. The experimental design was factorial in CRD with 2 factors. Factor 1) fertilizer rates at 3 levels, i.e., 1) no fertilization, 2) and 3) fertilizer applications of 15-15-15 (N: P2O5: K2O) at 2 and 5 g/plant, respectively. The second factor was 5 formulas of growing media, i.e., 1) peat moss, 2) peat moss mixed coffee grounds ratio (1:1), 3) coconut coir 4) coconut coir mixed coffee grounds rate (1:1), and 5) soil mixed with coconut coir and coffee grounds ratio (1:1:1), 15 treatments and 20 replications (1 plant per replication). The result showed that at 105 days after planting, treatment supplied with 2.5 g of fertilizer per plant using peat moss gave higher plant height than all treatments. And no fertilizer treatment using peat moss and coconut coir, with the highest number of leaves per plant at 12.16. The fresh weight, bulb diameter, bulb circumference, and the number of bulbs of the no fertilizer treatment using peat moss differed from other treatments. The rate of photosynthesis of plants supplied with fertilizer 5 g using coconut coir mixed coffee grounds was the highest at 5.63 µmol/m2/s. The stomatal conductance and transpiration rate of no fertilizer treatment using peat moss mixed coffee grounds was higher than other treatments. The crop evapotranspiration, water use efficiency, and crop coefficient in treatment with no fertilization and supplied fertilizer 2.5 g using peat moss showed the highest results. The rate of transpiration per unit of leaf area of treatment no fertilizer, supplied 5 g per plant using peat moss. And fertilizer supplied with 2.5 g per plant using coconut coir was the highest average at 0.36 ml/cm2/day, respectively. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | หอมประดับ | en_US |
dc.subject | การใช้น้ำ | en_US |
dc.title | ผลของอัตราปุ๋ย และวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของหอมประดับ | en_US |
dc.title.alternative | Effects of fertilizer rates and growing media on growth and development of Ornamental Allium | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | วัสดุปลูกพืช | - |
thailis.controlvocab.thash | พืชสวน | - |
thailis.controlvocab.thash | ปุ๋ย | - |
thailis.controlvocab.thash | โภชนาการพืช | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาผลของอัตราปุ๋ย และวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของหอมประดับ แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่ 1 ผลของอัตราปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตของหอมประดับโดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 3 กรรมวิธี ให้พืชได้รับอัตราปุ๋ยที่แตกต่างกัน ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1) ไม่ให้ปุ๋ย กรรมวิธีที่ 2) และ 3) ให้ปุ๋ยเม็ด สูตร 15-15-15 ( N:P2O5:K2O) อัตรา 2.5 และ 5 กรัมต่อต้นต่อเดือน ตามลำดับ เก็บข้อมูล 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ตั้งแต่ปลูกถึงดอกเหี่ยว (0 วัน - 90 วัน) หลังย้ายปลูกและระยะที่ 2 ดอกเหี่ยวถึงระยะพักตัว (91 วัน - 120 วัน) หลังย้ายปลูกโดยบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตของพืช และข้อมูลประสิทธิภาพการใช้น้ำของพืช ผลการทดลองพบว่า ในระยะที่ 1 การให้ปุ๋ยอัตราต่างกันทำให้ความสูงต้น และจำนวนใบของหอมประดับไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่เส้นรอบวงช่อดอก และเส้นผ่านศูนย์กลางช่อดอกในกรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ย 2.5 กรัมต่อต้นต่อเดือน (T2) มีค่ามากที่สุดคือ 41.11 และ 14.01 เซนติเมตร ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างจากกรรมวิธีที่ให้ปุ๋ย 5 กรัมต่อต้นต่อเดือน การวิเคราะห์ธาตุอาหารพบว่าธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช้โครงสร้าง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ด้านการใช้น้ำของหอมประดับในระยะที่ 1 พบว่าปริมาณการใช้น้ำ ประสิทธิภาพการใช้น้ำ มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ยกเว้นอัตราการคายน้ำต่อหน่วยพื้นที่ใบ และสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของหอมประดับในกรรมวิธีที่ให้ปุ๋ยอัตรา 2.5 กรัมต่อต้นมีค่าเฉลี่ยมากสุดที่ 0.53 และ 2.49 มิลลิลิตร/ตารางเซนติเมตร/วัน ตามลำดับ นอกจากนี้การเจริญเติบโตในระยะที่ 2 พบว่า น้ำหนักสด และจำนวนหัวใหม่ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ด้านเส้น รอบวงหัว และเส้นผ่านศูนย์กลางหัว พบว่ากรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ยอัตรา 2.5 กรัมต่อต้นต่อเดือนมีค่าเฉลี่ย 13.46 และ 29.91 เซนติเมตรตามลำดับ อัตราการเปิดปากใบ และอัตราการคายน้ำไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนอัตราการสังเคราะห์แสงของหอมประดับ ในกรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ยอัตรา 2.5 กรัมต่อต้นต่อเดือนมีค่าเฉลี่ย 5.14 ไมโครโมลต่อตารางเมตรต่อวินาที การวิเคราะห์ธาตุอาหารพบว่าความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจน และโพแทสเซียมของหอมประดับในระยะที่ 2 ในกรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ยอัตรา 2.5 และ 5 กรัมต่อต้นต่อเดือนมีค่าเฉลี่ย 149.19 และ 125.08 มิลลิกรัมต่อต้น กับ 28.73 และ 27.78 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่โครงสร้างของหอมประดับไม่แตกต่างทางสถิติ นอกจากนี้ค่าการใช้น้ำ ค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำ และค่าประสิทธิภาพการใช้น้ำของพืชไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ค่าอัตราการคายน้ำต่อหน่วยพื้นที่ใบ ในกรรมวิธีที่ให้ปุ๋ยอัตรา 5 กรัมต่อต้น มีค่ามากที่สุด 1.83 มิลลิลิตร/ตารางเซนติเมตร/วัน การทดลองที่ 2 ผลของอัตราปุ๋ย และวัสดุปลูกที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของหอมประดับ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปัจจัยร่วมของอัตราปุ๋ยและวัสดุปลูกที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของหอมประดับ วางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD จำนวน 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 อัตราปุ๋ย 3 ระดับ ได้แก่ 1) ไม่ให้ปุ๋ย 2) และ 3) ให้ปุ๋ยเม็ดสูตร 15-15-15 (N:P2O5:K2O) อัตรา 2.5 และ 5 กรัมต่อต้นต่อเดือน ร่วมกับปัจจัยที่ 2 วัสดุปลูก 5 ระดับ ได้แก่ 1) พีทมอส 2) พีทมอส:กากกาแฟ อัตรา (1:1) 3) ขุยมะพร้าว 4) ขุยมะพร้าว:กากกาแฟ อัตรา (1:1) และ 5) ดิน:ขุยมะพร้าว:กากกาแฟ อัตรา (1:1:1) จำนวน 15 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 20 ซ้ำ (ซ้ำละ 1 ต้น) จากการทดลองพบว่าที่ 105 วันหลังปลูก กรรมวิธีให้ปุ๋ยอัตรา 2.5 กรัมต่อต้นร่วมกับใช้พีทมอสมีค่าเฉลี่ยความสูงต้นมากกว่าทุกกรรมวิธี และกรรมวิธีที่ไม่ให้ปุ๋ยร่วมกับใช้พีทมอส และใช้ขุยมะพร้าวส่งผลให้มีจำนวนใบเฉลี่ยต่อต้นมากสุด 12.16 ใบต่อต้น ด้านคุณภาพหัว (น้ำหนักสดหัว เส้นผ่านศูนย์กลางหัว เส้นรอบวงหัว และจำนวนหัวใหม่) พบว่ากรรมวิธีไม่ให้ปุ๋ยร่วมกับการใช้พีทมอสมีค่ามากสุดแตกต่างจากทุกกรรมวิธี กรรมวิธีที่ให้ปุ๋ย 5 กรัมร่วมกับใช้ขุยมะพร้าวผสมกากกาแฟมีค่าอัตราการสังเคราะห์แสงมากสุดที่ 5.63 ไมโครโมลต่อตารางเมตรต่อวินาที กรรมวิธีไม่ให้ปุ๋ยร่วมกับการใช้พีทมอส: กากกาแฟ มีค่าการเปิดปากใบ และการคายน้ำ มากกว่าทุกกรรมวิธี ทางด้านการใช้น้ำตลอดการเจริญเติบโตของหอมประดับ พบว่าปริมาณการใช้น้ำ, ประสิทธิภาพการใช้น้ำ และค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำ ในกรรมวิธีไม่ให้ปุ๋ยและให้ปุ๋ยอัตรา 2.5 กรัมร่วมกับใช้พีทมอสมีค่ามากสุดแตกต่างทางสถิติ อัตราการคายน้ำต่อหน่วยพื้นที่ใบพบว่ากรรมวิธีไม่ให้ปุ๋ย, ให้ปุ๋ยอัตรา 5 กรัมต่อต้นร่วมกับพีทมอส และให้ปุ๋ยอัตรา 2.5 กรัมต่อต้นร่วมกับขุยมะพร้าวมีค่าเฉลี่ยมากสุดที่ 0.36 มิลลิลิตร/ตารางเซนติเมตร/วัน | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620831035 พิสิษฐ์ ชนะสงคราม.pdf | 2.29 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.