Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77871
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนม กุณาวงค์-
dc.contributor.authorปรัชญ์ อาศิรพงษ์พรen_US
dc.date.accessioned2022-11-19T03:49:20Z-
dc.date.available2022-11-19T03:49:20Z-
dc.date.issued2022-11-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77871-
dc.description.abstractThis research aimed to 1) study the roles and responsibilities of the Fast Operation Unit under the Chiang Mai Communicable Disease Committee's Order, 2) identify the problems and obstacles in the performance of the Fast Operation Unit under the Chiang Mai Communicable Disease Committee's Order, and 3) propose the potential solutions to problems and obstacles in the performance of the Fast Operation Unit. This research was a qualitative study. Regarding the study methods, the key informants in this study included (1) ten governing officers (Deputy District Chief), (2) ten persons of Chiang Mai Volunteer Defense Corps, and (3) five individuals as affected. The in-depth interview was used and the data were then analyzed using the content analysis method. The results were the followings: (1) Regarding opinions of the operators toward their roles in enforcing the surveillance measures and monitoring the compliance under the Chiang Mai Communicable Disease Committee's Order, no realization of the lessons learned and no good preparation for the spread of the COVID-19 outbreak, causing the strict enforcement of Chiang Mai for effectiveness and efficiency in controlling the spread of the COVID-19 pandemic, were regarded as more responsibilities and burdens to officers and people. Business operators and people in Chiang Mai Province were also affected in daily living due to the strict measures in monitoring and prosecuting the offenders. (2) Regarding opinions toward the working process of the Fast Operation Unit under the Chiang Mai Communicable Disease Committee, it showed that (2.1) in appointing personnel and preparing the manpower, there was still a lack of good planning, no clear division of work and assignments, resulting in personnel not understanding their duties and operation procedures as well as insufficient manpower for the operation; (2.2) there were some problems regarding the inappropriate amount of compensation for the duties that were risky and mostly required to perform outside working hours, whereby proper welfares should be provided to officers infected by COVID-19 virus; (2.3) there were problems for inadequate protective equipment in performing duties such as safety equipment and personal protective equipment, except the vehicles for those operations; (2.4) an unclear and improper workflow and lack of practice before implementing the measures resulted in delay in performing duties; and (2.5) in real practice, it was still not ready for the integration with other agencies whereas it truly required the experiences and ability of each individual officer to accomplish the tasks. (3) Regarding the effectiveness of policy implementation, the control and prevention for the large-scale outbreaks were found to be inadequate no matter how efficiently the officers performed their duties because it extremely required the public participation. However, the majority provided good collaboration and felt satisfied with such measures, resulting in the successful operations, particularly for the epidemic control from entrepreneurs selling liquors. It was suggested that the issuance of the orders or regulations that put an impact on the operators and the public should be reviewed to enable them to prepare and deal with this epidemic situation.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโรคระบาดen_US
dc.subjectสถานการณ์ฉุกเฉินen_US
dc.subjectไวรัสโคโรนาen_US
dc.subjectการประเมินen_US
dc.titleการประเมินผลชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วตามคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ในการควบคุมและป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019en_US
dc.title.alternativeThe evaluation of fast operation unit in the case of chiang mai's order of Communicable Disease committee in preventing and controlling the spread of coronavirus disease 2019en_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashโควิด-19 (โรค) -- การป้องกันและควบคุม-
thailis.controlvocab.thashโควิด-19 (โรค) -- ผู้ป่วย -- การป้องกันและรักษา-
thailis.controlvocab.thashโรคระบาด-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาบทบาท หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว เฝ้าระวังและตรวจตราการปฏิบัติตามมาตรการของคาสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรค ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว เฝ้าระวังและตรวจตราการปฏิบัติตามมาตรการของคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ (3) นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว เฝ้าระวังและตรวจตราการปฏิบัติตามมาตรการของคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวิธีการศึกษา ดังนี้ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ (1) เจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) 10 คน (2) สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดเชียงใหม่ 10 คน (3) ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ 5 คน การวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำข้อมูลเอกสารมาทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การค้นคว้าพบว่า (1) ความคิดเห็นที่ผู้ปฏิบัติงานมีต่อบทบาทของตนเองในการการบังคับใช้มาตรการเฝ้าระวังและตรวจตราการปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ สามารถอธิบายสรุปได้ดังนี้ การที่ภาครัฐไม่เคยถอดบทเรียนและไม่มีการเตรียมความพร้อมในการรับมือของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไม่รัดกุมในการดูแลสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้จังหวัดเชียงใหม่ต้องมีการบังคับใช้มาตรการที่ใช้ความเข้มงวด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการเพิ่มบทบาทหน้าที่ รวมถึงภาระงานให้เพิ่มขึ้น และยังถือว่าเป็นการผลักภาระให้ประชาชน ส่งผลให้ผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆ รวมถึงประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตตามปกติ เนื่องจากมาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการ ที่เข้มงวด ในการตรวจตราและดำเนินคดีกับผู้ที่ละเมิดคำสั่งดังกล่าว (2) ความคิดเห็นต่อกระบวนการดำเนินงานของชุดเคลื่อนที่เร็วเฝ้าระวังและตรวจตราการปฏิบัติตามมาตรการของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่พบว่า (2.1) มีอุปสรรคในการปฏิบัติงานแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น ซึ่งในการแต่งตั้งบุคลากรและจัดเตรียมอัตรากำลังยังขาดการวางแผนที่ดี ไม่มีการแบ่งงานและมอบหมายหน้าที่อย่างชัดเจน ส่งผลให้บุคลากรไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ รวมถึงขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และอัตรากาลังไม่เพียงพอ ในการปฏิบัติงาน (2.2) ปัญหาเรื่องค่าตอบแทนยังไม่เหมาะสมกับภารกิจที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยง และเป็นการปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการ ซึ่งควรมีสวัสดิการที่สามารถรองรับเจ้าหน้าที่ที่ติดเชื้อโควิด - 19 (2.3) วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ยังเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่เนื่องจากมีไม่เพียงพอ เช่น อุปกรณ์ป้องกันการทะเลาะวิวาทและอุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรค จะมีความพร้อมก็เพียงแต่ยานพาหนะที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (2.4) การวางแผนระบบงานก่อนปฏิบัติหน้าที่ไม่มีความเหมาะสมและไม่มีชัดเจนเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่และไม่มีการซักซ้อมแผนการดำเนินงานก่อนปฏิบัติหน้าที่ (2.5) การปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงไม่มีความพร้อมในด้านการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นโดยต้องอาศัยประสบการณ์และความสามารถของเจ้าหน้าที่เฉพาะบุคคลเพื่อให้งานสำเร็จ (3) ประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติพบว่าการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดในวงกว้างได้ แม้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติจะทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเท่าใดก็ตาม เนื่องจากต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และมีความพึงพอใจต่อมาตรการดังกล่าว จึงส่งผลให้มาตรการดังกล่าวประสบความสำเร็จได้เฉพาะในการควบคุมการแพร่ระบาดจากผู้ประกอบการที่จำหน่ายสุรา โดยเสนอแนะให้มีการบททวนการกำหนดแนวทางในการออกคำสั่งหรือข้อบังคับที่มีผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานและประชาชนทั่วไปให้ดีกว่านี้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานและประชาชนสามารถปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดเช่นนี้en_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631932033-ปรัชญ์ อาศิรพงษ์พร.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.