Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77859
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เดชา ทำดี | - |
dc.contributor.advisor | ศิริรัตน์ ปานอุทัย | - |
dc.contributor.author | อรัญญา เตชะนันท์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-11-13T03:38:02Z | - |
dc.date.available | 2022-11-13T03:38:02Z | - |
dc.date.issued | 2022-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77859 | - |
dc.description.abstract | Health literacy is an essential factor for more effective self-management among older persons with breast cancer who receive radiation therapy. The purpose of this experimental research was to study the effect of a health literacy enhancement program on self-management among elderly patients with breast cancer receiving radiation therapy. The subjects consisted of 54 elderly patients with breast cancer receiving radiation therapy who received services at the radiation therapy outpatient department of Lampang Cancer Hospital in Lampang Province. They, were randomly divided into 2 groups, an experimental group and a control group, with 27 patients in each. The control group received usual care, by radiotherapy nurse of Lampang Cancer Hospital, who provide care according to the problems encountered, and the experimental group participated in the health education program four times and a one-time individual session for a duration of 3 weeks. The research instruments included the health literacy enhancement program, a personal data and illness questionnaire, and a questionnaire on self-management behavior for older breast cancer patients receiving radiotherapy. Research tools passed quality checks. The health literacy enhancement program was examined by 6 experts, obtaining a content validity index of .99, and the self-management behavior questionnaire’s internal consistency had a Pearson’s correlation coefficient of .97. Data were analyzed using descriptive statistics, independent t-test statistics, and paired t-test statistics. The results showed that mean self-management scores of radiotherapy-treated older persons with breast cancer who received the health literacy enhancement program were significantly higher than those who received usual care (p<.001) and greater than before receiving the health literacy promotion program (p<.001). The results of this research showed that the health literacy enhancement programed resulted in better self-management, and could, therefore, be applied to promote continued self-management in older persons with breast cancer who have received radiation therapy. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | Health literacy enhancement program | en_US |
dc.subject | Self-Management | en_US |
dc.subject | Older Persons with Breast Cancer Receiving Radiation Therapy | en_US |
dc.subject | โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การจัดการตนเอง | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษา | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษา | en_US |
dc.title.alternative | Effect of the health literacy enhancement program on self-management among older persons with breast cancer receiving radiation therapy | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ความรอบรู้ทางสุขภาพ | - |
thailis.controlvocab.thash | เต้านม -- มะเร็ง | - |
thailis.controlvocab.thash | เต้านม -- มะเร็ง -- การรักษาด้วยรังสี | - |
thailis.controlvocab.thash | โปรแกรมคอมพิวเตอร์ | - |
thailis.controlvocab.thash | โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษาสามารถจัดการตนเองมีประสิทธิภาพมากขึ้น การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษาที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษาในโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง จังหวัดลำปาง จำนวน 54 ราย สุ่มออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 27 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติโดยพยาบาลแผนกรังสีรักษาโรงพยาบาลมะเร็งลำปางให้การดูแลตามปัญหาที่พบ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพแบบกลุ่ม 4 ครั้ง และเฉพาะรายบุคคล 1 ครั้ง ใช้ระยะเวลา 3 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและการเจ็บป่วย แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมสูงอายุที่ได้รับรังสีรักษา เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบคุณภาพ โดยโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ .99 และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองตรวจสอบความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องภายในได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติการทดสอบทีแบบอิสระ (Independent t-test) และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ (Paired t-test) ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษาของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และมากกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถติ (p<.001) ผลของการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษาส่งผลให้ผู้สูงอายุมีการจัดการตนเองดีขึ้น ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้เพื่อส่งเสริมการจัดการตนเองแก่ผู้สูงอายุโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษาอย่างต่อเนื่องต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
631231201 อรัญญา เตชะนันท์.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.