Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77791
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราวรรณ ดีเหลือ-
dc.contributor.advisorนันทพร แสนศิริพันธ์-
dc.contributor.authorนงลักษณ์ ปิ่นใหญ่en_US
dc.date.accessioned2022-11-05T07:40:24Z-
dc.date.available2022-11-05T07:40:24Z-
dc.date.issued2022-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77791-
dc.description.abstractAdolescent pregnant women have fear of childbirth from several factors. This fear of childbirth affects these women both physically and mentally during antenatal, intrapartum, and postpartum periods. The purpose of this predictive correlational research was to explore fear of childbirth and to investigate the predictability of self-esteem, social support, and planned pregnancy for adolescent pregnant women. The subjects were adolescent pregnant women who attended the antenatal clinic at Health Promotion Center Region 1, Chiang Mai, Nakornping Hospital, Chiang Mai Province, Lampang Hospital, and Lamphun Hospital between November 2021 and June 2022. The 105 subjects were selected following the inclusion criteria. The research tools included the Personal Data Record Form, the Fear of Childbirth during Pregnancy Questionnaire Version A by Wijma, Wijma, and Zar (1998), Thai version by Kotchakorn Tampawiboon (2005); the Self-Esteem Scale by Rosenberg (1965), Thai version by Nutjaree Immak (2009); and the Social Support Questionnaire by Jirawan Niramitpasa (2008). Data were analyzed by descriptive statistics, multiple linear regression, and stepwise multiple regression. The results revealed that: 1. Adolescent pregnant women had fear of childbirth at high and very high levels, 36.19% and 32.38%, respectively, and the mean score was 75.05 (S.D. = 17.53). 2. Self-esteem and social support can predict the fear of childbirth among adolescent pregnant women at 15.36% (p < .001). Planned pregnancy cannot predict fear of childbirth among adolescent pregnant women. These findings suggest that adolescent pregnant women should be assessed for fear of childbirth. Nurses-midwives should develop guidelines to promote self-esteem and social support for reducing fear of childbirth among adolescent pregnant women.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความกลัวการคลอดบุตรen_US
dc.subjectความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองen_US
dc.subjectการสนับสนุนทางสังคมen_US
dc.subjectการวางแผนการตั้งครรภ์en_US
dc.subjectFear of childbirthen_US
dc.subjectSelf-esteemen_US
dc.subjectSocial supporten_US
dc.subjectPlanned pregnancyen_US
dc.titleปัจจัยทำนายความกลัวการคลอดบุตรในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นen_US
dc.title.alternativeFactors predicting fear of childbirth among adolescent pregnant womenen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการคลอด-
thailis.controlvocab.thashความนับถือตนเอง-
thailis.controlvocab.thashการตั้งครรภ์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความกลัวการคลอดบุตรจากหลายปัจจัยร่วมกัน ความกลัวการคลอดบุตรส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นทั้งในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความกลัวการคลอดบุตร และอำนาจการทำนายของความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และการวางแผนการตั้งครรภ์กับความกลัวการคลอดบุตรในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลลำปาง และโรงพยาบาลลำพูน ระหว่างเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2565 จำนวน 105 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความกลัวการคลอดบุตรในระยะตั้งครรภ์ของวิจมา แบบ เอ (Wijma, Wijma, & Zar, 1998) ฉบับภาษาไทยโดย กชกร ตัมพวิบูลย์ (Tampawiboon, 2005) แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของโรเซนเบอร์ก (Rosenberg, 1965) ฉบับภาษาไทยโดย นุชจรี อิ่มมาก (2552) และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของ จิราวรรณ นิรมิตภาษ (2551) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1. หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น มีความกลัวการคลอดบุตรอยู่ในระดับรุนแรง และรุนแรงมาก ร้อยละ 36.19 และ 32.38 ตามลำดับ และมีคะแนนเฉลี่ย 75.05 (S.D. = 17.53) 2. ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายความกลัวการคลอดบุตรในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นได้ร้อยละ 15.36 (p < .001) ส่วนการวางแผนการตั้งครรภ์ ไม่สามารถทำนายความกลัวการคลอดบุตรได้ ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการประเมินความกลัวการคลอดบุตรในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น และพยาบาลผดุงครรภ์ควรมีการพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม เพื่อลดความกลัวการคลอดบุตรในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231034 นงลักษณ์ ปิ่นใหญ่.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.