Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77767
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาลินี คุ้มสุภา-
dc.contributor.authorเกรียงไกร ไชยมงคลen_US
dc.date.accessioned2022-10-29T06:55:34Z-
dc.date.available2022-10-29T06:55:34Z-
dc.date.issued2022-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77767-
dc.description.abstractThe comparative study of perception and acceptance of gender diversity among the students of Health Sciences, Science and Technology, and Humanities and Social Sciences, Chiang Mai University. This study aimed to compare the perception and acceptance of gender diversity of students in Chiang Mai University using qualitative research method. In-depth interview and focus group discussion techniques were used for data collection from 54 students of Health Sciences, Science and Technology, and Humanities and Social Sciences. The key informants consisting of 30 undergraduate students, 15 master students, and 9 doctoral students with no restrictions on the sexual orientation. Obtained data were analyzed by descriptive statistics, categorization, and content analysis. The results reveal that most of the key informants were male (61.11%) and single (92.59%) with an average age of 24.74 years old. They mostly had LGBTQ relatives (61.11%) and friends (90.74%). They all (100%) received LGBTQ information via social media. The key informants had percept the similar issues of LGBTQ’s physical health, mental health, and lifestyles. And the key informants had the same answer in acceptance the issue of LGBTQ's responsibilities as no different from the public. In terms of language and behavior, the key informant mostly accepted in all issues except for the profanity of LGBTQ. Moreover, in terms of comparative study found that the key informants from Health Sciences had different perceptions from the other two field of study in physical and mental health. That was, they had variety perception about maintaining physical and mental health of LGBTQ. While the key informants from Science and Technology, and Humanities and Social Sciences had different perception compare to the key informants from Health Sciences in terms of special preferences or interests which was different from the public. In terms of acceptance, found that all the key informants had no different in responsibility for duties of LGBTQ. However, in terms of language and behavior, the key informants from Health Sciences and Science and Technology had the similar acceptance on uniqueness and outstanding of language using. In contrast, the key informants from Humanities and Social Sciences had acceptance of LGBTQ in appropriate behavior and creativity of language using.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectComparative Studyen_US
dc.subjectGender Diversityen_US
dc.subjectPerceptionen_US
dc.subjectAcceptanceen_US
dc.subjectChiang Mai Universityen_US
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้และการยอมรับความหลากหลายทางเพศของนักศึกษาจากกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeA Comparative study of perception and acceptance of gender diversity among the students of Health Sciences, Science and Technology, and Humanities and Social Sciences, Chiang Mai Universityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.controlvocab.thashมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -- นักศึกษา-
thailis.controlvocab.thashความแตกต่างทางเพศ-
thailis.controlvocab.thashการรับรู้-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้และการยอมรับความหลากหลายทางเพศของนักศึกษาจากกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้และการยอมรับความหลากหลายทางเพศของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกและการอภิปรายกลุ่มเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาจำนวน 54 คนจากกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และกลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับปริญญาตรีจำนวน 30 คนปริญญาโท 15 คน และปริญญาเอก 9 คนโดยไม่มีการจำกัดวิถีทางเพศของผู้ให้ข้อมูล ทั้งนี้การวิจัยจะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การจัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 61.11) มีสถานภาพโสด (ร้อยละ 92.59) และมีอายุเฉลี่ย 24.74 ปี ส่วนใหญ่มีญาติ (ร้อยละ 61.11) และเพื่อน (ร้อยละ 90.74) เป็นกลุ่มความหลากหลายทางเพศ และผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด (ร้อยละ100) รับรู้ข่าวสารด้านความหลากหลายทางเพศผ่านสื่อออนไลน์ โดยผู้ให้ข้อมูลมีการรับรู้ด้านสุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต และรูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มความหลากหลายทางเพศในประเด็นที่ใกล้เคียงกัน และผู้ให้ข้อมูลมีคำตอบที่เหมือนกันในการยอมรับประเด็นความรับผิดชอบในหน้าที่ของกลุ่มความหลากหลายทางเพศว่าไม่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป สำหรับด้านภาษาและพฤติกรรม ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ให้การยอมรับเกือบทุกประเด็นยกเว้นการพูดคำหยาบคายของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ นอกจากนี้จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า ในด้านการรับรู้ ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพมีการรับรู้ด้านสุขภาวะทางกายและสุขภาวะทางจิตแตกต่างจากอีก 2 กลุ่มสาขา กล่าวคือมีการรับรู้ในประเด็นที่หลากหลายด้านการดูแลรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ และผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และกลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีการรับรู้ในด้านรูปแบบการดำรงชีวิตที่แตกต่างไปจากกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยเฉพาะในประเด็นความชอบหรือความสนใจเฉพาะทางที่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป ในขณะที่ด้านการยอมรับพบว่าผู้ให้ข้อมูลทั้ง 3 กลุ่มสาขามีการยอมรับในด้านความรับผิดชอบในหน้าที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านภาษาและพฤติกรรมพบว่า ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมีการยอมรับเหมือนกันคือความมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นด้านการใช้ภาษา ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ยอมรับว่ากลุ่มความหลากหลายทางเพศมีพฤติกรรมที่เหมาะสมและมีความสร้างสรรค์ในการใช้ภาษาen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631932063 เกรียงไกร ไชยมงคล.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.