Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74200
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภกิจ อาวิพันธุ์-
dc.contributor.authorสุทธิธีร์ จาตุพรประเสริฐen_US
dc.date.accessioned2022-10-15T07:31:01Z-
dc.date.available2022-10-15T07:31:01Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74200-
dc.description.abstractThe purpose of this research is to study and develop a technique to improve the RPL protocol routing efficiency by discovering neighboring nodes for load balancing in wireless sensor networks. We compare the performance of the proposed approach with the conventional methods which utilize the objective function namely OF0 and MRHOF. The idea of the proposed approach is to balance the load of nodes in the network by discovering neighboring nodes for the RPL routing protocol in wireless sensor networks. This research then measure the efficiency of the packet delivery ratio together with the end-to-end delay of data communication by comparing the proposed method with the OF0 and MRHOF objective functions. We conducted an experiment with the TSCH network simulation program with 50, 100, 200, 400 child nodes and one root node. The simulation results showed that the proposed method has a higher packet delivery success rate than other methods compared. This is because the load balancing within the network helps to reduce the probability that one of the nodes will experience traffic congestion. This results in more efficient packet transmission on the network. However, the amount of control messages on the network remains an issue that the researchers plan to study in the future Specifically, the volume of the control messages tends to be higher when the number of node increases. This eventually affects the ratio of the transmission of data packets on the wireless sensor network.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเครือข่ายทีเอสซีเอชen_US
dc.titleเทคนิคการปรับสมดุลโหลดด้วยการค้นพบโหนดใกล้เคียง สำหรับเกณฑ์วิธีจัดสรรเส้นทางอาร์พีแอล ในเครือข่ายเซนเซอร์ไร้สายen_US
dc.title.alternativeLoad balancing technique with neighbor node discovery for RPL routing protocol in wireless sensor networken_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.controlvocab.thashเครือข่ายตัวรับรู้ไร้สาย-
thailis.controlvocab.thashเครือข่ายตัวรับรู้-
thailis.controlvocab.thashระบบสื่อสารไร้สาย-
thailis.controlvocab.thashสถานีตัวรับรู้ไร้สาย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาเทคนิคในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดสรรเส้นทางโปรโตคอลอาร์พีแอลด้วยการค้นพบโหนดใกล้เคียงสำหรับการปรับสมดุลโหลดในเครือข่ายเซนเซอร์ไร้สาย และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจัดเส้นทางโดยการปรับสมดุลโหลดในเครือข่ายที่นำเสนอกับการจัดเส้นทางแบบเดิมด้วยวิธีฟังก์ชันวัตถุประสงค์โอเอฟซีโร ร่วมกับฟังก์ชันวัตถุประสงค์เอ็มอาร์เอชโอเอฟ โดยใช้เทคนิคการปรับสมดุลโหลดด้วยการค้นพบโหนดใกล้เคียงสำหรับเกณฑ์วิธีจัดสรรเส้นทางอาร์พีแอลในเครือข่ายเซนเซอร์ไร้สาย การวิจัยในครั้งนี้จะวัดประสิทธิภาพของอัตราส่วนการจัดส่งแพ็กเก็ต ร่วมกับการวัดประสิทธิภาพของผลกระทบด้านเวลาในการสื่อสารข้อมูลความล่าช้าแบบปลายถึงปลาย โดยเปรียบเทียบวิธีการที่นำเสนอกับ ฟังก์ชันวัตถุประสงค์โอเอฟซีโร และฟังก์ชันวัตถุประสงค์เอ็มอาร์เอชโอเอฟ ผู้วิจัยได้ทำการทดลองด้วยโปรแกรมจำลองเครือข่ายทีเอสซีเอช โดยมีโหนดลูก จำนวน 50, 100, 200 และ 400 โหนด ซึ่งในการสร้างเครือข่ายจะใช้วิธีการสร้างเครือข่ายแบบสุ่มตำแหน่ง โดยมีโหนดเริ่มต้นหนึ่งโหนด ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าวิธีการที่นำเสนอ มีอัตราส่วนการจัดส่งแพ็กเก็ตสำเร็จสูงกว่าวิธีการอื่นที่นำมาเปรียบเทียบ เนื่องมาจากการปรับสมดุลโหลดภายในเครือข่าย ซึ่งช่วยลดโอกาสที่โหนดใดโหนดหนึ่งจะประสบกับความแออัดของทราฟฟิกข้อมูล ทำให้ส่งผลไปถึงการรับส่งแพ็กเก็ตบนเครือข่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามปริมาณของข้อความควบคุมบนเครือข่ายยังเป็นประเด็นที่ผู้วิจัยวางแผนจะศึกษาในอนาคต เนื่องจากด้วยวิธีการที่นำเสนอในงานวิจัยนี้ ปริมาณของข้อความควบคุมมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น จนกระทบกับอัตราส่วนของการส่งแพ็กเก็ตข้อมูลบนเครือข่ายเซนเซอร์ไร้สายen_US
Appears in Collections:SCIENCE: Independent Study (IS)



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.