Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74169
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณุพันธุ์ ประภาติกุล-
dc.contributor.advisorวรทัศน์ อินทรัคคัมพร-
dc.contributor.advisorพัชรินทร์ ครุฑเมือง-
dc.contributor.authorศุภกิจ สิทธิวงค์en_US
dc.date.accessioned2022-10-02T00:52:07Z-
dc.date.available2022-10-02T00:52:07Z-
dc.date.issued2021-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74169-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to study 1) fundamental, economic and social factors of farmers who use microbial for pest control in Chiang Mai province 2) factors affecting farmers' adoption of microbial for pest control in Chiang Mai province and 3) analyze the problems and give suggestions on the use of microbial for pest control of farmers in Chiang Mai province. The population in this research were 780 farmers who are member and received training from the Community Pest Management Center in 2020. the researcher used a simple random sampling by drawing lottery of the names of 13 districts in Chiang Mai province, namely San Sai, San Kamphaeng, Doi Saket, Saraphi, Mae Rim, Mae Chaem, Hang Dong, Mae Wang, Mueang Chiang Mai, Chom Thong, Doi Lor, Samoeng and San Pa Tong. The research using the Taro Yamane at 5 percent which obtained the sample size of 265 farmers. The data was collected by using interview schedule confidence in knowledge issues (KR – 20 = 0.720) which collected between February and March in 2021. In this research, the researcher analyzed the data by using a statistical package for the social science (SPSS) which included descriptive statistics such as percentage, mean, maximum, minimum, standard deviation and inferential statistics such as multiple regression analysis by enter method to find the relationship between independent variables such as fundamental, economic and some social factors of farmers and adoption microbial for pest control in Chiang Mai Province. The results of the study that the farmers who used microbial for pest control had an average age of 57.22 years, graduate from Grade 7. Farmers had 18.84 years of farming experience. The average use of microbial for pest control was 4.75 years, with most farmers occasionally using microbial for pest control. Farmers were members of the Community Pest Management Center an average of 4.64 years. In 2020, household income an average of 137,393.25 baht, divided into farmers with an average income from the agricultural sector 81,273.96 baht and farmers who earn income from non-agricultural sectors average 56,119.29 baht. Also, most farmers have outstanding debts. It was found that the purpose of borrowing was mainly for agricultural. Farmers had an average agricultural area of 7.29 rai. Most of the farmers use the land to grow vegetables. Farmers perceived an average of 6.32 times of information about microbial for pest control, and they were contacted by agricultural officials regarding about microbial for pest control an average of 3.09 times. Training on microbial for pest control was averaged 2.38 times. In addition, they had knowledge attitude and farmers’ adoption about microbial for pest control, all the overall on a high level. The hypothesis test found that factors related to the adoption of microbial for pest control were 4 positive relationship factors including age and education level were statistical significance 0.05, knowledge and attitude about microbial for pest control were statistical significance 0.01, respectively. Problems in which farmers who use microbial for pest control encounter include the difficulty in the production and expansion of microbial, insufficient microbial available to meet the demand and the difficulty in the preservation of microbial for pest control, respectively. Suggestions of farmers who use microbial for pest control include increasing training on the production and proper spraying of microbial. Also, it is recommended to improve the tools and facilities used to produce microbial substances and expand microbial for pest control pests, respectively. Moreover, the relevant agencies in extension about microbial for pest control of farmers. There should be ongoing training activities to educate farmers. To help in planning the production of microbial with the needs of farmers. Including budget supporting to improve tools and equipment in the production of microbial for pest control.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors affecting farmers’ adoption microbial for pest control, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashจุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืช-
thailis.controlvocab.thashยากำจัดศัตรูพืช-
thailis.controlvocab.thashยากำจัดวัชพืช-
thailis.controlvocab.thashสารเคมีทางการเกษตร-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกรผู้ใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืช จังหวัดเชียงใหม่ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) วิเคราะห์ปัญหาและให้ข้อเสนอแนะการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้เป็นสมาชิกและเข้ารับการอบรมจากศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ (ศจช.) ในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 780 คน ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลากรายชื่ออำเภอในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสันทราย สันกำแพง ดอยสะเก็ด สารภี แม่ริม แม่แจ่ม หางดง แม่วาง เมืองเชียงใหม่ จอมทอง ดอยหล่อ สะเมิงและสันป่าตอง ทั้งนี้ได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ที่ความคาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ร้อยละ 5 ซึ่งได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ 265 ราย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview schedules) ที่มีค่าความเชื่อมั่นในประเด็นความรู้ (KR - 20) เท่ากับ 0.720 โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 โดยการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Statistical Package for the Social Science : SPSS) ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิดิเชิงอ้างอิง (Inferential statistics) ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) โดยวิธี Enter เพื่อใช้ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรและการยอมรับการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรผู้ใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชมีอายุเฉลี่ย 57.22 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 เกษตรกรมีประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 18.84 ปี และเกษตรกรมีประสบการณ์การใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ย 4.75 ปี โดยเกษตรกรส่วนใหญ่จะมีการใช้จุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืชเป็นบางครั้ง ทั้งนี้เกษตรกรเข้าร่วมเป็นสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน เฉลี่ย 4.64 ปี โดยในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ย 137,393.25 บาท แบ่งออกเป็น เกษตรกรที่มีรายได้จากภาคการเกษตรเฉถี่ย 81,273.96 บาท และเกษตรกรที่มีรายได้จากนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 56,119.29 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่มีหนี้สินคงค้าง ซึ่งเป็นการกู้ยืมเพื่อใช้ในการเกษตรเป็นหลัเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ย 729 ไร่ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปลูกผักเป็นหลัก อีกทั้งยังพบว่า เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ย 6.32 ครั้ง และมีการติดต่อเจ้าหน้าที่เกษตรเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ย 3.09 ครั้ง นอกจากนี้เกษตรกรมีการเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดสัตรูพืชมีจำนวนเฉลี่ย 2.38 ครั้ง จากการศึกษาความรู้ ทัศนติ และการยอมรับเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืช พบว่า ในภาพรวมเกษตรกรมีความรู้ ทัศนคติ และการขอมรับเกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืชมีความสัมพันธ์เชิงบวกจำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ อายุและระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ ระดับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้เชื้อจุลินทรีย์ของเกษตรกร มีความสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ ปัญหาของเกษตรกรผู้ใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืช พบว่า เกษตรกรประสบปัญหาเกี่ยวกับการผลิตและการขยายเชื้อสารชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ยาก มากที่สุด รองลงมา คือ เกษตรกรประสบปัญหาการผลิตสารชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละครั้ง และเกษตรกรประสบปัญหาการเก็บรักษาสารชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ยาก ตามลำดับ ข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้มีการเพิ่มการอบรมเกี่ยวกับการผลิตและการฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์จุลินทรีย์อย่างถูกต้อง มากที่สุดรองลงมา คือ เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงเครื่องมือและสถานที่ในการผลิตสารชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้มีการเพิ่มจำนวนการผลิตสารชีวภัณฑ์จุลินทรีย์ ตามลำดับทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเกี่ยวกับการ ใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดศัตรู ของเกษตรกร ควรมีการจัดกิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เข้ามามีส่วนช่วยในการวางแผนการผลิตจุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืชให้สอดคล้องกับความต้องการ ของเกษตรกร รวมทั้งมีการสนับสนุนค้านงบประมาณ ในการปรับปรุงเครื่องมือและอุปกรณ์ ในการผลิตจุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืชen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620831027 ศุภกิจ สิทธิวงค์.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.