Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74166
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฑาทิพย์ เฉลิมผล-
dc.contributor.authorนภัสสร เนื่องกลิ่นen_US
dc.date.accessioned2022-10-01T04:18:14Z-
dc.date.available2022-10-01T04:18:14Z-
dc.date.issued2022-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74166-
dc.description.abstractThis research aimed to 1) study the basic personal, economic and social characteristics of avocado growers in Phop Phra district, Tak province. 2) analyze the factors affecting on good agricultural practices (GAP) of avocado growers. And 3) recommend guidelines for extending on GAP of avocado. Data were collected through questionnaires from a sample group of 148 large scale avocado production in Phop Phra district, Tak province. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, maximum, minimum, standard deviation, and multiple regression analysis. The study results showed that most of avocado growers were male. Their average age was 46.09 years old with junior secondary education. There were 2.90 household labors in agriculture and 3.62 labors in avocado growing. The avocado growing experience was 4.55 years and avocado growing area was 9.18 rai. Their earned income of avocado growing area as 13,333.33 bath per rai. Most avocado growers received the information about GAP from agricultural extension officers. The avocado growers attended a GAP training average 3.07 times per year and contacted with agricultural extension officers average 3.74 times per year. The study results showed that the avocado growers’ knowledge of GAP was high level with an average 10.11 points. The avocado growers’ adoption of GAP were accepted at the high level and an uncertain attitude of GAP with a mean 3.14. The related factors affecting avocado growers’ adoption of GAP in Phop Phra District, Tak Province which the statistically significant at the 0.05 level was GAP training and statistically significant at the 0.01 level were labor in avocado growing and avocado growing area. Guidelines for extending on Good Agricultural Practices (GAP) of avocado for farmers, farmer groups and relevant agencies. The relevant agencies should place importance on farmers to extending and developing knowledge and practice of GAP, extension of both offline and online marketing channels and developing on agencies by support technology, innovation and services in agriculture along with networking to develop knowledge, technology and innovation for extend to farmers in the further.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการยอมรับเทคโนโลยีen_US
dc.subjectการปลูกอะโวคาโดen_US
dc.subjectหลักการเกษตรดีที่เหมาะสมen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตอะโวคาโดตามหลักการเกษตรดีที่เหมาะสมในอำเภอพบพระ จังหวัดตากen_US
dc.title.alternativeFactors affecting avocado growers' adoption of good agricultural practices in Phop Phra District, Tak Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashอะโวคาโด -- การปลูก-
thailis.controlvocab.thashอะโวคาโด -- การผลิต-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร -- ตาก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมบางประการของผู้ปลูกอะโวคาโดในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตอะโวคาโดตามมาตรฐานหลักการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของผู้ปลูกอะโวคาโดในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก และ 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมการผลิตอะโวคาโดตามหลักการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกอะโวคาโด ที่เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่อะโวคาโดในพื้นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก จำนวน 148 คน และวิเคราะห์ข้อมูลความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple regression analysis) ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 54.1 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 46.09 ปี จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีแรงงานเกษตรภายในครอบครัวเฉลี่ย 2.90 คน และแรงงานที่ใช้ในการผลิตอะโวคาโดเฉลี่ย 3.62 คน มีประสบการณ์ในการปลูกอะโวคาโดเฉลี่ย 4.55 ปี พื้นที่ปลูกอะโวคาโดเฉลี่ย 9.18 ไร่ และมีรายได้จากการจำหน่ายอะโวคาโดต่อพื้นที่ปลูก เฉลี่ย 13,333.33 บาท/ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหลักการเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับ อะโวคาโดจากเจ้าหน้าที่เกษตรที่สูง เจ้าหน้าที่ส่งเสริมประจำตำบล อำเภอ และจังหวัด โดยเกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับหลักการเกษตรดีที่เหมาะสมเฉลี่ย 3.07 ครั้ง/ปี และมีการติดต่อหรือได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเฉลี่ย 3.74 ครั้ง/ปี เกษตรกรมีระดับความรู้เกี่ยวกับหลักการเกษตรดีที่เหมาะสมอยู่ในระดับสูง คะแนนเฉลี่ย 10.11 คะแนน มีการยอมรับหลักการเกษตรดีที่เหมาะสมอยู่ในระดับมาก และทัศนคติของเกษตรกรต่อหลักการเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับอะโวคาโดอยู่ในระดับไม่แน่ใจ ค่าเฉลี่ย 3.14 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับของเกษตรกร พบว่า การเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับหลักการเกษตรดีที่เหมาะสม มีผลต่อการยอมรับการผลิตอะโวคาโดตามหลักการเกษตรดีที่เหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านจำนวนแรงงานที่ใช้ในการผลิตอะโวคาโดและการถือครองที่ดินและพื้นที่ปลูกมีผลต่อการยอมรับการผลิตอะโวคาโดตามหลักการเกษตรดีที่เหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แนวทางในการส่งเสริมการผลิตอะโวคาโดตามหลักการเกษตรดีที่เหมาะสมให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และหน่วยงานต่างๆ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับเกษตรกรในการส่งเสริมและพัฒนาด้านความรู้และการปฏิบัติตามข้อกำหนดตามหลักการเกษตรดีที่เหมาะสม การส่งเสริมช่องทางตลาดทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ และการพัฒนาเจ้าหน้าที่ โดยการสนับสนุนเทคโนโลยี นวัตกรรมและการบริการด้านการเกษตร ควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่าย เพื่อพัฒนาความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และส่งเสริมไปยังเกษตรกรต่อไปen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630831040 นภัสสร เนื่องกลิ่น.pdf630831040 นภัสสร เนื่องกลิ่น1.17 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.