Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74104
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ | - |
dc.contributor.advisor | สายชล สัตยานุรักษ์ | - |
dc.contributor.advisor | สิงห์ สุวรรณกิจ | - |
dc.contributor.author | พรชัย นาคสีทอง | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-09-18T03:17:27Z | - |
dc.date.available | 2022-09-18T03:17:27Z | - |
dc.date.issued | 2021-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74104 | - |
dc.description.abstract | The study of changes in the Thai southerners’ emotions and aspirations through the cremation volumes of local societies in the South from 1917 – 2007 is important. Not only do these volumes record the biography of the deceased and are evidence of historical fact, they also suggest that cremation volumes of southern societies are especially significant as a space to “read” the thoughts, emotions, and aspirations of local people. This study of cremation volumes of southern societies reveals changes in the emotions and aspirations of local people over four periods. Variation is found at different levels including the individual, family, locality, nation, and religion, all of which relate to the social, economic, and political context as well as the local cultural system. The results of this study are as follows: During the first period from 1917to early 1947, the cremation volumes in southern societies reveal economic, social, and political changes connected directly with the modern state. The southerners importantly adapted to be knowledgeable and skillful in becoming “mechanisms of modern bureaucracy.” This adaptation penetrated deeply into the value system and the meaning of life for local people, linking their identity to the modern Thai state. The second period from the mid-1947 to 1967 was an era of making a “pattern” of pride in personal success and economic status. It represented the position of a progressive and successful life as a model for the next generation to follow. The aspiration to create a “southern life” demonstrates a homogeneous relationship between the southern locality and Thainess. The third period from 1977 to 1987 presents the life-path highlighting the background of “country folk – rural people” but ones who could serve under the crown or attend to the modern production system. The successful life of local people built a sense of pride in “southernness” and the “bucolic rural South” which evolved into a collective sense of pride, affection, and connection to local societies. This is in line with the formation of academic knowledge of local scholars in the South that reinforced a specific characteristic of southerners and the rural South. The last period started in 1997 and continues to the present. Here the cremation volumes are not only a meaningful space of the deceased, but they also become a space for the expression of honor, dignity and positioning of those yet “living.” This space reveals a new set of emotions and feelings emerging amidst economic changes that provide pathways for success in life, and greater complexity of relations. The expression of this new set of emotions has its ultimate goal in valuing relations to royal power and the royal insignia bestowed from the King. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | หนังสือแจกงานศพกับความแปรเปลี่ยนของอารมณ์ความรู้สึกและความใฝ่ฝันของคนภาคใต้ ประเทศไทยทศวรรษ 2460 – 2550 | en_US |
dc.title.alternative | Cremation volumes and the changes in the Thai southerners’ emotions and dreams of hope, 1910s – 2010s | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | หนังสืออนุสรณ์งานศพ | - |
thailis.controlvocab.thash | หนังสือที่ระลึก | - |
thailis.controlvocab.thash | ความเป็นอยู่และประเพณี | - |
thailis.controlvocab.thash | ชีวิตชนบท -- ไทย (ภาคใต้) | - |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาความแปรเปลี่ยนของอารมณ์ความรู้สึกและความใฝ่ฝันของคนภาคใต้ผ่านหนังสือ แจกงานศพของสังคมท้องถิ่นใต้ ทศวรรษ 2460 - 2550 เป็นสิ่งสำคัญเพราะหนังสือแจกงานศพไม่ใช่ เป็นเพียงหนังสือที่นำเสนอข้อมูลชีวประวัติบุคคลของผู้วายชนม์และไม่ได้เป็นเพียงแค่หลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่แสดงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เท่านั้น หากแต่เสนอว่าหนังสือแจกงานศพของ สังคมท้องถิ่นใต้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเมื่อ "อ่าน" ในฐานะ ของพื้นที่ความคิด อารมณ์ความรู้สึก และความใฝ่ฝันของคนในท้องถิ่น การศึกษาหนังสือแจกงานศพของสังคมภาคใต้ใด้ทำให้เห็นความแปรเปลี่ยนของอารมณ์ ความรู้สึกและความใฝ่ฝันของคนภากใต้ใน 4 ช่วงเวลา ซึ่งเป็นความแปรเปลี่ยนในระดับต่างๆ ตั้งแต่ ปัจเจกต่อปัจเจก ครอบครัว ท้องถิ่น ชาติและศาสนา ซึ่งล้วนสัมพันธ์กับบริบทแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและระบบวัฒนธรรมท้องถิ่น กล่าวคือ ช่วงแรก ทศวรรษ 2460 ถึงต้นทศวรรษ 2490 ช่วงแรกของหนังสือแจกงานศพในสังคม ท้องถิ่นใต้เป็นช่วงความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอันเกิดจากการเข้าไปสัมพันธ์ กับรัฐสมัยใหม่ การปรับตัวที่สำคัญของคนท้องถิ่นใต้ให้เป็นคนที่ต้องมีความรู้ ความสามารถ และ เข้าไปเป็น "กลไกของระบบราชการสมัยใหม่" มีผลซึมลึกเข้าไปสู่ระบบคุณค่าและความหมายของ ชีวิตผู้คนในสังคมท้องถิ่นให้อยู่เริ่มเชื่อมโยงตัวตนกับรัฐไทยสมัยใหม่ที่ก่อกำเนิดขึ้น ช่วงต่อมา กลางทศวรรษ 2490 - 2510 เป็นยุคแห่งการสร้าง "แบบแผน" ความภาคภูมิใจต่อ ความสำเร็จของบุคคลในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจและหน้าที่การงานอันเป็นแบบอย่างที่ชนรุ่น หลังควรดำเนินรอยตามเพื่อความก้าวหน้าและความสำเร็จในชีวิต โดยเป็นอารมณ์ความรู้สึกของการ สร้าง "ชีวิตคนใต้" ที่เชื่อมต่อเป็นเนื้อเดียวกันระหว่างความเป็นท้องถิ่นใต้กับความเป็นไทย ช่วงที่ 3 ทศวรรษ 2520 - 2530 การนำเสนอเส้นทางเดินชีวิตเน้นให้เห็นพื้นเพความเป็น "คน บ้านนอก-ชนบท" แต่สามารถเข้าสู่ระบบราชการและระบบการผลิตสมัยใหม่จนประสบความสำเร็จ ในชีวิตโดยมีฐานของความเป็นคนท้องถิ่นทำให้เกิดการสร้างความภาคภูมิใจใน "ความเป็นคนใต้" และ"ชนบทใต้นี้งดงาม" ซึ่งกลายเป็นความรู้สึกร่วมของความภูมิใจ ความรู้สึกรักและผูกพันธ์กับ สังคมท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง อันสอดรับไปกับการสร้างความรู้ทางวิชาการของนักวิชาการในท้องถิ่น ใต้ที่ตอกย้ำลักษณะเฉพาะพิเศษของคนใต้และชนบทภาคใต้ ช่วงปัจจุบัน นับตั้งแต่ทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา หนังสือแจกงานศพไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่ ความหมายของคนตายเท่านั้น แต่ได้กลายเป็นพื้นที่ของการแสดงออกเกียรติ ศักดิ์ศรี และการจัดวาง ตำแหน่งแห่งที่ของ "คนเป็น"ด้วย ซึ่งนับเป็นอารมณ์ความรู้สึกชุดใหม่ที่เกิดขึ้นท่ามกลางความ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เป็นช่องทางการแสวงหาความสำเร็จในชีวิตผู้คนที่กว้างขวางและความ เปลี่ยนแปลงของระบบความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในหลากมิติมากขึ้น การแสดงออกของอารมณ์ ความรู้สึกชุดใหม่นี้มีเป้าหมายอันสูงสุดคือการให้คุณค่ากับการไปเข้าสัมพันธ์กับพระราชอำนาจนำ และระบบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน | en_US |
Appears in Collections: | HUMAN: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
580151004 พรชัย นาคสีทอง.pdf | 16.34 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.