Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73945
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อนุพงศ์ วงศ์ไชย | - |
dc.contributor.author | วีระศักดิ์ ทะไชย | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-20T03:24:15Z | - |
dc.date.available | 2022-08-20T03:24:15Z | - |
dc.date.issued | 2022-07 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73945 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this study were to investigate the technical efficiency of nursery swine production of VPF Group (1973) Co., Ltd., Chiang Mai Province and to analyze the technical efficiency of nursery swine production and the factors affecting the technical efficiency of nursery swine production. Data in the study were secondary data obtained from the results of data collection in the year 2016 - 2019 of 26 houses, 104 samples of swine houses. The data collection schedule in the study for 1 cycle of nursery swine production was during October - December of each study year for 4 years. From the study of the nursery swine production data during 2016 - 2019, some houses still had problems with nursery swine production efficiency. Results of a study to analyze technical efficiency of nursery swine production using The Malmquist Productivity Index analysis, divided into 2 parts: The results of Analysis Part 1: The results of the study on the operational efficiency of nursery swine production showed that nursery swine production during the year 2016 - 2019 the average technical efficiency of nursery swine production was 4 years. There were 17 fully technically efficient nursery production houses and there were 9 houses with low technical inefficiency. The results of the analysis of the efficiency values of each year of the production of 26 nursery swine houses in 2016 - 2019 showed that annual production efficiency had a constant index of change. In Part 2, the results of the study on the productivity change of the nursery swine production year 2016 - 2019, the result of the productivity change increased with an average of 1.559. This was due to the change in technological efficiency, the mean was 1.561, but the change in technical efficiency was averaged 0.999, reflecting that the efficiency of nursery swine production was improved, but lack of technical support in the nursery swine production. The results of the study to analyze the factors affecting the technical efficiency of nursery swine production using the Tobit Regression Model analysis revealed that the technical efficiency was affected by 4 main factors as follows: The coefficient of age of nursery swine, the mean weight of the nursery swine, the experience of the nursery staff and the feed rate of the nursery swine. The study found that to improve the production efficiency of nursery swine should be improved by adopting new techniques to assist in the production of swine. The age of the nursery swine should be increased to complete the size of the nursery swine before transferring to the fattening swine house, focusing on increasing the weight of the swine, starting to raise the nursery swine more because it will make the piglets. to adapts themselves better in the nursery house. By fostering training and education on swine production from the public and private sectors and putting a focus on food management, emphasis should be given on enhancing the expertise and experience of nursery swine staff. To enhance the swine feed rate, feeding should be tuned to the feed formula based on the size of the swine at each age. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | technical efficiency | en_US |
dc.subject | Data Envelopment Analysis | - |
dc.subject | Swine production | - |
dc.title | ประสิทธิภาพทางเทคนิคของการผลิตสุกรอนุบาลของบริษัท วีพีเอฟ กรุ๊ป (1973) จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Technical efficiency of nursery swine production of VPF Group (1973) Co., Ltd. Chiang Mai province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | - |
thailis.controlvocab.thash | สุกร -- การผลิต -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | สุกร -- การเลี้ยง | - |
thailis.controlvocab.thash | สุกร -- การค้า | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิคของการผลิตสุกรอนุบาลของบริษัท วีพีเอฟ กรุ๊ป (1973) จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตสุกรอนุบาล และ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพทางเทคนิคของการผลิตสุกรอนุบาล โดยใช้ข้อมูลที่ประกอบด้วยข้อมูลทุติยภูมิจากผลการรวบรวมข้อมูลในปี พ.ศ. 2559 - 2562 จำนวน 26 โรงเรือน จำนวนตัวอย่างของโรงเรือนสุกรจำนวน 104 ตัวอย่าง กำหนดการเก็บข้อมูลในการศึกษา 1 รอบการผลิตสุกรอนุบาลในช่วงเดือน ตุลาคม - ธันวาคม ของทุกปีที่ทำการศึกษาเป็นเวลา 4 ปี จากการศึกษาพบว่าบางโรงเรือนยังมีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการผลิตสุกรอนุบาล มีอัตราการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน ผลการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตสุกรอนุบาล โดยใช้การวิเคราะห์แบบ The Malmquist Productivity Index วิเคราะห์แบ่งเป็น 2 ส่วน ซึ่งผลการวิเคราะห์ส่วนที่ 1 ผลการศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของการผลิตสุกรอนุบาล พบว่าการผลิตสุกรอนุบาลในช่วงปี 2559 - 2562 ประสิทธิภาพทางเทคนิคในการดำเนินงานของการผลิตสุกรอนุบาลโดยรวมเฉลี่ย 4 ปี โรงเรือนผลิตสุกรอนุบาลที่มีประสิทธิภาพทางเทคนิคอย่างเต็มที่จำนวน 17 โรงเรือน และมีโรงเรือนที่ด้อยประสิทธิภาพทางเทคนิคจำนวน 9 โรงเรือน ผลการวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพของแต่ละปีการผลิตสุกรอนุบาลจำนวน 26 โรงเรือน ปี 2559 – 2562 แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพการผลิตในแต่ละปีมีดัชนีการเปลี่ยนแปลงคงที่ ในส่วนที่ 2 ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพ (productivity change) ของการผลิตสุกรอนุบาล ปี 2559 - 2562 สรุปผลมีการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.559 สาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.561 แต่การเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพทางเทคนิคลดลง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.999 สะท้อนให้เห็นว่าประสิทธิภาพการผลิตสุกรอนุบาลมีประสิทธิภาพดีขึ้น แต่ยังขาดการนำเทคนิคเข้ามาช่วยในการผลิตสุกรอนุบาล ผลการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพทางเทคนิคของการผลิตสุกรอนุบาล โดยใช้การวิเคราะห์แบบ Tobit Regression Model พบว่าความมีประสิทธิภาพทางเทคนิคเป็นผลมาจาก 4 ปัจจัยหลัก คือ อายุในการเลี้ยงสุกรอนุบาล น้ำหนักเฉลี่ยเริ่มเลี้ยงสุกรอนุบาล ประสบการณ์ของพนักงานเลี้ยงสุกรอนุบาล และอัตราการกินได้ของสุกร จากการศึกษาพบว่าในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรอนุบาลให้ดีขึ้นควรปรับปรุงโดยการนำเทคนิคใหม่ ๆ เข้ามาช่วยในการผลิตสุกร ควรเพิ่มอายุในการเลี้ยงสุกรอนุบาลให้ยาวขึ้นเพื่อให้ขนาดของตัวสุกรอนุบาลสมบูรณ์ก่อนจะทำการย้ายไปเลี้ยงต่อในโรงเรือนสุกรขุน เน้นการเพิ่มน้ำหนักสุกรเริ่มเลี้ยงสุกรอนุบาลให้มากขึ้นเพราะจะทำให้ลูกสุกรปรับตัวในโรงเรือนอนุบาลได้ดี มุ่งเน้นการเพิ่มความรู้และประสบการณ์ของพนักงานเลี้ยงสุกรอนุบาลโดยการส่งเสริมอบรมเรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตสุกรจากภาครัฐและเอกชน และเน้นการจัดการด้านอาหาร การให้อาหารสุกรในแต่ละช่วงอายุควรปรับสูตรอาหารให้เหมาะสมกับขนาดของสุกรเพื่อเพิ่มอัตราการกินได้ของสุกร | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620832014 Technical Efficency Swine Production.pdf | Technical Efficiency of Nursery Swine Production of VPF Group (1973) Co., Ltd. Chiang Mai Province. | 5.19 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.