Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73872
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกรรณิกา แซ่ลิ่ว-
dc.contributor.advisorอนุพงศ์ วงศไ์ชย-
dc.contributor.authorอรทัย คล้ายเนียมen_US
dc.date.accessioned2022-08-16T09:58:37Z-
dc.date.available2022-08-16T09:58:37Z-
dc.date.issued2022-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73872-
dc.description.abstractThis study aimed to describe behaviors of using online food ordering (food delivery) via mobile application of consumers in Mueang district, Chiang Mai province, to analyze factors influencing decision and the decision making process in using food delivery service via mobile application of restaurant owners in Mueang district, Chiang Mai province. Online questionnaire was used as a tool for collecting data from the sample consisting of 406 consumers and 35 restaurant owners. Descriptive statistics were used for data analysis, i.e. frequency, percentage, mean, and standard deviation. Restaurant owners’ attitudes towards 7Ps marketing mix of online food delivery application were measured using a Likert scale. The findings from the study showed that most consumers using online food delivery via mobile application were people living and working in the areas of Suthep sub-district and Chang Phueak sub-district. They are students/university students having salary lower than or equal to 10,000 baht per month. They preferred to order cooked to order dish. The reason why they decide to choose that service was the spread of Covid-19. Due to the spread of Covid-19, their food ordering expense per time increased and frequency of ordering foods was higher, followed by convenience in ordering food with some promotion like discount or giveaway. Before making decision to use online food delivery service via mobile application, consumers gave the most importance to promotion and once they made decision to order, they gave importance to on time delivery and the correctness and accuracy of products they ordered. Besides, the study revealed that more than 67% of the consumers have never ordered agricultural products online since they most likely order cooked foods. Consumers who used to order agricultural products online most likely ordered fresh fruits, vegetables, and meat via Grab food application. Most of the problems they found during using the service were the quantity and quality of foods that were not the same as they were advertised, delivery location had some errors, and wait time was longer than what they were informed by the food delivery service. As for restaurant owners who used to use online food delivery service via mobile application for selling their foods, most of them had less than 3 years of experience in operating a restaurant. They had not more than 3 staff members in their restaurants. They most likely open a delivery restaurant. When 7Ps marketing mix in terms of the influence on decision making to use online food delivery service via mobile application of restaurant owners was taken into consideration, most restaurant owners gave the most importance to product, such as the application should be simple and not complicated. They also gave importance to other factors at a high level. Currently, more than 97.1% of restaurant owners continued to use the service, 2.9% of them did not use the service any longer since they need to pay too much commission. The main reason restaurant owners decided to sell food online via food delivery mobile application was the spread of Covid-19, followed by convenience in selling food, and it helped increase the sales. Before making decision, restaurant owners most likely gave importance to a food delivery application that provides the service covering many delivery areas the most. The suggestions from the study include that restaurant owners should have a variety of promotion, such as food discount, giveaways, etc. to encourage consumers to have higher purchasing demand. A plan should be set to ensure products are delivered on time according to the distance and time specified. Types and number of products should be inspected before they are delivered to consumers to ensure they are correct and accurate in order to prevent any error that may arise. With regard to application developers and application business owners of online food delivery service should design and develop the system for easier use, including reducing complex process of usage to allow restaurant owners of all ages, both persons who have and do not have proficiency in using technologies to be able to access how to use food delivery application conveniently.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subject-en_US
dc.titleพฤติกรรมการใช้บริการจัดส่งอาหารแบบออนไลน์เดลิเวอรี ผ่านโมบายแอปพลิเคชันของผู้บริโภคและผู้ประกอบการร้านอาหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeConsumers and restaurant owners behavior of using online food delivery via mobile application in Mueang District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashร้านอาหาร-
thailis.controlvocab.thashโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่-
thailis.controlvocab.thashการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายพฤติกรรมการใช้บริการจัดส่งอาหารแบบออนไลน์เดลิเวอรีผ่านโมบายแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ และกระบวนการตัดสินใจใช้บริการจัดส่งอาหารแบบออนไลน์เดลิเวอรีผ่านโมบายแอปพลิเคชันของผู้ประกอบการร้านอาหารในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภค จำนวน 406 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการร้านอาหาร จำนวน 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวัดทัศนคติของผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาด 7 P’s ของแอปพลิเคชันผู้ให้บริการด้านการจัดส่งอาหารแบบออนไลน์เดลิเวอรีด้วยมาตราวัดของลิเคิร์ท ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ใช้บริการจัดส่งอาหารแบบออนไลน์เดลิเวอรีผ่าน โมบายแอปพลิเคชัน คือ ผู้บริโภคที่พักอาศัยและทำงานอยู่ในพื้นที่ตำบลสุเทพ และตำบลช้างเผือก และเป็นนักเรียน/นักศึกษาที่มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท โดยนิยมสั่งซื้ออาหารตามสั่ง เหตุผลที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกใช้บริการดังกล่าวเนื่องจากการระบาดของโควิด 19 โดยการระบาดของโควิด ทำให้ผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้ออาหารแต่ละครั้งมากขึ้น และมีความถี่ในการสั่งอาหารเพิ่มขึ้น รองลงมา คือ มีความสะดวกรวดเร็วในการสั่งซื้อ และมีโปรโมชั่น อาทิ ส่วนลด ของแถม โดยก่อนตัดสินใจใช้บริการจัดส่งอาหารแบบออนไลน์เดลิเวอรีผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับโปรโมชั่นมากที่สุด และเมื่อตัดสินใจแล้วจะให้ความสำคัญกับการจัดส่งสินค้าตรงต่อเวลาและสินค้าถูกต้องจำนวนครบถ้วนตามที่สั่งซื้อ นอกจากนี้ ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคกว่าร้อยละ 67 ไม่เคยสั่งซื้อสินค้าเกษตรผ่านช่องทางออนไลน์ เพราะมักซื้ออาหารปรุงสุกมารับประทาน ในขณะที่ผู้บริโภคที่เคยสั่งซื้อสินค้าเกษตรผ่านช่องทางออนไลน์ส่วนใหญ่นิยมสั่งซื้อผลไม้สด ผักสด และเนื้อสัตว์ โดยสั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ด ส่วนปัญหาที่ผู้บริโภคมักพบระหว่างการใช้บริการ คือ ร้านค้ามีการจำหน่ายอาหารที่มีปริมาณและคุณภาพไม่ตรงตามที่ประกาศขาย แผนที่ที่แสดงสถานที่ในการจัดส่งสินค้ามีความคลาดเคลื่อน และต้องรอสินค้าจากผู้ส่งอาหารนานกว่าเวลาที่แจ้งไว้ ในส่วนของผู้ประกอบการร้านอาหารที่เคยใช้บริการจัดส่งอาหารแบบออนไลน์เดลิเวอรีผ่านโมบายแอปพลิเคชันในการจำหน่ายอาหารพบว่า ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ด้านการทำร้านอาหารน้อยกว่า 3 ปี มีจำนวนพนักงานภายในร้านไม่เกิน 3 คน นิยมเปิดร้านอาหารประเภทเดลิเวอรี และเมื่อพิจารณาปัจจัยส่วนประสมการตลาดทั้ง 7 ด้านที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการจัดส่งอาหารแบบออนไลน์เดลิเวอรีผ่านโมบายแอปพลิเคชันของผู้ประกอบการ พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด อาทิ แอปพลิเคชันใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน และให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านอื่นๆในระดับมาก ปัจจุบันผู้ประกอบการร้านอาหารกว่า ร้อยละ 97.1 ยังคงใช้บริการต่อ มีเพียงร้อยละ 2.9 ไม่ใช้บริการต่อ เนื่องจากต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นที่สูงเกินไป นอกจากนี้ เหตุผลหลักที่ผู้ประกอบการเลือกจำหน่ายอาหารแบบออนไลน์เดลิเวอรีผ่านโมบายแอปพลิเคชันเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 รองลงมา คือ เพราะมีความสะดวกรวดเร็วในการจำหน่ายอาหาร และช่วยเพิ่มยอดขายให้แก่ทางร้าน โดยก่อนตัดสินใจใช้บริการ ผู้ประกอบการร้านอาหารส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการที่แอปพลิเคชันผู้ให้บริการด้านการจัดส่งอาหารมีบริการจัดส่งอาหารครอบคลุมหลายพื้นที่มากที่สุด ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา คือ ผู้ประกอบการร้านอาหารควรมีการจัดโปรโมชั่น ที่หลากหลาย อาทิ ส่วนลดค่าอาหาร ของแถม เป็นต้น เพื่อกระตุ้นผู้บริโภคให้เกิดความต้องการซื้อมากขึ้น และควรวางแผนในการจัดการสินค้าเพื่อให้สามารถส่งมอบสินค้าได้ทันและตรงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ รวมไปถึงควรตรวจสอบชนิดและจำนวนของสินค้าก่อนทำการจัดส่งไปยังผู้บริโภคว่าครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่ เพื่อป้องกันความผิดพลาดต่างๆที่จะเกิดขึ้น และในส่วนของนักพัฒนาแอปพลิเคชันและผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับแอปพลิเคชันด้านการจัดส่งอาหารแบบออนไลน์เดลิเวอรี ควรมีการออกแบบและพัฒนาระบบให้ใช้งานง่ายมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงลดความซับซ้อนของขั้นตอนในการใช้งาน เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารทุกช่วงทุกวัยทั้งผู้ที่มีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี และไม่ชำนาญในการใช้เทคโนโลยี สามารถเข้าถึงและใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อจำหน่ายอาหารได้อย่างสะดวกen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.