Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73856
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorWarunee Fongkaew-
dc.contributor.advisorPratum Soivong-
dc.contributor.advisorJindarat Chaiard-
dc.contributor.authorJatupong Panwilaien_US
dc.date.accessioned2022-08-14T01:24:33Z-
dc.date.available2022-08-14T01:24:33Z-
dc.date.issued2022-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73856-
dc.description.abstractStroke is an important preventable cause of death and long-term disability worldwide. This participatory action research (PAR) study aimed to develop a model for stroke prevention for Thai people who are at risk of stroke in a tertiary hospital. The model development consisted of six steps: 1) establishment of contacts and mutual commitments, 2) formation and enhancement of a core working group, 3) situational analysis of needs and issues and identification of critical components and strategies, 4) model development, 5) model implementation, and 6) evaluation of the impact of stroke prevention. The study was conducted from March 2019 – February 2021. The qualitative data were analyzed using Stringer’s method, whereas the quantitative data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The findings of this study revealed that issues regarding stroke prevention for risk people in the tertiary hospital included struggling to modify eating behaviors, inability to do regular exercise, lack of adequate knowledge about stroke prevention, lack of awareness as being caregivers, constraints of being caregivers, receiving unrealistic treatment regimens, and discontinuing of care. The critical components of the model were: 1) dietary modification relevant to local context, 2) health literacy for stroke prevention, 3) involvement of family caregivers, 4) clinical risk assessment and management, 5) continuity of care among a multi-disciplinary team, and 6) application of technology-based self-care. Strategies used in developing and implementing the model were raising awareness and mutual understanding, strengthening the ability, and promoting collaboration among healthcare providers. Implementation of this model would result in improved eating behaviors regarding stroke prevention, and decreased BMI, sBP, dBP, cholesterol levels, and FBS among stroke risk people, as well as improving knowledge about stroke prevention and readiness in caring among family caregivers. The research findings suggest that collaboration and participation among stakeholders are crucial for development of a stroke prevention model which is appropriate for the setting. Collaboration and participation not only create a sense of ownership but also increase the capability among stakeholders for problem identification and solving.en_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleDevelopment of a stroke prevention model for risk people in a tertiary hospitalen_US
dc.title.alternativeการพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshCerebrovascular disease-
thailis.controlvocab.lcshCerebrovascular disease -- Protection-
thailis.controlvocab.lcshCerebrovascular disease -- Patients-
thailis.controlvocab.lcshBrain -- Diseases-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต และความทุพพลภาพในระยะยาวทั่วโลกที่สามารถป้องกันได้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ การพัฒนาประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การติดต่อเพื่อสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ 2) การจัดตั้ง และสร้างเสริมสมรรถนะของคณะทำงานหลัก 3) การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ความต้องการ องค์ประกอบ และกลยุทธ์ในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 4) การพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 5) การนำรูปแบบไปใช้ และ 6) การประเมินผลการนำรูปแบบไปใช้ การศึกษาดำนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 – กุมภาพันธ์ 2564 ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยวิธีการของสตริงเจอร์ ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการตรวจสอบค่าที โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต และความทุพพลภาพในระยะยาวทั่วโลกที่สามารถป้องกันได้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการณ์แบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ การพัฒนาประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การติดต่อเพื่อสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ 2) การจัดตั้ง และสร้างเสริมสมรรถนะของคณะทำงานหลัก 3) การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ความต้องการ องค์ประกอบ และกลยุทธ์ในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 4) การพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 5) การนำรูปแบบไปใช้ และ 6) การประเมินผลการนำรูปแบบไปใช้ การศึกษาดำนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 – กุมภาพันธ์ 2564 ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยวิธีการของสตริงเจอร์ ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการตรวจสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ประกอบด้วย ความยากลำบากในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอ ขาดความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ขาดความตระหนักในการเป็นผู้ดูแล มีข้อจำกัดของการเป็นผู้ดูแล การได้รับแผนการรักษาที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง และขาดการดูแลอย่างต่อเนื่อง สำหรับองค์ประกอบที่สำคัญในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่สอดคล้องกับบริบทของผู้ที่มีภาวะเสี่ยง 2) การมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 3) การมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ที่มีภาวะเสี่ยงของญาติ 4) การประเมิน และจัดการความเสี่ยงทางคลินิก 5) การดูแลอย่างต่อเนื่องระหว่างทีมสหวิชาชีพ และ 6) การใช้เทคโนโลยีในการดูแลตนเองของผู้ที่มีภาวะเสี่ยง กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนา และนำรูปแบบการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองไปใช้ ได้แก่ การสร้างความตระหนัก และความเข้าใจร่วมกันให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเสริมสร้างสมรรถณะของบุคลการ และการส่งเสริมให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ การนำรูปแบบไปใช้ อาจส่งผลทำให้ ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองดีขึ้น ค่าดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง รวมทั้งช่วยให้ผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะเสี่ยงในครอบครัวมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น และมีความพร้อมในการเป็นผู้ดูแล ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความสำคัญต่อการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองซึ่งเหมาะสมกับพื้นที่ ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ แต่ยังเพิ่มศักยภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการระบุและแก้ไขปัญหาen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.