Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73832
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพลิน ภู่จีนาพันธุ์-
dc.contributor.authorงามฟ้า ฟูนาโคชิen_US
dc.date.accessioned2022-08-13T03:18:21Z-
dc.date.available2022-08-13T03:18:21Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73832-
dc.description.abstractThe purposes of this study were 1) To explore the MPs political roles who had advocated the Marriage Equality Bill in Thailand 2) To examine MPs’ s ideas about advocating the Marriage Equality Bill in Thailand and 3) To find out the advocating problems for the Marriage Equality Bill in Thailand. The methodology of this research was a qualitative research, documentary inquiry and In-depth Interview with semi-structured interview form. Moreover, Key Informants were from Snowball sampling technique. The result revealed that MPs’ s political roles for advocating the Marriage Equality Bill in Thailand were 2 types, initial advocacy and intense advocacy for formulating sexual diversity in political party policy and providing alternative ways for marriage equality bill. The individual actors in the public policy decision making were important for approval and related with MPs’ s advocacy level. The findings indicated that MPs, sexual diversity people (LGBTIQ), who advocated, had more responsible than others and they worked with sexual diversity (LGBTIQ) civil society groups for creating suitable public awareness about sexual diversity. However, the key problem was unaccepted thoughts on gender in Thailand were covered by mythology, conservative thinking specially patriarchy thinking. Moreover, it reflected to conflict among interest groups and inequality not only between male and female but also sexual diversity. From the study, it was found that sexual diversity policies were used as a tool to encourage people to vote for Thailand’s 2019 Elections. The Political Roles of Members of Parliament (MPs) for advocating sexual diversity policies have not been supported. Therefore, MPs advocated to build networking and expressing with civil society, interest groups as well as increasing awareness of gender equality. The researcher suggested that Thai Government should create equality rights understanding for acceptance of diversity. Additionally, provide marriage equality rights. Consequently, politicians, MPs, commissions and others should expedite the process of advocating. It also needs to integrate with civil society and mass people. Using communication technology is a tool to create impetus so that the marriage equality rights can be enforced in Thailand.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleบทบาททางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในการผลักดัน (ร่าง) กฎหมายการสมรสเท่าเทียมประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe political roles of members of parliament (mps) for advocating the marriage equality bill in Thailanden_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashกฎหมายการสมรส-
thailis.controlvocab.thashการสมรสของกลุ่มรักร่วมเพศ-
thailis.controlvocab.thashสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและอธิบายบทบาททางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในการผลักดันร่างกฎหมายการสมรสเท่าเทียม 2) เพื่อศึกษาวิธีการหรือแนวทางในการผลักดัน ฯ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการผลักดัน (ร่าง) กฎหมายการสมรสเท่าเทียมประเทศไทย โดยผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการศึกษาวิจัยเอกสารและ วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างที่กำหนดคำถามไว้ล่วงหน้า อีกทั้ง ใช้วิธีการแสวงหาผู้ให้ข้อมูลหลักแบบลูกโซ่ (Snowball Technique) ผลการศึกษาพบว่า ส.ส. มีบทบาทผลักดัน 2 ลักษณะ คือ บทบาทผลักดันทั่วไปและ บทบาทผลักดันอย่างเข้มข้นทั้งภายในและภายนอกรัฐสภา ตั้งแต่การก่อตัวนโยบายสิทธิความหลากหลายทางเพศภายในพรรคการเมือง การดำเนินนโยบายร่างกฎหมายการสมรสเท่าเทียมด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จ โดยผู้มีอำนาจตัดสินใจเชิงนโยบายมีความสำคัญอย่างมาก ตั้งแต่การอนุมัตินโยบายและการสนับสนุนนโยบายของ ส.ส. จากผลการศึกษาพบว่า ส.ส. ผู้มีความหลากหลายทางเพศได้มุ่งมั่นผลักดันตามแนวปฏิบัติสู่เป้าหมายอย่างชัดเจนและร่วมมือกับประชาสังคมในการเคลื่อนไหวให้ความรู้เรื่องของความหลากหลายทางเพศผ่านสื่อและพื้นที่สาธารณะนอกรัฐสภา ปัญหาและอุปสรรคของการผลักดัน ฯ คือ ระบบความคิดความเชื่อเรื่องเพศที่ยังไม่สามารถเปิดรับความหลากหลายของเพศวิถีจนนำไปสู่ความขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์ในสังคม อันเนื่องมาจากมายาคติที่คงอยู่ในบริบทเมืองไทยหลายมิติรวมถึงแนวคิดอนุรักษ์นิยม ระบบชายเป็นใหญ่ที่ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อเพศหญิงเท่านั้น แต่รวมถึงเพศ ที่หลากหลายเช่นกัน จากการศึกษาพบว่าประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศจนมาสู่กระบวนการทางกฎหมายถูกนำมาใช้ในฐานะเครื่องมือในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ผ่านนโยบายสิทธิความหลากหลายทางเพศในการเลือกตั้งทั่วไปพ.ศ. 2562 จะเห็นว่าบทบาทของ ส.ส. ในระบบรัฐสภาที่สนับสนุนสิทธิความหลากหลายทางเพศในการเมืองไทยยังคงไม่ได้รับการสนับสนุนและให้ความสำคัญเท่าที่ควร บทบาทของ ส.ส. ปัจจุบันจึงเป็นบทบาทการผลักดัน การสร้างเครือข่ายและแสดงออกร่วมกับกลุ่มผลประโยชน์จากภาคประชาสังคมรวมทั้งสร้างการตระหนักต่อสิทธิความเท่าเทียมทางเพศให้แก่ประชาชนด้านข้อเสนอแนะในการศึกษา ประเทศไทยควรสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ให้ความเคารพและยอมรับความแตกต่างหลากหลายให้สิทธิทางกฎหมายอย่างเท่าเทียมเพื่อรับรองและสร้างสิทธิให้ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิรับรองการใช้ชีวิตคู่ตามกฎหมายอันเป็นปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้น นักการเมืองส.ส. คณะกรรมาธิการและหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องต้องเร่งรัดกระบวนการผลักดันให้เกิดสิทธิการสมรสตามนโยบายทางการเมืองและคำนึงหลักสิทธิมนุษยชนมากขึ้น อีกทั้งต้องบูรณาการร่วมกับภาคประชาสังคมและประชาชนสร้างแรงผลักดันเพื่อให้กฎหมายการสมรสเท่าเทียมสามารถบังคับใช้ในประเทศไทยต่อไปen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621932035 งามฟ้า ฟูนาโคชิ.pdf5.57 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.